#คำถาม : แผ่เมตตาอยู่ทำไมความโกรธยังเกิดขึ้น อย่างนี้เราเป็นคนไร้เมตตาหรือเปล่า #คำตอบ ความโกรธเกิดขึ้นไม่ได้หมายถึงว่าไม่มีเมตตา แต่ความโกรธเกิดขึ้น เพราะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึง “อัตตา” อันสืบเนื่องมาจากสักกายทิฏฐิสังโยชน์ในภายใน . ฉะนั้น เวลาความโกรธแสดงตัวขึ้นมา จึงเป็นช่วงที่จะทำให้เราได้ปฏิบัติต่ออารมณ์ความโกรธในปัจจุบันขณะได้ถูกต้อง . เมื่อได้ทบทวนดูเรื่องราวที่เกิดขึ้น ก็จะทราบได้เลยว่าตนเองผิดพลาดตรงไหน แล้วคำนวณ “วิเคราะห์ถึงเหตุที่แท้” นั้นให้ได้ เพราะถ้าเราไม่สืบค้นดูเหตุที่แท้ มัวแต่ไปกล่าวโทษตนเองว่าไร้เมตตา จะทำให้เราพลาดการเรียนรู้เรื่องของสมุทัยสัจจ์ . ซึ่งสมุทัยสัจจ์นี้เป็นสิ่งที่เราจะต้อง “กำหนดรู้ถึงสาเหตุ” ด้วย เพราะเป็นความจริงที่เราจะต้องปฏิบัติต่อตัวสมุทัยที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความทุกข์ด้วย . สรุปก็คือ ความโกรธเกิดขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องละ และอย่าเพิ่งเอาอารมณ์เมตตามาแก้ ให้สืบค้นดูเหตุของความโกรธให้แน่ชัด แล้วทักอารมณ์โกรธให้ได้ทุกคราว เพราะความโกรธเป็นอารมณ์ที่แสดงออกต่อสิ่งที่เรากำลังผัสสะอยู่ . ส่วนตัวที่ทำให้เราขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้ในขณะที่ความโกรธเกิดขึ้นนั้น คือสมุทัยที่เราสร้างมันขึ้นมา เพราะไม่รู้จักความโกรธตามความเป็นจริงในขณะนั้น. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ[พระอาจารย์ต้น] AjahnTon
Month: February 2023
# อุบายที่ควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ
๑. ระลึกถึงความตายให้เกิดความสังเวชใจว่า ชีวิตเรามีความตายเป็นที่สุด ก่อนที่จะตายเราได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำให้สำเร็จประโยชน์แล้วหรือยัง เพราะเมื่อตายไปแล้วเราจะไม่สามารถกระทำสิ่งที่พึงกระทำในโลกนี้ได้อีก ๒. พิจารณาความเสื่อมความสิ้นของชีวิตว่า ชีวิตเราทั้งชีวิตเป็นเพียงสภาพของความเสื่อมความสิ้นที่เกิดสืบเนื่องกันไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต อย่าสำคัญมั่นหมายในชีวิตเป็นจริงเป็นจังมากเกินไป เพราะกายกับจิตเป็นเพียงองค์ประกอบที่อิงอาศัยกันอยู่ ไม่มีความมั่นคงอยู่แม้สักขณะหนึ่งเลย เกิดแล้วก็ดับไปในทันที หากยึดมั่นถือมั่นในกายสังขารมากเกินไป ก็ไม่มีอะไรที่จะยึดได้ตามการยึดมั่นถือมั่นนั้นเลย ปรากฏให้เห็นแต่ความเสื่อมความสิ้นอยู่ตลอดเวลา จึงควรที่จะหาวิธีการปล่อยวางอยู่เสมอ ๓. ระลึกอยู่ว่า การเกิดเป็นมนุษย์ของเรานี้ถือว่าเป็นบุญเก่าที่ส่งผลมาจากปางก่อน การใช้ชีวิตอยู่ในเวลานี้จึงเป็นการใช้ชีวิตที่อาศัยบุญเก่าอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ควรให้ชีวิตในแต่ละวันล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ หมั่นพิจารณากายสังขารและจิตสังขารที่เกิดจากบุญเก่านี้ว่า บุญจัดเป็นสังขารฝ่ายดี แม้จะดียังไงก็ตามขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วย่อมเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมเป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมไม่ควรยึดถือว่าเป็นตน เมื่อกายกับจิตของเราในเวลานี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากบุญเก่า บุญเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ตัวเราก็ไม่เที่ยง บุญเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ตัวเราก็ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม(ให้มองเห็นความไม่คงอยู่ในสภาพเดิมของชีวิต) บุญเป็นสิ่งที่หมดสิ้นไปได้ ตัวเราก็หมดสิ้นไปได้เหมือนกัน พิจารณาดูจริงๆแล้วเรายึดถือไม่ได้อะไรเลยนอกจากการปล่อยวาง ๔. พิจารณากายได้มากเท่าไหร่ ก็ถอนความเห็นผิดได้มากเท่านั้น คิดไปในเรื่องโลกมากเท่าไหร่ก็หลงไปกับโลกมากเท่านั้น หมั่นพิจารณากายให้คุ้นเคยกับจิตอยู่บ่อยๆ จะช่วยให้จิตคลายอุปาทานได้มากขึ้น ๕. พยายามขบตีความหมายทางธรรมด้วยสติปัญญาให้จิตเข้าถึงข้อ ธรรมนั้นๆอย่างถ่องแท้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ธรรมเห็นธรรมจริงๆ ๖. พิจารณาให้เห็นความเป็นธรรมดาของโลกอยู่เสมอ เช่น ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ความสำเร็จก็เป็นเรื่องธรรมดา ความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา ความสุขก็เป็นเรื่องธรรมดา นินทาเป็นเรื่องธรรมดา สรรเสริญก็เป็นเรื่องธรรมดา อย่างนี้เป็นต้น ๗….
