✍️ We must keep an open mind to study and understand our suffering. Be wise enough not to blind ourselves from its lessons. ✍️Suffering is a noble truth that we must comprehend; not a dreadful thing to escape. Most people view suffering as undesirable; thus, hindering themselves from such a precious learning opportunity. ✍️We must…
Month: September 2022
ครูเงาะพานักเรียนมาศึกษาธรรม ๑๑-๑๓ ก.ย. ๒๕๖๕
เส้นทางอริยมรรค EP๔
การเข้าสู่อริยภูมิ (ต่อ) (๔. พระอรหันต์) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับ พระอนาคามี ที่จะเข้าสู่ความเป็น พระอรหันต์ การกำหนดรู้อริยสัจนั้น ให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ต่อไปนี้คือ ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้ ตามแบบแสดงไว้ ๘ อย่าง ดังนี้ ๑. ไม่รู้อดีต ๒. ไม่รู้อนาคต ๓. ไม่รู้ปัจจุบัน ๔. ไม่รู้ทุกข์ ๕. ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ๖. ไม่รู้ความดับทุกข์ ๗. ไม่รู้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ๘. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท (ธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น) พระอนาคามีในระดับนี้ ยังไม่สามารถทำลายอวิชชาได้ จึงยังไม่พ้นจากวงจรการเกิด แต่ก็เป็นที่โชคดีที่การเกิดของท่านจะไม่หมุนกลับมาเกิดในมนุษย์และเทวดาอีก (กามธาตุ) เพราะการเกิดของท่านจะเกิดอยู่ในสุทธาวาสพรหม (วิภวตัณหา) ชั้นอกนิฏฐา (อะ-กะ-นิด-ถา) อันเป็นแดนใกล้ต่อพระนิพพาน ถึงแม้จะมีจิตที่ใกล้ต่อการบรรลุพระนิพพานก็ตาม แต่ถ้ายังไม่บรรลุ ก็ยังจะทำให้จิตมีทุกข์ได้ ถึงแม้จะเป็นทุกข์น้อยนิด ก็ไม่เป็นที่น่าปรารถนาของพระอนาคามีในขั้นนี้ เพราะฉะนั้นจึงต้องทำลายอวิชชาให้ได้…
#พระพุทธองค์กับการโต้วาทะ
#พระพุทธองค์กับการโต้วาทะ เมื่อคราวที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี คราวครั้งนั้น มีสัจจกนิครนถ์เป็นนักโต้ตอบ พูดยกตนว่าเป็นปราชญ์ ถูกยกย่องว่ามีความรู้มาก เขาประกาศตนเองไปทั่วเมืองเวสาลีว่า “เราไม่เห็นสมณะ หรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาว่าเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เมื่อได้โต้ตอบกับเราแล้ว จะไม่ประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้แม้แต่คนเดียว หากเราโต้ตอบกับเสาที่ไม่มีเจตนา เสานั้นยังต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปใยถึงมนุษย์เล่า” ในวันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์ได้เข้าไปหาพระพุทธองค์พร้อมด้วยบริวาร ปารภเรื่องที่จะโต้ตอบกับพระพุทธองค์ ได้กล่าวขึ้นว่า สัจจกะ : สมณโคดม ท่านสอนสาวกอย่างไร? พระพุทธองค์ : เรากล่าวสอนสาวกโดยมากว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวร และมิใช่ตน สัจจกะ : ท่านผิดแล้วสมณโคดม พระพุทธองค์ : ผิดอย่างไรหรือ สัจจกะ? สัจจกะ : ก็เหมือนดั่งพืชพันธุ์ไม้ ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดินเท่านั้นถึงจะเจริญงอกงามได้ หรือการงานที่ต้องใช้กำลังวังชา ก็ต้องกระทำกันอยู่บนแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงกระทำกันได้ ฉันใด…
