คำถาม: คนที่ขี้ลืมจัดว่าเป็นคนไม่มีสติหรือไม่ พระอาจารย์ต้น: ขี้ลืมมันเป็นภาวะบางอย่าง ไม่เกี่ยวกับสติ ขี้ลืม มันอาจจะเกี่ยวกับพยาธิสภาพทางร่างกายที่บกพร่องในด้านของความทรงจําก็มี ไม่ได้เกี่ยวกับการขาดสติ . . เพราะ “สติ” ในความหมายของพระพุทธศาสนา คือ “สติที่รู้เห็นความเกิดความดับ” ไม่ใช่ว่าไปจําเรื่องนั้น จําเรื่องนี้ไว้ สติที่รู้เห็นความเกิดความดับอันนี้ ผู้ที่มีสติคือผู้ไม่หลงลืมความจริงว่าทุกสิ่งเกิดและดับแน่นอน สติจะไม่หลงลืมตรงนี้ แต่หลงลืมเรื่องอื่น มันเป็นการหลงลืมอยู่แล้ว มันมีอยู่ มันเกิดขึ้น . . พระอานนท์ก็ขี้ลืมเหมือนกัน จนพุทธองค์อนุญาตในความลืมนั้น ไม่ให้ต้องอาบัติ เช่น พระองค์บอกว่าพระภิกษุจะต้องมีผ้าสังฆาฏิติดตัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้ามออกจากผ้าสังฆาฏิเลยนะ คือห่างได้ไม่เกินหนึ่งช่วงแขน ถ้าห่างจากตัวนะ นอกนั้นต้องให้ติดตัว . . สังเกตได้เราไปที่ไหนเราจะเห็นมีพระจะพาดสังฆาฏิไปด้วยทุกที่ มีอยู่คราวครั้งหนึ่ง พระอานนท์น่ะลืม ไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วไม่ได้เอาผ้าสังฆาฎิติดไปด้วย ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องนี้กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เรียกพระอานนท์ไปว่า “ทําไมเธอถึงไม่ได้นําผ้าสังฆาฏิติดตัวไป” พระอานนท์ก็บอก “ข้าพระองค์ลืมพระเจ้าค่ะ” ขนาดว่าผู้เลิศในด้านทรงจําแล้วนะ ยังลืมได้ นั่นหมายความว่า”ความลืม” เป็นเรื่องธรรมชาติมนุษย์ ไม่ได้ผิดปกติอะไร จากคลิปพระอาจารย์ต้นสนทนาธรรมกับครูเงาะ _211113 (ประมาณนาทีที่ 07.19)
Author: Prawit Wachirayano
#ต้องเข้าใจ
ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลกนี้ สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจอยู่เสมอก็คือ… #เราอยู่ในโลกนี้กับผู้คนที่ไม่ได้เต็มไปด้วยเหตุผล #แต่เราอยู่ในโลกนี้กับผู้คนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ เราจึงควรยกจิตตนเองให้อยู่เหนืออารมณ์ จะได้ไม่ต้องตกเป็นทาสของอารมณ์อยู่บ่อย ๆ … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
#ตัวตนของเราไม่ได้มีอยู่จริง
ตัวตนของเราที่มีอยู่ตอนนี้ เป็นเพียงสภาพอันหนึ่งที่สืบต่อกันด้วยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง จึงมีตัวตนขึ้นมา ตัวตนที่ถูกประกอบกันขึ้นนั้นมีอยู่จริง แต่มีอยู่จริงเพื่อแตกสลาย ไม่ได้มีอยู่เพื่อความยั่งยืน ไม่ได้มีอยู่เพื่อความเที่ยงแท้ถาวร เพราะไม่มีตัวตนใด ๆ เลยที่ยั่งยืนถาวร ตัวตนทุกอย่างดำเนินไปสู่ความแตกสลายทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาถึงที่สุดแห่งความแตกสลายของจิตอยู่บ่อย ๆ จึงได้มีความเห็นอันถูกต้องขึ้นมาว่า เราไม่มีในอดีต เราไม่มีในอนาคต เราไม่มีในปัจจุบัน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ อวิชชา เมื่ออวิชชาดับ ทุกข์จึงดับ มรรค ๘ เป็นหนทางดับอวิชชา การมีอยู่ของขันธ์ ๕ มาจากกระบวนการสืบต่อด้วยเหตุและปัจจัยเท่านั้น จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon‘ ที่มา : https://www.facebook.com/369179893454876/posts/1705232403182945
ทำจริงๆจังๆ