# เราชื่อว่า..พุทธศาสนิกชน
เราเป็นบุคคลผู้ชื่อว่า ”พุทธศาสนิกชน” ถ้าหากสามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจมรรคมีองค์แปด แล้วนำมาปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ จะได้ชื่อว่า “สงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เราจะเป็นบุคคล ผู้ปฏิบัติเป็นสงฆ์เองพึ่งตัวเราเองในการออกจากกองทุกข์ เราจะไม่เคลื่อนจากพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ แต่ถ้าเราไปพึ่งอะไรก็ตามที่ไม่ใช่พุทธรัตนะ อย่างเช่นอะไรสิ่งที่กำไว้ในคอเนี่ย เราจะไม่เป็นสังฆรัตนะด้วย . คือเราจะไม่ใช่ผู้ปฏิบัติออกจากกองทุกข์ด้วย เราจะไม่สามารถเข้าไปเห็นสัจจะตามความเป็นจริงได้ . สมมติอุบัติเหตุตู้มตอนนี้ ขอหลวงปู่ช่วยหน่อย ไหนบอกว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาใช่ไหม . เราจะไม่เห็นความเป็นธรรมดาเหล่านี้ ถ้าเราเคลื่อนออกจากพุทธรัตนะแล้วไปพึ่งพวกนี้ ไม่ได้ อย่างนี้ . เราจะเคลื่อนออกจากความเป็นสังฆะ คือการปฎิบัติตนเพื่อการเป็นสงฆ์สาวกของพระองค์เนี่ย เราจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เคลื่อนออกจากสังฆรัตนะแบบนี้ แล้วเราจะไม่สามารถพ้นไปจากความทุกข์ได้ อันนี้ยืนยัน . บุคคลผู้พึ่งสิ่งอื่น จะไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้
# เชื่ออย่างไรให้เกิดปัญญา
เชื่อพระปัญญาการตรัสรู้ความจริงแห่งสัจธรรมของพระพุทธองค์ เชื่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ และเชื่อความเป็นอริยสงฆ์ อันเกิดจากการปฏิบัติตามพระธรรมของพระพุทธองค์ . ***ไม่ใช่เชื่อพระพุทธเจ้าในรูปแบบวัตถุปลุกเสก เชื่อพระธรรมด้วยการสวดมนต์อ้อนวอน และเชื่อพระสงฆ์เพราะอำนาจการปลุกเสกด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ . ความเชื่อการดลบันดาลจากอำนาจลึกลับ และเฝ้าคอยอธิษฐานอยู่หน้าองค์พระปฏิมาหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ เป็นวิถีชีวิตที่ไม่คืบหน้า และผิดจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ว่า “นัตถิ ปัญญา สมา อาภา แปลว่า ไม่มีแสงสว่างใดเสมอแสงแห่งปัญญา” จากหนังสือ “ชีวิต จิต มนุษย์ ภาวนา” ของพระจารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)
#ความคิดไม่ดี..เอะยังไง??
