#พระพุทธองค์กับการโต้วาทะ เมื่อคราวที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี คราวครั้งนั้น มีสัจจกนิครนถ์เป็นนักโต้ตอบ พูดยกตนว่าเป็นปราชญ์ ถูกยกย่องว่ามีความรู้มาก เขาประกาศตนเองไปทั่วเมืองเวสาลีว่า “เราไม่เห็นสมณะ หรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาว่าเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เมื่อได้โต้ตอบกับเราแล้ว จะไม่ประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้แม้แต่คนเดียว หากเราโต้ตอบกับเสาที่ไม่มีเจตนา เสานั้นยังต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปใยถึงมนุษย์เล่า” ในวันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์ได้เข้าไปหาพระพุทธองค์พร้อมด้วยบริวาร ปารภเรื่องที่จะโต้ตอบกับพระพุทธองค์ ได้กล่าวขึ้นว่า สัจจกะ : สมณโคดม ท่านสอนสาวกอย่างไร? พระพุทธองค์ : เรากล่าวสอนสาวกโดยมากว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวร และมิใช่ตน สัจจกะ : ท่านผิดแล้วสมณโคดม พระพุทธองค์ : ผิดอย่างไรหรือ สัจจกะ? สัจจกะ : ก็เหมือนดั่งพืชพันธุ์ไม้ ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดินเท่านั้นถึงจะเจริญงอกงามได้ หรือการงานที่ต้องใช้กำลังวังชา ก็ต้องกระทำกันอยู่บนแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงกระทำกันได้ ฉันใด…
Day: September 19, 2022
เส้นทางอริยมรรค EP๓
#การเข้าสู่อริยภูมิ (ต่อ) (๓. อนาคามี) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับชั้น อนาคามี การกำหนดรู้อริยสัจนั้น ให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ต่อไปนี้คือ ๕. รูปราคะ ความติดใจในรูปฌาน ๖. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน ราคะมีอยู่ ๒ ชั้น ที่พระอนาคามี “ละ” ได้นั้น เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกาม เรียก กามราคะ ส่วน รูปราคะ เป็นความยินดีในรูป สิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นวัตถุรูป ปรากฏตั้งอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปหยาบ รูปละเอียด รูปใกล้ รูปไกล รูปเลว รูปประณีต รูปนอก รูปใน รูปทั้งหมดนี้เป็นที่ตั้งที่อยู่ของราคะ พระอนาคามียังมีความ “ยินดี” ในรูปเหล่านี้อยู่ รูปราคสังโยชน์ก็ยังผูกใจของพระอนาคามีได้ ส่วน อรูปราคะ คือ ความยินดีในมรรคผล คุณธรรมขั้นต้น ๆ ที่เกิดขึ้นในจิต…
เส้นทางอริยมรรค EP๒
การเข้าสู่อริยภูมิ (๒. สกทาคามี) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับชั้น สกทาคามี การกำหนดรู้อริยสัจนั้น ให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ข้อต่อไปนี้คือ ๓. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ๔. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด ความรำคาญ สังโยชน์ ๒ ประการในเรื่อง ราคะ โทสะ โมหะ นี้ สกทาคามีบุคคลจะละได้อย่างเบาบาง ไม่สามารถละได้โดยสิ้นเชิง กามราคะคืออะไร ถ้าจะเอาความหมายตามแบบก็คือ ความใคร่ ความอยาก ความปรารถนา สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา กามแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ ๑. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ สิ่งที่อยากได้ กามคุณ ๒. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้น่าใคร่ ความอยากที่เป็นตัวกิเลส วัตถุกาม ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ…
เส้นทางสู่อริยมรรค EP๑
การเข้าสู่อริยภูมิ (๑. โสดาบัน) พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์) สำหรับชั้น โสดาบัน การกำหนดรู้อริยสัจให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ ๓ ข้อแรกจากสังโยชน์ ๑๐ อย่าง ได้แก ๑. สักกายทิฏฐิ (สัก-กา-ยะ-ทิด-ถิ) คือ ความเห็นผิดในกาย ยึดมั่นสังขารร่างกายว่า เป็นตัวตน หรือมีความเห็นผิดใน ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ว่า เป็นตน เป็นของตน ๒. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในคุณแห่งพระรัตนตรัย สงสัยเรื่องมรรคผล สงสัยพระนิพพาน สงสัยในทางให้ถึงพระนิพพาน ๓. สีลัพพตปรามาส (สี-ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) คือ การลูบคลำศีลและวัตร ได้แก่ การรักษาศีล บำเพ็ญวัตร เพื่อจุดมุ่งหมายอื่น เช่น มุ่งสรรเสริญ มุ่งลาภสักการะ เป็นต้น มิใช่เพื่อความบริสุทธิ์ สักกายทิฏฐิคืออะไร สักกายทิฏฐิ คือ…