เส้นทางอริยมรรค EP๓
#การเข้าสู่อริยภูมิ (ต่อ) (๓. อนาคามี) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับชั้น อนาคามี การกำหนดรู้อริยสัจนั้น ให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ต่อไปนี้คือ ๕. รูปราคะ ความติดใจในรูปฌาน ๖. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน ราคะมีอยู่ ๒ ชั้น ที่พระอนาคามี “ละ” ได้นั้น เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกาม เรียก กามราคะ ส่วน รูปราคะ เป็นความยินดีในรูป สิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นวัตถุรูป ปรากฏตั้งอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปหยาบ รูปละเอียด รูปใกล้ รูปไกล รูปเลว รูปประณีต รูปนอก รูปใน รูปทั้งหมดนี้เป็นที่ตั้งที่อยู่ของราคะ พระอนาคามียังมีความ “ยินดี” ในรูปเหล่านี้อยู่ รูปราคสังโยชน์ก็ยังผูกใจของพระอนาคามีได้ ส่วน อรูปราคะ คือ ความยินดีในมรรคผล คุณธรรมขั้นต้น ๆ ที่เกิดขึ้นในจิต…
เส้นทางอริยมรรค EP๒
การเข้าสู่อริยภูมิ (๒. สกทาคามี) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับชั้น สกทาคามี การกำหนดรู้อริยสัจนั้น ให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ข้อต่อไปนี้คือ ๓. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ๔. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด ความรำคาญ สังโยชน์ ๒ ประการในเรื่อง ราคะ โทสะ โมหะ นี้ สกทาคามีบุคคลจะละได้อย่างเบาบาง ไม่สามารถละได้โดยสิ้นเชิง กามราคะคืออะไร ถ้าจะเอาความหมายตามแบบก็คือ ความใคร่ ความอยาก ความปรารถนา สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา กามแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ ๑. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ สิ่งที่อยากได้ กามคุณ ๒. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้น่าใคร่ ความอยากที่เป็นตัวกิเลส วัตถุกาม ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ…
เส้นทางสู่อริยมรรค EP๑
การเข้าสู่อริยภูมิ (๑. โสดาบัน) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับชั้น โสดาบัน การกำหนดรู้อริยสัจให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ ๓ ข้อแรกจากสังโยชน์ ๑๐ อย่าง ได้แก ๑. สักกายทิฏฐิ (สัก-กา-ยะ-ทิด-ถิ) คือ ความเห็นผิดในกาย ยึดมั่นสังขารร่างกายว่า เป็นตัวตน หรือมีความเห็นผิดใน ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ว่า เป็นตน เป็นของตน ๒. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในคุณแห่งพระรัตนตรัย สงสัยเรื่องมรรคผล สงสัยพระนิพพาน สงสัยในทางให้ถึงพระนิพพาน ๓. สีลัพพตปรามาส (สี-ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) คือ การลูบคลำศีลและวัตร ได้แก่ การรักษาศีล บำเพ็ญวัตร เพื่อจุดมุ่งหมายอื่น เช่น มุ่งสรรเสริญ มุ่งลาภสักการะ เป็นต้น มิใช่เพื่อความบริสุทธิ์ สักกายทิฏฐิคืออะไร สักกายทิฏฐิ คือ…
#ความจริงของชีวิต(๒)
อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยเจ้า ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ ความจริงที่นักภาวนาควรกำหนดรู้ คือ ๑. ทุกข์ : สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น ความขัดแย้งความบกพร่อง ๒. ทุกขสมุทัย (ทุก-ขะ-สะ-หมุ-ไท) : เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ที่ตั้งแห่งทุกข์ ตัวก่อทุกข์ ๓. ทุกขนิโรธ (ทุก-ขะ-นิ-โรด) : ความดับทุกข์ ภาวะที่สิ้นทุกข์ ภาวะที่บรรลุถึง ความดับไปแห่งเหตุ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ทุก-ขะ-นิ-โร-ทะ-คา-มิ-นี-ปะ-ติ-ปะ-ทา) : หนทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ สาเหตุที่เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นธรรมที่พระอริยะทั้งหลายอันมีพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์แทงตลอดแล้ว เป็นสัจจะ (ความจริง) ของพระอริยะ เป็นความจริงที่พระอริยะไม่คัดค้าน การเรียนรู้ว่าโดยลำดับ ดังนี้ ๑. ทุกข์ อยู่อันดับที่ ๑ เพราะเป็นของหยาบ หรือเพราะว่าเป็นตัวปัญหาซึ่งมีอยู่ในในใจคน พูดให้ง่ายก็คือ ทุกข์คือตัวปัญหาของมนุษย์ ความทุกข์นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้กำหนดรู้ คือ รู้ว่าร่างกายเป็นทุกข์…
#ความจริงของชีวิต(๑)
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นช่องทางแห่งการรับรู้ รับสัมผัส (ผัสสะ) เกี่ยวข้องกับสิ่งภายนอก ขณะที่มีการรับรู้ รับส้มผัส จึงมีการเสวยอารมณ์ (เวทนา) เป็น ๓ คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง เมื่อต้องรับเวทนา ๓ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความอยาก (ตัณหา) ที่จะให้ ‘สุขเวทนา’ คงอยู่ อยากให้ ‘ทุกขเวทนา’ ดับไป ทำให้ต้องพยายามสร้างเหตุปัจจัยต่าง ๆ เพื่อประกอบตนให้มีความสุขอยู่ในโลกนี้ แล้วถือเอา (อุปาทาน) เหตุปัจจัยนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์ การถือเอาด้วยเหตุปัจจัยในลักษณะนี้ โดยที่ไม่ทราบว่า เวทนาทั้งสามไม่เที่ยง ยิ่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรงไว้ในใจ เพราะการถือมั่นนี้แหละจึงได้เกิดมี ‘ภพ’ (ที่อยู่) ขึ้นในจิต เมื่อมีภพย่อมมี ‘การเกิด’ (ชาติ) แล้วก็เกิดอีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อมีการเกิดอยู่บ่อย ๆ แน่นอนว่า ย่อมต้องมีแก่อยู่บ่อย…
ทุกขสัจจ์
#ข้อปฏิบัติในหลักอริยสัจ – การเกิดขึ้นของขันธ์ จัดเป็นทุกขสัจจ์ – ตัณหาที่อิงอาศัยขันธ์เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทัยสัจจ์ – ความดับไปของตัณหา จัดเป็นนิโรธสัจจ์ – การรู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ จัดเป็นมรรคสัจจ์ . เมื่อเข้าใจหลักอริยสัจในข้างต้นแล้ว ข้อปฏิบัติที่เราจะต้องลงมือทำ คือ ข้อมรรคข้อเดียว อริยสัจข้ออื่น ๆ เพียงแค่ให้ “รู้จักไว้” เท่านั้น การดำเนินมรรค คือ การเข้าไปปฏิบัติต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ . ๑. ทุกขสัจจ์ ให้ “กำหนดรู้” เมื่อขันธ์ ๕ ประสบกับอารมณ์ภายนอกหรือภายใน การปรากฏขึ้นของอารมณ์ เป็นการเกิดขึ้นของขันธ์ การดับไปของอารมณ์ เป็นการดับไปของขันธ์ ให้กำหนดรู้ความเกิด-ดับของขันธ์ไว้อยู่เสมอ . ๒. สมุทัยสัจจ์ ให้ “ละ” เนื่องจากว่าทุกข์ได้ถูกกำหนดรู้ไว้แล้ว ตัณหาจึงเกิดร่วมกับทุกข์ไม่ได้ แล้วจะละตัณหาที่เป็นตัวสมุทัยกันอย่างไร เรื่องนี้ต้องเข้าใจว่า…