ทำจริงๆจังๆ แต่ไม่ “สำคัญมั่นหมาย” ในความเป็นจริงเป็นจัง คือ…ทำด้วยการปล่อยวาง แต่ทำจริงนะ ทำจริง ทำจริงแบบเต็มที่เลยกับการกระทำ กับการปฏิบัติ แต่ทำเสร็จแล้ว ผลของการกระทำในด้านความเป็นจริงนั้น สัจธรรมสอนให้เราได้รู้ว่า… เราไม่สามารถยึดถือความเป็นจริงเป็นจัง หรือสำคัญมั่นหมายในสิ่งที่ทำทั้งหมด ให้เป็นจริงเป็นจังอย่างนั้นได้เลย สำคัญมั่นหมายไม่ได้ แต่สำคัญมั่นหมายไม่ได้ ถ้าสำคัญมันหมายเมื่อไหร่ ก็ผิด ฟังฉบับเต็มได้ที่ลิ้งค์ https://youtu.be/Zfvkv8m9oYw?si=K7VRRDWfwe9LQNLP
#คนมีปัญญา
คนมีปัญญา คือคนที่ไม่ทำตัวเองให้มีความทุกข์ หรือไม่ปล่อยให้ตัวเอง จมอยู่กับความทุกข์ หรือไม่สร้างความทุกข์ขึ้นในจิตตัวเอง . . มันดีเหรอ การสร้างความทุกข์ในจิตตัวเอง มันเปลี่ยนได้ ก็ต้องเปลี่ยนใช่ไหมล่ะ แก้ได้ก็ต้องแก้ . . เรื่องเดิม ปัญหาเดิม แต่พลิกใหม่ ด้วย “จิต
#ดับที่ปัญหาหรือดับที่เหตุ
ปัญญาสัมมาทิฏฐิมีลักษะทำให้เกิดความเห็นถูก อธิบายว่า ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีมูลเหตุของมันเสมอ เมื่อได้ประสบกับปัญหาบางอย่าง คนทั่วไปมักจะอยากเข้าไปดับที่ตัวปัญหาก่อน โดยไม่ได้มองถึงสาเหตุที่ก่อปัญหาขึ้นมา การดับปัญหาโดยที่ไม่ได้ดับที่เหตุของมัน ปัญหาจึงไม่มีทางหมดสิ้นได้ ฉะนั้น ควรจะมีการกำหนดรอบรู้ถึงปัญหาแบบสาวหาต้นเหตุแล้วทำความเข้าใจว่าเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาจะดับได้หรือไม่ เหตุของปัญหาใดอยู่ในวิสัยที่ดับได้ก็ให้ดับทันที เหตุแห่งปัญหาใดดับไม่ได้ก็ให้กำหนดรู้ไว้ก่อน จนกว่าจะเกิดความรู้ในการดับได้ เมื่อทราบปัญหา ทราบเหตุของปัญหา ทราบการดับปัญหาได้อย่างชัดเจนแล้ว ก็ให้ดำเนินการดับตามความเห็นที่ได้กำหนดทราบไว้อย่างถูกต้องตรงตัว วิธีการดำเนินการดับปัญหานั้นให้แยกปัญหาออกจากเหตุให้ได้ อย่าให้ปัญหากับเหตุปะปนกัน เพราะจะทำให้เราไม่ทราบว่าปัญหาถูกดับที่เหตุหรือที่ตัวปัญหาที่เกิดขึ้นกันแน่ เมื่อแยกปัญหาออกจากเหตุได้แล้ว ก็ให้กำหนดเหตุของปัญหาไว้แล้วแก้ไขเหตุนั้นตามความเป็นจริง โดยเข้าใจตัวเหตุ เข้าใจที่มาของเหตุ เข้าใจที่จะดับเหตุ และเข้าใจที่จะทำเหตุให้สิ้นไป เรื่องนี้ต้องอาศัยความเข้าใจตามแนวอริยสัจเป็นอย่างดีจึงจะแก้ต้นเหตุได้จริงๆ เพราะเหตุบางอย่างแม้ดับได้แล้วก็เกิดใหม่ได้อีก จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
“เฉลิมชนม์พรรษาพระพันปีหลวง
พสกนิกรทั้งปวงล้วนเทิดไท้
สดุดีพระเกียรติก้องจงทรงชัย
ปวงชาวไทยขอพระองค์ทรงพระเจริญ”
สถานศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย สถานศึกษาธรรมดอยเวียงเกี๋ยงวนา ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย สถานศึกษาธรรมป่านาโสกฮัง ต.หนองสามสี อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ สถานศึกษาธรรมป่านาหนองพี่ ต.นาวัง อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ ร่วมถวายพระพรชัยมงคล พระชนม์ยิ่งยืนนาน
#ว่าโดยหลักของมรรค
