๑. ระลึกถึงความตายให้เกิดความสังเวชใจว่า ชีวิตเรามีความตายเป็นที่สุด ก่อนที่จะตายเราได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำให้สำเร็จประโยชน์แล้วหรือยัง เพราะเมื่อตายไปแล้วเราจะไม่สามารถกระทำสิ่งที่พึงกระทำในโลกนี้ได้อีก ๒. พิจารณาความเสื่อมความสิ้นของชีวิตว่า ชีวิตเราทั้งชีวิตเป็นเพียงสภาพของความเสื่อมความสิ้นที่เกิดสืบเนื่องกันไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต อย่าสำคัญมั่นหมายในชีวิตเป็นจริงเป็นจังมากเกินไป เพราะกายกับจิตเป็นเพียงองค์ประกอบที่อิงอาศัยกันอยู่ ไม่มีความมั่นคงอยู่แม้สักขณะหนึ่งเลย เกิดแล้วก็ดับไปในทันที หากยึดมั่นถือมั่นในกายสังขารมากเกินไป ก็ไม่มีอะไรที่จะยึดได้ตามการยึดมั่นถือมั่นนั้นเลย ปรากฏให้เห็นแต่ความเสื่อมความสิ้นอยู่ตลอดเวลา จึงควรที่จะหาวิธีการปล่อยวางอยู่เสมอ ๓. ระลึกอยู่ว่า การเกิดเป็นมนุษย์ของเรานี้ถือว่าเป็นบุญเก่าที่ส่งผลมาจากปางก่อน การใช้ชีวิตอยู่ในเวลานี้จึงเป็นการใช้ชีวิตที่อาศัยบุญเก่าอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ควรให้ชีวิตในแต่ละวันล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ หมั่นพิจารณากายสังขารและจิตสังขารที่เกิดจากบุญเก่านี้ว่า บุญจัดเป็นสังขารฝ่ายดี แม้จะดียังไงก็ตามขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วย่อมเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมเป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมไม่ควรยึดถือว่าเป็นตน เมื่อกายกับจิตของเราในเวลานี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากบุญเก่า บุญเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ตัวเราก็ไม่เที่ยง บุญเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ตัวเราก็ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม(ให้มองเห็นความไม่คงอยู่ในสภาพเดิมของชีวิต) บุญเป็นสิ่งที่หมดสิ้นไปได้ ตัวเราก็หมดสิ้นไปได้เหมือนกัน พิจารณาดูจริงๆแล้วเรายึดถือไม่ได้อะไรเลยนอกจากการปล่อยวาง ๔. พิจารณากายได้มากเท่าไหร่ ก็ถอนความเห็นผิดได้มากเท่านั้น คิดไปในเรื่องโลกมากเท่าไหร่ก็หลงไปกับโลกมากเท่านั้น หมั่นพิจารณากายให้คุ้นเคยกับจิตอยู่บ่อยๆ จะช่วยให้จิตคลายอุปาทานได้มากขึ้น ๕. พยายามขบตีความหมายทางธรรมด้วยสติปัญญาให้จิตเข้าถึงข้อ ธรรมนั้นๆอย่างถ่องแท้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ธรรมเห็นธรรมจริงๆ ๖. พิจารณาให้เห็นความเป็นธรรมดาของโลกอยู่เสมอ เช่น ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ความสำเร็จก็เป็นเรื่องธรรมดา ความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา ความสุขก็เป็นเรื่องธรรมดา นินทาเป็นเรื่องธรรมดา สรรเสริญก็เป็นเรื่องธรรมดา อย่างนี้เป็นต้น ๗….
Day: February 22, 2023
# เราชื่อว่า..พุทธศาสนิกชน
เราเป็นบุคคลผู้ชื่อว่า ”พุทธศาสนิกชน” ถ้าหากสามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจมรรคมีองค์แปด แล้วนำมาปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ จะได้ชื่อว่า “สงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เราจะเป็นบุคคล ผู้ปฏิบัติเป็นสงฆ์เองพึ่งตัวเราเองในการออกจากกองทุกข์ เราจะไม่เคลื่อนจากพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ แต่ถ้าเราไปพึ่งอะไรก็ตามที่ไม่ใช่พุทธรัตนะ อย่างเช่นอะไรสิ่งที่กำไว้ในคอเนี่ย เราจะไม่เป็นสังฆรัตนะด้วย . คือเราจะไม่ใช่ผู้ปฏิบัติออกจากกองทุกข์ด้วย เราจะไม่สามารถเข้าไปเห็นสัจจะตามความเป็นจริงได้ . สมมติอุบัติเหตุตู้มตอนนี้ ขอหลวงปู่ช่วยหน่อย ไหนบอกว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาใช่ไหม . เราจะไม่เห็นความเป็นธรรมดาเหล่านี้ ถ้าเราเคลื่อนออกจากพุทธรัตนะแล้วไปพึ่งพวกนี้ ไม่ได้ อย่างนี้ . เราจะเคลื่อนออกจากความเป็นสังฆะ คือการปฎิบัติตนเพื่อการเป็นสงฆ์สาวกของพระองค์เนี่ย เราจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เคลื่อนออกจากสังฆรัตนะแบบนี้ แล้วเราจะไม่สามารถพ้นไปจากความทุกข์ได้ อันนี้ยืนยัน . บุคคลผู้พึ่งสิ่งอื่น จะไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้
# เชื่ออย่างไรให้เกิดปัญญา
เชื่อพระปัญญาการตรัสรู้ความจริงแห่งสัจธรรมของพระพุทธองค์ เชื่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ และเชื่อความเป็นอริยสงฆ์ อันเกิดจากการปฏิบัติตามพระธรรมของพระพุทธองค์ . ***ไม่ใช่เชื่อพระพุทธเจ้าในรูปแบบวัตถุปลุกเสก เชื่อพระธรรมด้วยการสวดมนต์อ้อนวอน และเชื่อพระสงฆ์เพราะอำนาจการปลุกเสกด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ . ความเชื่อการดลบันดาลจากอำนาจลึกลับ และเฝ้าคอยอธิษฐานอยู่หน้าองค์พระปฏิมาหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ เป็นวิถีชีวิตที่ไม่คืบหน้า และผิดจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ว่า “นัตถิ ปัญญา สมา อาภา แปลว่า ไม่มีแสงสว่างใดเสมอแสงแห่งปัญญา” จากหนังสือ “ชีวิต จิต มนุษย์ ภาวนา” ของพระจารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)