Download The allure of a free version of Adobe Photoshop often leads many to seek out cracked downloads. However, the consequences of using pirated software can be severe, not just legally but also in terms of system security. Downloading a Photoshop crack might seem like an easy solution to accessing powerful design tools, but it…
Author: Prawit Wachirayano
#ไม่มีแรงใดเสมอแรงแห่งกรรม
เมื่อเวลาวิบากกรรมจะให้ผล พลังแห่งกรรมจะเชื่อมโยง บุคคล กาลเวลา สถานที่ เพื่อกระทำเหตุการณ์ให้เกิดขึ้น พลังแห่งกรรมจะดึงบุคคลที่อยู่ในข่ายแห่งวิบากให้เข้ามารับกรรมวิบากร่วมกันอย่างที่คาดคิดไม่ถึง ในโลกนี้ไม่มีใครต้านแรงแห่งกรรมได้ และกรรมจะออกมาในรูปลักษณะไหนนั้น ก็ไม่มีใครที่จะทราบได้ แต่เมื่อมันเกิดขึ้น ก็มีแต่ต้องก้มหน้าก้มตายอมรับโดยถ่ายเดียว เพราะเป็นทางเดียวที่จะทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิได้(กรรมที่ให้ผลสำเร็จแล้ว) คือ ต้องยอมรับ จะทำอย่างไรได้เล่า ก็ชีวิตย่อมเป็นไปตามกรรมอยู่แล้ว จะโทษกรรมก็ไม่ได้ จะโทษตนเองก็ไม่ถูก จะโทษคนอื่นก็ใช่เหตุ การที่มัวแต่โทษสิ่งนั่นสิ่งนี้อยู่ ย่อมทำให้ชีวิตจมปลักและข้องอยู่กับปัญหา หากจะโทษ ก็ให้โทษวัฏฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด ที่เราหาข้อยุติกับมันไม่ได้ มันเป็นโทษของวัฏฏะโดยแท้ ! ผู้ฉลาดย่อมเรียนรู้ความผิดพลาดมากกว่าที่จะไปโทษความผิดพลาด ฉันใด ผู้ฉลาดย่อมเรียนรู้กรรมและผลของกรรมที่เกิดขึ้น มากกว่าที่จะไปโทษกรรมที่กำลังให้ผลอยู่ ฉันนั้น ทางที่ดีที่สุดให้หาทางออกไปจากวัฏฏะนี้ให้เร็วที่สุด จึงจะได้รับความปลอดภัยจากโทษแห่งวัฏฏะนั้น แม้กรรมจะยังส่งผลอยู่ กรรมนั้นก็เป็นอโหสิกรรมที่ให้ผลสำเร็จเป็นชาติสุดท้าย จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#สังขารขันธ์ เป็นเช่นใด
จำไว้ว่า สังขารขันธ์จะทำหน้าที่มากกว่าขันธ์อื่น เพราะสังขารขันธ์ ทำหน้าที่ปรุงแต่งรูป ปรุงแต่งเวทนา ปรุงแต่งสัญญา ปรุงแต่งสังขาร คือปรุงแต่งตัวมันเองด้วย แล้วก็ปรุงแต่งวิญญาณ มันจึงทำหน้าที่มากกว่าตัวอื่น . การที่มันทำหน้าที่มากกว่าตัวอื่น คือมันมีบทบาทในการก่ออารมณ์ สร้างอารมณ์ ปรุงแต่งอารมณ์ได้มากกว่าขันธ์อื่น ขันธ์อื่นยังไม่สามารถก่อตัวอารมณ์ได้มากเท่ากับสังขารขันธ์ . บรรดาความคิด ความนึก ความปรุงแต่งอารมณ์ทั้งหลายเนี่ย ล้วนแล้วแต่มีมูลเหตุมาจากสังขารขันธ์ แม้แต่ความกลัว ความโกรธ ความวิตก ความกังวล อย่างนี้มาจากสังขารขันธ์ทั้งนั้น . ฉะนั้นสิ่งที่พระอาจารย์ขอแนะนำวิธีปฏิบัติในการจับอารมณ์ลงขันธ์เนี่ย ถ้าเราจับสัญญาขันธ์ได้ สังขารขันธ์จะทำหน้าที่น้อยลง . เพราะว่าสังขารขันธ์ คือการปรุงแต่ง จะทำหน้าที่หรือจะปรุงแต่งได้ ก็ต้องมีสัญญาขันธ์เป็นมูลฐาน . เมื่อมีสัญญาขันธ์เป็นมูลฐาน สัญญาคือข้อมูลที่จะทำให้สังขารทำหน้าที่ในการปรุงแต่ง คือตรึกนึก คิดนึก ไตร่ตรอง อะไรก็ตาม ต้องดึงมาจากสัญญาขันธ์ . ถ้าเราไปรู้สัญญาขันธ์เกิดดับ รู้การปรุงแต่งของสัญญาขันธ์ รู้การเกิดขึ้นของสัญญาขันธ์อยู่เรื่อยๆอยู่สม่ำเสมอ รู้ขันธ์เกิดดับ รู้สัญญาขันธ์เกิดดับ อยู่ได้เรื่อยๆ สังขารขันธ์จะทำหน้าที่น้อยลง คือทำหน้าที่ในการปรุงแต่งน้อยลง . แต่ก็มีบ้างเล็กๆน้อยๆ คือทำหน้าที่เพื่อให้อารมณ์บางอารมณ์เกิด…
#อริยสัจ ๔ คือ
การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดแห่งทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ . อวิชชา: พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เรียกว่า “อวิชชา” และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า “ตกอยู่ในอวิชชา” . สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์) . .จากหนังสืออริยสัจ ๔ ทำคนธรรมดาให้เป็นอริยะ หน้า ๙๗
#ปุจฉา “ความโกรธ”
#คำถาม : แผ่เมตตาอยู่ทำไมความโกรธยังเกิดขึ้น อย่างนี้เราเป็นคนไร้เมตตาหรือเปล่า #คำตอบ ความโกรธเกิดขึ้นไม่ได้หมายถึงว่าไม่มีเมตตา แต่ความโกรธเกิดขึ้น เพราะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึง “อัตตา” อันสืบเนื่องมาจากสักกายทิฏฐิสังโยชน์ในภายใน . ฉะนั้น เวลาความโกรธแสดงตัวขึ้นมา จึงเป็นช่วงที่จะทำให้เราได้ปฏิบัติต่ออารมณ์ความโกรธในปัจจุบันขณะได้ถูกต้อง . เมื่อได้ทบทวนดูเรื่องราวที่เกิดขึ้น ก็จะทราบได้เลยว่าตนเองผิดพลาดตรงไหน แล้วคำนวณ “วิเคราะห์ถึงเหตุที่แท้” นั้นให้ได้ เพราะถ้าเราไม่สืบค้นดูเหตุที่แท้ มัวแต่ไปกล่าวโทษตนเองว่าไร้เมตตา จะทำให้เราพลาดการเรียนรู้เรื่องของสมุทัยสัจจ์ . ซึ่งสมุทัยสัจจ์นี้เป็นสิ่งที่เราจะต้อง “กำหนดรู้ถึงสาเหตุ” ด้วย เพราะเป็นความจริงที่เราจะต้องปฏิบัติต่อตัวสมุทัยที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความทุกข์ด้วย . สรุปก็คือ ความโกรธเกิดขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องละ และอย่าเพิ่งเอาอารมณ์เมตตามาแก้ ให้สืบค้นดูเหตุของความโกรธให้แน่ชัด แล้วทักอารมณ์โกรธให้ได้ทุกคราว เพราะความโกรธเป็นอารมณ์ที่แสดงออกต่อสิ่งที่เรากำลังผัสสะอยู่ . ส่วนตัวที่ทำให้เราขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้ในขณะที่ความโกรธเกิดขึ้นนั้น คือสมุทัยที่เราสร้างมันขึ้นมา เพราะไม่รู้จักความโกรธตามความเป็นจริงในขณะนั้น. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ[พระอาจารย์ต้น] AjahnTon
# อุบายที่ควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ
๑. ระลึกถึงความตายให้เกิดความสังเวชใจว่า ชีวิตเรามีความตายเป็นที่สุด ก่อนที่จะตายเราได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำให้สำเร็จประโยชน์แล้วหรือยัง เพราะเมื่อตายไปแล้วเราจะไม่สามารถกระทำสิ่งที่พึงกระทำในโลกนี้ได้อีก ๒. พิจารณาความเสื่อมความสิ้นของชีวิตว่า ชีวิตเราทั้งชีวิตเป็นเพียงสภาพของความเสื่อมความสิ้นที่เกิดสืบเนื่องกันไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต อย่าสำคัญมั่นหมายในชีวิตเป็นจริงเป็นจังมากเกินไป เพราะกายกับจิตเป็นเพียงองค์ประกอบที่อิงอาศัยกันอยู่ ไม่มีความมั่นคงอยู่แม้สักขณะหนึ่งเลย เกิดแล้วก็ดับไปในทันที หากยึดมั่นถือมั่นในกายสังขารมากเกินไป ก็ไม่มีอะไรที่จะยึดได้ตามการยึดมั่นถือมั่นนั้นเลย ปรากฏให้เห็นแต่ความเสื่อมความสิ้นอยู่ตลอดเวลา จึงควรที่จะหาวิธีการปล่อยวางอยู่เสมอ ๓. ระลึกอยู่ว่า การเกิดเป็นมนุษย์ของเรานี้ถือว่าเป็นบุญเก่าที่ส่งผลมาจากปางก่อน การใช้ชีวิตอยู่ในเวลานี้จึงเป็นการใช้ชีวิตที่อาศัยบุญเก่าอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ควรให้ชีวิตในแต่ละวันล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ หมั่นพิจารณากายสังขารและจิตสังขารที่เกิดจากบุญเก่านี้ว่า บุญจัดเป็นสังขารฝ่ายดี แม้จะดียังไงก็ตามขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วย่อมเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมเป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมไม่ควรยึดถือว่าเป็นตน