มรรค ๘ ว่าโดยหลักแล้ว ‘สัมมาทิฏฐิ’ เป็นประธานของมรรคทั้ง ๘ ข้อ สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะจัดเป็น ‘ปัญญา’ สัมมาวาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ จัดเป็น ‘ศีล’ สัมมาวายมะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเป็นเป็น ‘สมาธิ’ หากมองตามมรรคก็จะได้องค์ไตรสิกขาดังนี้ ‘ปัญญา ศีล สมาธิ’ นี่คือความลึกซึ้งของมรรค ๘ หากไม่มีปัญญาเป็นตัวนำ ศีลที่รักษาก็จะเป็นศีลที่ขาดปัญญา สมาธิที่ทำก็เป็นสมาธิที่ไม่มีปัญญา จึงเกิดมีมิจฉาศีล มิจฉาสมาธิ มิจฉาปัญญาขึ้นมา ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดที่ดำเนินตามมรรค ๘ อยู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา เพียงแต่ในณะที่ดำเนินมรรคอยู่นั้น องค์ของ ศีล สมาธิ ปัญญา ยังไม่เกิดปรากฏเป็นผลขึ้นมารองรับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา ในขณะนั้น หากมรรคเต็มเมื่อไหร่ ศีล สมาธิ ปัญญา จะปรากฏชัดขึ้นมาให้เห็น…
#จะเข้าถึงความเป็นโสดาบันได้อย่างไร
วิธีปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบัน ไม่มีวิธีที่ตายตัว แต่มีหลักการอยู่ที่ว่า ผู้ที่ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ก็จะได้เป็นโสดาบัน ซึ่งหลักการนี้ บ่งบอกความเป็นพระโสดาบันไว้อย่างตายตัวอยู่แล้ว ผู้ปฏิบัติเพียงแค่ทำความเข้าใจเนื้อหาของหลักการนี้ให้ถ่องแท้ด้วยวิธีของตนเอง (แล้วแต่ใครจะมีวิธีการของตนอย่างไร) เนื้อหาที่เราจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ด้วยตนเองก็คือ สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดในกาย ที่เรายึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนยึดกันมาตั้งแต่วันเกิดอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ก็ยึดร่างกายเหมือนกันกับพวกเรา เมื่อเรารู้ว่าเรายึดร่างกายอยู่ ก็เป็นความเห็นผิดของเราเองที่ทำให้เราเกิดมีสักกายทิฏฐิ(ความเห็นผิดในกาย) เจริญมากขึ้น ในหลักการบอกว่า ละสักกายทิฏฐิได้ จะเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น วิธีการที่จะละสักกายทิฏฐิ จะต้องฝึกพิจารณากายให้มากๆ (เน้นย้ำ ต้องมากๆนะ) เพื่อถ่ายถอนความเห็นผิดออกจากจิตเรา อย่าเบื่อหน่ายต่อการพิจารณากาย หากเบื่อหน่าย ก็จะถอนสักกายทิฏฐิไม่ได้ การพิจารณากายนั้น ควรจะเป็นการพิจารณาแยกส่วนต่างๆ ของร่างกายเราออก แล้วให้รู้ด้วยปัญญา (ต้องรู้ด้วยปัญญาจริงๆ นะ ไม่ใช่แค่รู้เฉยๆ) จนถ่องแท้แก่ใจของเราเองว่า ร่างกายเป็นเพียงแค่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม จริงๆ จากนั้น ให้ฝึกดูร่างกายเป็นธาตุ ๔ นี้ไว้จนจิตเกิดการยอมรับว่า ร่างกายเป็นธาตุจริงๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล…
#ความคิดไม่ใช่กิเลส
ธรรมชาติใดเป็นธรรมชาติคิดธรรมชาตินั้นชื่อว่า “จิต”…………………………….. อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายไว้ว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า “จิต” ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า “มโน” จิตที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายในนั่นแหละชื่อว่า “หทัย” มนะที่เป็นอายตนะ คือเครื่องต่อ จึงชื่อว่า “มนายตนะ” มนะที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า “มนินทรีย์” ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า “วิญญาณ” วิญญาณที่เป็นขันธ์ จึงชื่อว่า “วิญญาณขันธ์” มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ จึงชื่อว่า “มโนวิญญาณธาตุ”……………………………. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