Dhammanava
Menu
  • Home
  • คอร์สอบรมตามแนวทาง ธรรมนาวา “วัง”
  • พระอาจารย์
    • พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
    • พระอาจารย์คุณวโร ภิกฺขุ
    • พระอาจารย์ชาครธมฺโม ภิกฺขุ
    • หลวงพ่อภูริปญฺโญ ภิกฺขุ
  • Books/หนังสือ
  • FILE VDO/สื่อวีดีโอ
  • ค้นหาธรรม
  • FAQ
  • TikTok
  • Facebook
  • YouTube
  • MP3
  • Line@
  • ติดต่อ/Contact
    • สถานที่ศึกษาธรรม
Menu

## รู้สึกอิจฉาใคร ห้ามทำ 3 สิ่งนี้ ถ้าไม่อยากให้นิสัยนี้อยู่กับเราตลอดไป ##

Posted on October 5, 2022October 5, 2022 by Prawit Wachirayano

เราอาจจะกลายเป็นคนที่ดูแย่ในสายตาคนอื่นก็ได้ แม้เราจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม….
.เพราะความรู้สึกอิจฉา เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติของจิต ซึ่งมันไม่ได้ผิด ถ้ามันกำลังเกิดขึ้นอยู่กับเรา แต่ถ้าเราทำ 3 สิ่งนี้บ่อย ๆ ทุกครั้งที่รู้สึกอิจฉา ความอิจฉาจะกลายเป็นนิสัยติดตัวของเราไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราก็ไม่ได้อยากเป็น ใช่มั้ยล่ะ?
# การกรทำที่เราควรระวัง คือ…
1. อย่าพยายามแกล้งทำเป็นว่ายินดีเพื่อต้องการให้ใครมองว่าเราดี
จุดนี้ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ควรจะต้องทำ เพื่อรักษามารยาท รักษาน้ำใจคนอื่นได้ ถ้าเพื่อจุดประสงค์นี้ สามารถทำได้ ไม่ได้ผิดอะไรแต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราพยายามแสดงความยินดีมากเกินไป เพื่อจุดประสงค์ที่ “ต้องการให้ใคร ๆ มองว่าเราเป็นคนจิตใจดี” หรือ “เพื่อให้ใครมายอมรับเรา” ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นแบบนั้นจริง ๆ
เพราะลองสังเกตุดู ว่าเมื่อเราทำแบบนั้น เราจะรู้สึกเหนื่อยมากกกก กับการพยายามทำเพื่อให้คนอื่นพอใจ ทั้ง ๆ ที่ใจไม่โอเค เพราะจริง ๆ แล้ว เราเนี่ยแหล่ะ ที่ต้องการทำให้ตัวเองรู้สึกดี เพราะคิดว่าเราจะรู้สึกดี จากการที่คนอื่นมองว่าเราดี แต่เมื่อทำไปจริง ๆ แล้ว มันโครตจะเหนื่อยเลย
ถ้าให้พูดตรง ๆ เลย รู้กันดีใช่มั้ยคะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ ใคร “ปลอม” คนมักจะดูออกเสมอ และคนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ความต้องการส่วนลึกที่อยู่ข้างในของกันและกัน เป็นเหตุทำให้มองกันแค่ผ่าน ๆ ผิว ๆ แล้วก็ยิ่งทำให้เกิดความไม่ชอบหน้ากัน หรือเข้าใจผิด
เราจึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่า การพยายามไปแบบนั้น จะเกิดผลดี หรือผลเสียอะไรตามมา
“หลอกใจตัวเองได้ แต่อย่าหลอกคนอื่น ” การหลอกใจตัวเอง ไม่ได้หมายถึง ไม่ยอมรับตัวเองที่ชอบรู้สึกอิจฉา
แต่หมายถึง การยอมรับก่อน แล้วค่อย ๆ หลอก ด้วยการค่อย ๆ เข้าไปป้อนนิสัยใหม่ให้ตัวเอง เข้าไปสอนจิตสอนใจข้างในตัวเอง เพื่อให้เปลี่ยนนิสัยไปในทิศทางที่ดี แบบที่เราต้องการจะเป็น
ซึ่งเธอก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่ถ้าตอนนี้มันยังไม่ได้ ให้ย้ายจากการโฟกัสความพยายามที่การกระทำภายนอก มาโฟกัสที่ความพยายามภายใน ด้วยการสอนจิตสอนใจตัวเองก่อน ค่อย ๆ ไปทีละเสต็ป แบบช้า ๆ แต่ชัวร์ดีกว่า

