จำไว้ว่า สังขารขันธ์จะทำหน้าที่มากกว่าขันธ์อื่น เพราะสังขารขันธ์ ทำหน้าที่ปรุงแต่งรูป ปรุงแต่งเวทนา ปรุงแต่งสัญญา ปรุงแต่งสังขาร คือปรุงแต่งตัวมันเองด้วย แล้วก็ปรุงแต่งวิญญาณ มันจึงทำหน้าที่มากกว่าตัวอื่น . การที่มันทำหน้าที่มากกว่าตัวอื่น คือมันมีบทบาทในการก่ออารมณ์ สร้างอารมณ์ ปรุงแต่งอารมณ์ได้มากกว่าขันธ์อื่น ขันธ์อื่นยังไม่สามารถก่อตัวอารมณ์ได้มากเท่ากับสังขารขันธ์ . บรรดาความคิด ความนึก ความปรุงแต่งอารมณ์ทั้งหลายเนี่ย ล้วนแล้วแต่มีมูลเหตุมาจากสังขารขันธ์ แม้แต่ความกลัว ความโกรธ ความวิตก ความกังวล อย่างนี้มาจากสังขารขันธ์ทั้งนั้น . ฉะนั้นสิ่งที่พระอาจารย์ขอแนะนำวิธีปฏิบัติในการจับอารมณ์ลงขันธ์เนี่ย ถ้าเราจับสัญญาขันธ์ได้ สังขารขันธ์จะทำหน้าที่น้อยลง . เพราะว่าสังขารขันธ์ คือการปรุงแต่ง จะทำหน้าที่หรือจะปรุงแต่งได้ ก็ต้องมีสัญญาขันธ์เป็นมูลฐาน . เมื่อมีสัญญาขันธ์เป็นมูลฐาน สัญญาคือข้อมูลที่จะทำให้สังขารทำหน้าที่ในการปรุงแต่ง คือตรึกนึก คิดนึก ไตร่ตรอง อะไรก็ตาม ต้องดึงมาจากสัญญาขันธ์ . ถ้าเราไปรู้สัญญาขันธ์เกิดดับ รู้การปรุงแต่งของสัญญาขันธ์ รู้การเกิดขึ้นของสัญญาขันธ์อยู่เรื่อยๆอยู่สม่ำเสมอ รู้ขันธ์เกิดดับ รู้สัญญาขันธ์เกิดดับ อยู่ได้เรื่อยๆ สังขารขันธ์จะทำหน้าที่น้อยลง คือทำหน้าที่ในการปรุงแต่งน้อยลง . แต่ก็มีบ้างเล็กๆน้อยๆ คือทำหน้าที่เพื่อให้อารมณ์บางอารมณ์เกิด…
Day: March 3, 2023
#อริยสัจ ๔ คือ
การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดแห่งทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ . อวิชชา: พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เรียกว่า “อวิชชา” และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า “ตกอยู่ในอวิชชา” . สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์) . .จากหนังสืออริยสัจ ๔ ทำคนธรรมดาให้เป็นอริยะ หน้า ๙๗