ปุจฉา: มีความคิดไม่ดีผุดขึ้นมาระหว่าฟังธรรม ต้องแก้ไข หรือปฏิบัติอย่างไร วิสัจชนา: จิตเรามีอยู่ ๒ ภาวะ ภาวะหนึ่งที่เรียกว่า #เจตนาอีกภาวะหนึ่งที่อยู่ #นอกเจตนา.ภาวะที่เป็นเตนานี้ เป็นภาวะที่เราจงใจคิด จงใจพูด จงใจกระทำกับภาวะหนึ่งที่ไม่ได้จงใจ เรียกว่า นอกเจตนานอกเจตนานี้เขาเรียกว่า อยู่เหนือการควบคุมจิตที่อยู่เหนือการควบคุม หรือจิตเหนือเจตนาอันนี้เป็นจิตที่ไม่มีกรรมแม้ความคิดนั้น ความรู้สึกนั้น อารมณ์นั้นจะเป็นอกุศลก็ตาม เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ตาม ก็ไม่เป็นกรรม.พระองค์ตรัสไว้ว่า เจตนาเป็นตัวกรรม[เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ]เรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรมอันที่นอกเจตนานี้ แม้มันจะปรากฏ ก็ไม่ใช่กรรม.มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ติดมากับจิตเท่านั้นเองที่มันจะแสดงออกตามภาวะการณ์ที่เป็นอิสระของมันมันอยู่นอกเจตนาขอให้เข้าใจมันเท่านั้นเองอย่าไปกำจัดมัน ให้เข้าไปรู้ว่าอ๋อ นี่เป็นความคิดนอกเจตนา ไม่มีกรรมในนั้นแค่แสดงความคิด อาการ ออกมาตามธรรมดา.แต่เจตนานี้ต่างหาก รักษาเจตนาเราไว้ให้ดีประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่าอันสิ่งที่มันอยู่นอกเจตนานี้ เวลามันเกิดขึ้นมันมักจะล่อลวงเจตนาของเราให้ไปคิดตอบ กระทำตอบถ้ารักษาเจตนาตัวเองของปัจจุบันเอาไว้ไม่ดีมันก็ได้กรรมจากสิ่ง ๆ นั้น.หลักการก็คือ ให้ยึดถือ #พระรัตนตรัย ไว้มันก็จะเป็นหลักยึด มันก็จะไม่น้อมไปสู่ความคิดที่นอกเจตนาเดี๋ยวมันก็หายไปเอง ไม่มีปัญหาอารมณ์ใด ๆ ก็ตามที่เกิด และไม่ไปตอบสนองกับมันนี้มันจะหายไปเอง —————— พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น)ส่วนหนึ่งของการสนทนาธรรม liveณ Oh La La Glamping เขาใหญ่วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖…
#ปล่อยวางอารมณ์
จิตใจที่อ่อนแอเป็นจิตใจที่ไร้ที่พึ่ง ไม่มีที่พึ่งพระพุทธเจ้าก็เลยพยายามสอนให้เราได้เข้าใจว่าจิตสักแต่ว่าจิต อย่าไปหวงมัน อย่าไปปกป้องมันมันเป็นธรรมชาติรับอารมณ์ ปล่อยให้มันรับอารมณ์แต่เรารับผลจากการกระทบของมันไม่ได้นี่คือปัญหาใช่ไหมล่ะผลคือความวุ่นวายเราไม่สงบสุขเลยในจิตในใจ… … … ถ้าเราลองปล่อยวางให้อารมณ์มันเกิดขึ้นในจิตจนเสร็จสิ้นกระบวนความของมันในขณะที่เรารับรู้อารมณ์นั้น เราไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อพูดง่ายๆ คือ ไม่คิดต่อจากเรื่องราวนั้นที่มากระทบ๑. ไม่คิดต่อจากเรื่องราวที่มากระทบ ๒. ไม่เข้าไปห้ามอารมณ์ที่มากระทบ ๓. อย่าอยากดับอารมณ์ที่กระทบกับจิตอยู่ ๔. ถ้าเราทำได้ในสามข้อนี้ ถ้าอารมณ์ยังไม่ดับ ให้อดทนดูต่อไป อดทนดูอารมณ์ที่เข้ามาในจิตถ้ามีความอดทนได้มันจะเกิดผลข้อที่ ๕ ข้อที่ ๕ คืออะไรรู้ไหมอารมณ์จะดับลงไปด้วยตัวของมันเองเมื่ออารมณ์ดับไปด้วยตัวของมันเองปั๊บความวุ่นวายดับมันจะเป็นอะไรขึ้นมาแทนล่ะคราวนี้ความวุ่นวายหายไป ก็สงบขึ้นมาแทนแสดงว่าการหาความสงบ ไม่ได้หาอยู่ที่อื่นเลย… … … การที่เราหนีออกจากจุดหนึ่งไปอยู่อีกจุดหนึ่งอาจจะสงบได้ชั่วคราวแต่นั่นไม่ใช่การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้าคือไปแก้ปัญหาที่ตัวรับผัสสะกระทบนั่นมันกระทบใจดูที่ใจ ดูอารมณ์ที่ปรากฏกับใจว่ามันกระทบขึ้นมาแล้วปล่อยให้มันเกิดปล่อยให้มันตั้งอยู่แล้วปล่อยให้มันดับ … … … การไปคิดต่อจากการกระทบที่มันผ่านเข้ามากระทบใจเราหากไปคิดต่อปุ๊บมันก็เป็นการกระทำให้อารมณ์นั้นคลุกคลีอยู่กับใจเราสืบต่ออารมณ์ไปได้อยู่ตลอด… … … “การคิดต่อ” เป็นการหน่วงเหนี่ยวอารมณ์ไว้ถ้าเราคิดต่อนะ ก็บอกเลย๑ ห้ามคิดต่อ ๒ อย่าห้ามอารมณ์ ๓ อย่าอยากดับมัน เพราะถ้าเราเข้าไปดับอย่าลืมว่าอารมณ์เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตนเราจะเอาอะไรเข้าไปดับมันล่ะเราอยากจะดับขนาดไหนก็ดับไม่ได้หรอกเพราะไม่มีตัวตน มีแต่อาการมันกระทบแล้วปั๊บ ทำให้จิตใจเราขุ่นมัว หรือวุ่นวายหรือเศร้าหมอง หรือคิดมากไปต่างๆนานา ปัญหารุมเร้าคิดเรื่องนี้ไม่หยุดไม่หย่อนมันจะทำให้เราจมอยู่กับอารมณ์ … ……
#เครื่องนำทางชีวิตอย่างถูกต้อง
เครื่องรางปลุกเสก เป็นสิ่งที่มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แม้ก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้ามาเกิด คนยุคนั้นก็นิยมกระทำกันอยู่ แต่เมื่อมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ สิ่งปลุกเสกทั้งหลายก็กลายเป็นความ #งมงาย ที่บุคคลผู้โง่เขลายึดติด . ส่วนผู้ที่ #ตื่นรู้ กับความจริงแห่ง #สัจธรรม เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้สละวัตถุปลุกเสกทิ้ง แล้วยอมรับเอา #พระรัตนตรัย เป็นเครื่องนำทางชีวิตอย่างถูกต้อง —————— พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น) ส่วนหนึ่งของหนังสือธรรมนาวา เล่ม ๑ ติดตามเพิ่มได้ที่ instragram account @dharma_day #พุทธศาสนา#ธรรมะ#ธรรมแท้#ธรรมทาน#ปฏิบัติธรรม#ฟังธรรม#คำสอนธรรมะ#ธรรมะสอนใจ#ธรรมะดีดี#วันพุทธ#พ้นทุกข์#ทุกข์#สัจจะธรรมชีวิต#เส้นทางสู่พระนิพพาน
#การแก้ไขภาวะโรคซึมเศร้าตามแนวทางพระพุทธศาสนา
๑. ตั้งจิตระลึกถึงพระรัตนตรัยให้บ่อยที่สุดในแต่ละวัน หรือระลึกทั้งวันก็ได้ ด้วยบทระลึกถึงพระรัตนตรัยว่า“พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้าธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้าสังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า”ให้ระลึกย้ำๆ ซ้ำๆ ไว้เรื่อยๆ อยู่เสมอ ๒. หากมีอารมณ์ใดเกิดกระทบจิตในแต่ละครั้ง ให้ทักอารมณ์นั้นตรงๆ ไปเลย เช่น หากเกิดความเครียดขึ้นมาให้ทักว่า“นี่คือความเครียดความเครียดกำลังเกิดขึ้นกับจิตจิตกำลังมีความเครียดความเครียดมีอยู่ในจิตจิตกำลังถูกความเครียดปรุงแต่งความเครียดกำลังปรุงแต่งจิต”ให้ฝึกทักอารมณ์อยู่บ่อยๆ ๓. หากอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นมามากจนควบคุมไม่ได้ ก็ให้ทักอาการซึมเศร้านั้นตรงๆ ว่า“นี่คืออาการซึมเศร้าอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นกับจิตจิตมีอาการซึมเศร้าอาการซึมเศร้ามีอยู่ในจิตจิตถูกอาการซึมเศร้าปรุงแต่งอาการซึมเศร้ากำลังปรุงแต่งจิต”ทักอาการซึมเศร้าไว้เรื่อยๆ จนกว่าจะคลายไป หากเกิดอีกก็ให้ทักอีกอยู่เรื่อยๆ ๔. ให้แผ่เมตตาก่อนนอนทุกคืน [บทแผ่มตตาอยู่ในหนังสือแนวทางชาวพุทธ] ๕. สวดพระปริตร ๒ บทคือ รัตนปริตรกับอาฏานาฏิยปริตร ทุกๆ วัน จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon