อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยเจ้า ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ ความจริงที่นักภาวนาควรกำหนดรู้ คือ ๑. ทุกข์ : สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น ความขัดแย้งความบกพร่อง ๒. ทุกขสมุทัย (ทุก-ขะ-สะ-หมุ-ไท) : เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ที่ตั้งแห่งทุกข์ ตัวก่อทุกข์ ๓. ทุกขนิโรธ (ทุก-ขะ-นิ-โรด) : ความดับทุกข์ ภาวะที่สิ้นทุกข์ ภาวะที่บรรลุถึง ความดับไปแห่งเหตุ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ทุก-ขะ-นิ-โร-ทะ-คา-มิ-นี-ปะ-ติ-ปะ-ทา) : หนทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ สาเหตุที่เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นธรรมที่พระอริยะทั้งหลายอันมีพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์แทงตลอดแล้ว เป็นสัจจะ (ความจริง) ของพระอริยะ เป็นความจริงที่พระอริยะไม่คัดค้าน การเรียนรู้ว่าโดยลำดับ ดังนี้ ๑. ทุกข์ อยู่อันดับที่ ๑ เพราะเป็นของหยาบ หรือเพราะว่าเป็นตัวปัญหาซึ่งมีอยู่ในในใจคน พูดให้ง่ายก็คือ ทุกข์คือตัวปัญหาของมนุษย์ ความทุกข์นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้กำหนดรู้ คือ รู้ว่าร่างกายเป็นทุกข์…
Day: September 16, 2022
#ความจริงของชีวิต(๑)
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นช่องทางแห่งการรับรู้ รับสัมผัส (ผัสสะ) เกี่ยวข้องกับสิ่งภายนอก ขณะที่มีการรับรู้ รับส้มผัส จึงมีการเสวยอารมณ์ (เวทนา) เป็น ๓ คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง เมื่อต้องรับเวทนา ๓ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความอยาก (ตัณหา) ที่จะให้ ‘สุขเวทนา’ คงอยู่ อยากให้ ‘ทุกขเวทนา’ ดับไป ทำให้ต้องพยายามสร้างเหตุปัจจัยต่าง ๆ เพื่อประกอบตนให้มีความสุขอยู่ในโลกนี้ แล้วถือเอา (อุปาทาน) เหตุปัจจัยนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์ การถือเอาด้วยเหตุปัจจัยในลักษณะนี้ โดยที่ไม่ทราบว่า เวทนาทั้งสามไม่เที่ยง ยิ่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรงไว้ในใจ เพราะการถือมั่นนี้แหละจึงได้เกิดมี ‘ภพ’ (ที่อยู่) ขึ้นในจิต เมื่อมีภพย่อมมี ‘การเกิด’ (ชาติ) แล้วก็เกิดอีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อมีการเกิดอยู่บ่อย ๆ แน่นอนว่า ย่อมต้องมีแก่อยู่บ่อย…
ทุกขสัจจ์
#ข้อปฏิบัติในหลักอริยสัจ – การเกิดขึ้นของขันธ์ จัดเป็นทุกขสัจจ์ – ตัณหาที่อิงอาศัยขันธ์เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทัยสัจจ์ – ความดับไปของตัณหา จัดเป็นนิโรธสัจจ์ – การรู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ จัดเป็นมรรคสัจจ์ . เมื่อเข้าใจหลักอริยสัจในข้างต้นแล้ว ข้อปฏิบัติที่เราจะต้องลงมือทำ คือ ข้อมรรคข้อเดียว อริยสัจข้ออื่น ๆ เพียงแค่ให้ “รู้จักไว้” เท่านั้น การดำเนินมรรค คือ การเข้าไปปฏิบัติต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ . ๑. ทุกขสัจจ์ ให้ “กำหนดรู้” เมื่อขันธ์ ๕ ประสบกับอารมณ์ภายนอกหรือภายใน การปรากฏขึ้นของอารมณ์ เป็นการเกิดขึ้นของขันธ์ การดับไปของอารมณ์ เป็นการดับไปของขันธ์ ให้กำหนดรู้ความเกิด-ดับของขันธ์ไว้อยู่เสมอ . ๒. สมุทัยสัจจ์ ให้ “ละ” เนื่องจากว่าทุกข์ได้ถูกกำหนดรู้ไว้แล้ว ตัณหาจึงเกิดร่วมกับทุกข์ไม่ได้ แล้วจะละตัณหาที่เป็นตัวสมุทัยกันอย่างไร เรื่องนี้ต้องเข้าใจว่า…