2. อย่าผลักไสความคิดอิจฉาและก็อย่าคล้อยตามความคิดอิจฉา
เพราะความรู้สึกอิจฉา และความคิดลบ ๆ ที่มาจากความอิจฉาแบบ เห็นปุ๊บ คิดลบปั๊บ จริง ๆ เป็นความคิดที่ลึก ๆ แล้ว เราไม่ได้ตั้งใจจะคิดมันจริง ๆ หรอก แต่มันเกิดขึ้นไวมากโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว
ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดก็เหมือนกับปากที่พูดออกไป โดยไม่ทันคิด
ความคิดที่ว่า
“ไม่อยากให้เขาได้ดี”
“เก่งได้เพราะฟลุ๊คแหล่ะ”
“รอบหน้าขอให้มันพลาด เพี้ยง ๆๆๆ”
มันจะมีเสียงพูดอะไรแบบนี้ของมัน อยู่ในหัวของเราโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่สามารถเข้าไปห้ามความคิดมันได้จริง ๆ ยิ่งเราบอกว่า “หยุด หยุดคิดนะ ห้ามคิด” ยิ่งไปห้ามมันนั่นแหล่ะ ยิ่งทำให้ไม่หยุดคิด ยิ่งคิดได้ทั้งวี่ทั้งวัน
เพราะการห้าม แปลว่าเรา “กลัวความคิดนั้น” ไม่อยากให้ความคิดนั้นเกิด แต่การเข้าไปกลัว โดยที่ไม่ได้เข้าไปรู้ และดูมันเฉย ๆ จิตมันก็ยิ่งเข้าไปโฟกัสความกลัวนั้น และทำให้คิดยิ่งกว่าเดิม
และต่อให้เราจะห้ามจนหยุดความคิดมันได้จริง ๆ ในตอนนั้น แต่ครั้งหน้า เมื่อเหตุการณ์เดิมมันเกิดขึ้นอีก เราก็ต้องมาคอยต่อสู้กับความคิดของตัวเองทุกครั้ง ซึ่งมันเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และมันจะไม่มีทางแก้จากต้นตอได้เลยจริง ๆ
การแก้ปัญหาที่ต้นตอคือ ให้เข้าไปเรียนรู้ความคิด เข้าไปรู้ว่า “นี่คือความคิด ความคิดกำลังเกิดขึ้นกับจิต จิตกำลังถูกความคิดปรุงแต่ง ความคิดกำลังปรุงแต่งจิต” ย้ำ ๆ วนไปวนมา เพื่อสอนจิตแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
ให้รู้ไว้ว่า ความคิด เป็นระบบการทำงานของจิตที่เกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ และมันก็จะดับไปเองโดยอัตโนมัติเช่นกัน มันเลยไม่ใช่หน้าที่ของเรา ที่จะต้องไปพยายามดับมัน
เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ที่ความคิดมันจะคิดเรื่องเดิมได้ตลอด 24 ชม. โดยไม่พักเลย ไม่สลับไปเรื่องอื่น คิดเรื่องกิน คิดเรื่องงาน คิดเรื่องชีวิตเลย ยังไงเรื่องทุกเรื่องมันก็ต้องดับไปในเวลานึงอยู่แล้ว
เพราะฉนั้น ที่มันได้ผลจริง ๆ คือ เวลามันคิด ก็ปล่อยให้มันแสดงออก แล้วมีหน้าที่แค่เข้าไปดูมัน เข้าไปรู้มันก็พอ ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวความคิดที่อิจฉามันจะค่อย ๆ คิดน้อยลงไปเอง เพราะมันรู้แล้วว่า คิดอิจฉาแค่ไหน เราก็ไม่คล้อยตามมันอยู่ดี กลับเข้าไปดู เข้าไปสังเกตมันซะงั้น เอ้า! จิตงง เชื่อมั้ยว่าความคิดอิจฉามันจะลดลงไปเอง เราพิสูจน์มากับตัวแล้ว ถ้าไม่เชื่อ ต้องลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง

3. เมื่อเขาล้ม อย่า ซ้ำจุดนี้ถ้าเห็นว่าเขาล้มขึ้นมา ปกติเราอาจจะมีวิธีซ้ำเติมอยู่ 2 แบบ
1. การซ้ำเติมทางความคิด (ไม่เป็นไร)
ถ้าเราเผลอไปซ้ำเติมเค้าในความคิด เผลอมีความรู้สึกสะใจขึ้นมาทันทีที่เห็นเค้าล้ม ก็ไม่เป็นไร ให้รู้ว่า ที่เรารู้สึกแบบนี้ ที่เราคิดแบบนี้ เพราะมันมีกระบวนการทำงานของจิตที่เป็นอัตโนมัติ และมีความคิดนำพาให้เกิดความรู้สึกสะใจตามมา
ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดอะไรหลังจากนั้น เพราะระบบของจิตมันเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง โดยที่เราเองก็ยังตามไม่ทันมันเวลาที่มันเกิดขึ้นด้วยซ้ำ
สิ่งที่ต้องทำคือ ทำเหมือนข้อที่ 2 เลย ทุกครั้งที่ความสะใจมันเกิดขึ้น ให้เธอเข้าไปรู้ความคิดนั้น “ความคิดมันกำลังเกิดขึ้นกับจิตนะ จิตกำลังถูกความคิดนี้ปรุงแต่งอยู่นะ” ให้ทำเท่านี้ให้ได้ก่อน แล้วเราจะไม่คล้อยตามความคิดนั้น ความรู้สึกสะใจก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

2. การซ้ำเติมทางคำพูด และการกระทำ
ตราบใดที่ยังมีสติอยู่ ไม่ว่าจะเกลียดเขา หรือรู้สึกไม่ดีกับเขาแค่ไหนก็ตาม ให้เสียงนั้นมันได้ยินอยู่แค่ในหัวของเราก็พอ ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าให้มันเล็ดลอกออกไปทางคำพูด หรือการกระทำ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่แสดงออกไปแล้ว สิ่งนั้นจะกลายเป็นกรรมทันที และทุก ๆ การกระทำจะให้ผลคืนมาแน่นอน
ผลของการกระทำที่เห็นได้จริง ๆ คือ อาจจะทำให้เราสร้างศัตรูขึ้นมาเพิ่ม คนอาจจะมองเราเป็นคนนิสัยไม่ดี คนอาจจะไม่อยากที่จะช่วยเหลือเราในเวลาที่เราเดือดร้อน หรือในวันที่เราล้ม เราก็มีสิทธิ์ที่จะโดนซ้ำเติมได้เหมือนกัน
.และที่แน่ ๆ เราจะกลายเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เราก็ไม่ได้อยากจะเป็นแบบนี้

# ถ้าเธอเคยทำทั้ง 3 ข้อนี้ หรือคิดว่าตอนนี้กำลังเป็นอยู่ ไม่เป็นไรค่ะ มันผ่านไปแล้ว และมันจะผ่านไป แม้มันเพิ่งจะเกิดขึ้นกับเธอเมื่อ 1 นาทีที่แล้วก็ตาม ให้เธอกลับมาโฟกัสที่ปัจจุบัน คือวินาทีนี้เท่านั้น และถ้าวินาทีนี้มันเกิด ก็แค่พยายามเข้าไปรู้มันเท่านั้น

แล้วถ้าปัจจุบัน มีการกระทำในอดีตที่กำลังส่งผลกับเธออยู่ ก็ไม่เป็นไร ให้ยอมรับไปตรง ๆ ว่า อ๋อ ผลจากการที่เราได้รับตรงนี้ มันมีเหตุมาจากสิ่งนี้นะ มีเหตุมาจากการกระทำของเราในอดีตแบบนี้นะ ให้ยอมรับมัน ก็มันผ่านไปแล้ว แก้ไขอดีตไม่ได้แล้ว แต่เธอสามารถมาตั้งใจแก้ไขปัจจุบันได้ ด้วยการเปลี่ยนนิสัยใหม่ที่เธออยากจะเป็น เพื่อทดแทนนิสัยเก่าที่ไม่ได้คู่ควรกับเธอจริง ๆ

# แต่ถ้าตอนนี้ เธอกำลังรู้สึกอึดอัดกับตัวเองข้างใน
เราเปิดพื้นที่ ให้ระบายมาได้ที่ใต้โพสต์นี้ได้เต็มที่เลยค่ะ พูดแค่เรื่องที่เป็นเรื่องของตัวเองนะคะ ระบายเสร็จแล้ว แล้วมาพัฒนานิสัยด้านดี ๆ ไปด้วยกันนะ ^^

เผยแผ่หลักธรรม : #พระอาจารย์ต้น – จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
ที่ปรึกษาหลักธรรม : พระอาจารย์มหาหินท์
Content Creator : #น้ำทิพย์วนิ
Graphic Design : นักวาดอะนิเมะญี่ปุ่น

Thursday, 10 July 2025
  • 14
  • :
  • 22
  • :
  • 43
คำอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย เสียงพระอาจารย์ต้น
Video Player
https://dhammanava.net/wp-content/uploads/2024/09/บทพิจารณากาย.mp4

Media error: Format(s) not supported or source(s) not found

Download File: https://dhammanava.net/wp-content/uploads/2024/09/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.mp4?_=1
00:00
00:00
00:00
Use Up/Down Arrow keys to increase or decrease volume.
แนวทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
กิจกรรมวัยรุ่นฟังธรรม

ธรรมะเพื่อการรู้แจ้ง

 

อย่าท้อเพราะอวิชชา-โมหะ (20 มิ.ย. 2553)
Audio Player
00:00
00:00
00:00
Use Up/Down Arrow keys to increase or decrease volume.
1. อย่าท้อเพราะอวิชชา-โมหะ (20 มิ.ย. 2553)
29:35
2. 2.-ฟังธรรมตามที่เป็นจริง-15-ก.ย.-55-เช้า
34:18
3. เป็นปัญหาเพราะไม่รู้จักทุกข์-7-ม.ค.-2560
1:06
4. สติ และ มรรค ๘ (บ่าย 11เม.ย. 2553)
42:14
5. สร้างปัญญาเพื่อดับทุกข์ (22 มิ.ย. 2553 20.45 น.)
41:07
6. ธรรมที่พุทธองค์ทรงพร่ำสอน (19 ก.ย. 2553 20.25 น.)
54:04
7. นิสัย-อนุิสัย (ค่ำ 11 เม.ย. 2553)
38:59
8. “B004” — DVT
1:08:59
9. 2. ฟังธรรมตามที่เป็นจริง 15 ก.ย. 55 (เช้า)
34:18
10. 2.เมตตาจิตกับการก้าวล่วง
54:27
11. 3. ดับไฟทุกข์ mp3
40:31
12. 10.-แยกธาตุ-๔-เพื่อรู้กายรู้จิต
56:03
13. 1. องค์แห่งโพชฌงค์ในจิต15 ก.ย. 55 (เย็น)
49:13
14. สนทนาธรรมกับครูเงาะ-ด่านแรกของการละกิเลส
32:59
15. สนทนาธรรมกับครูเงาะ-สภาวของนักปฏิบัติ
1:13:14
16. สนทนาธรรมกัยครูเงาะ-กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
1:16:07
17. “210502_1931” — My Recording
1:31:48
18. สนทนาธรรมกับครูเงาะ2
1:36:44
19. สนทนาธรรมกับครูเงาะ.ความสงบ
31:03
20. สนทนาธรรทกัยครูเงาะ1
2:19:24
21. วิธีสร้างสัมมาสมาธิ (18 ต.ค. 2562, 19.40 น. ภาษาอีสาน)
23:48
22. มองปัญหา(ทุกข์)ให้ออก (สนทนา 11 ต.ค. 2560, 12.30 น.) - สำเนา
1:05:26
23. ภาวนามรรคและขันธ์ (06 ก.ย. 2558) - สำเนา
46:57
24. 191114 ท่านอาจารย์ต้น บ้านพี่จี๊ด บ่าย
2:09:41
25. “01. ฟังเพื่อทำลายอวิชชา” — พระอาจารย์ ต้น
58:24
26. “201126_1902” — My Recording
1:29:25
27. 45. แสดงธรรมบ้านพี่จี๊ด-บ่าย - สำเนา
2:39:31
28. “ธรรมะเพื่อการหลุดพ้น” — พอจ.ต้น
56:51
Audio Player
https://flamboyant-heyrovsky.45-154-25-3.plesk.page/wp-content/uploads/2022/12/ฝึกหัดปฏิบัติ-ทาน-ศีล-สมาธิ-ปัญญา-เพื่อเตรียมพร้อม-พระอาจารย์ต้น_01082020.m4a
00:00
00:00
00:00
Use Up/Down Arrow keys to increase or decrease volume.
July 2025
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  
« May    
©2025 Dhammanava
Menu
  • Home
  • คอร์สอบรมตามแนวทาง ธรรมนาวา “วัง”
  • พระอาจารย์
    • พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
    • พระอาจารย์คุณวโร ภิกฺขุ
    • พระอาจารย์ชาครธมฺโม ภิกฺขุ
    • หลวงพ่อภูริปญฺโญ ภิกฺขุ
  • Books/หนังสือ
  • FILE VDO/สื่อวีดีโอ
  • ค้นหาธรรม
  • FAQ
  • TikTok
  • Facebook
  • YouTube
  • MP3
  • Line@
  • ติดต่อ/Contact
    • สถานที่ศึกษาธรรม