เมื่อกายกับจิตของเราในเวลานี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากบุญเก่า บุญเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ตัวเราก็ไม่เที่ยง บุญเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ตัวเราก็ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม(ให้มองเห็นความไม่คงอยู่ในสภาพเดิมของชีวิต) บุญเป็นสิ่งที่หมดสิ้นไปได้ ตัวเราก็หมดสิ้นไปได้เหมือนกัน พิจารณาดูจริงๆแล้วเรายึดถือไม่ได้อะไรเลยนอกจากการปล่อยวาง ๔. พิจารณากายได้มากเท่าไหร่ ก็ถอนความเห็นผิดได้มากเท่านั้น คิดไปในเรื่องโลกมากเท่าไหร่ก็หลงไปกับโลกมากเท่านั้น หมั่นพิจารณากายให้คุ้นเคยกับจิตอยู่บ่อยๆ จะช่วยให้จิตคลายอุปาทานได้มากขึ้น ๕. พยายามขบตีความหมายทางธรรมด้วยสติปัญญาให้จิตเข้าถึงข้อ ธรรมนั้นๆอย่างถ่องแท้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ธรรมเห็นธรรมจริงๆ ๖. พิจารณาให้เห็นความเป็นธรรมดาของโลกอยู่เสมอ เช่น ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ความสำเร็จก็เป็นเรื่องธรรมดา ความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา ความสุขก็เป็นเรื่องธรรมดา นินทาเป็นเรื่องธรรมดา สรรเสริญก็เป็นเรื่องธรรมดา อย่างนี้เป็นต้น ๗….
# เราชื่อว่า..พุทธศาสนิกชน
เราเป็นบุคคลผู้ชื่อว่า ”พุทธศาสนิกชน” ถ้าหากสามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจมรรคมีองค์แปด แล้วนำมาปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ จะได้ชื่อว่า “สงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เราจะเป็นบุคคล ผู้ปฏิบัติเป็นสงฆ์เองพึ่งตัวเราเองในการออกจากกองทุกข์ เราจะไม่เคลื่อนจากพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ แต่ถ้าเราไปพึ่งอะไรก็ตามที่ไม่ใช่พุทธรัตนะ อย่างเช่นอะไรสิ่งที่กำไว้ในคอเนี่ย เราจะไม่เป็นสังฆรัตนะด้วย . คือเราจะไม่ใช่ผู้ปฏิบัติออกจากกองทุกข์ด้วย เราจะไม่สามารถเข้าไปเห็นสัจจะตามความเป็นจริงได้ . สมมติอุบัติเหตุตู้มตอนนี้ ขอหลวงปู่ช่วยหน่อย ไหนบอกว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาใช่ไหม . เราจะไม่เห็นความเป็นธรรมดาเหล่านี้ ถ้าเราเคลื่อนออกจากพุทธรัตนะแล้วไปพึ่งพวกนี้ ไม่ได้ อย่างนี้ . เราจะเคลื่อนออกจากความเป็นสังฆะ คือการปฎิบัติตนเพื่อการเป็นสงฆ์สาวกของพระองค์เนี่ย เราจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เคลื่อนออกจากสังฆรัตนะแบบนี้ แล้วเราจะไม่สามารถพ้นไปจากความทุกข์ได้ อันนี้ยืนยัน . บุคคลผู้พึ่งสิ่งอื่น จะไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้
# เชื่ออย่างไรให้เกิดปัญญา
เชื่อพระปัญญาการตรัสรู้ความจริงแห่งสัจธรรมของพระพุทธองค์ เชื่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ และเชื่อความเป็นอริยสงฆ์ อันเกิดจากการปฏิบัติตามพระธรรมของพระพุทธองค์ . ***ไม่ใช่เชื่อพระพุทธเจ้าในรูปแบบวัตถุปลุกเสก เชื่อพระธรรมด้วยการสวดมนต์อ้อนวอน และเชื่อพระสงฆ์เพราะอำนาจการปลุกเสกด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ . ความเชื่อการดลบันดาลจากอำนาจลึกลับ และเฝ้าคอยอธิษฐานอยู่หน้าองค์พระปฏิมาหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ เป็นวิถีชีวิตที่ไม่คืบหน้า และผิดจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ว่า “นัตถิ ปัญญา สมา อาภา แปลว่า ไม่มีแสงสว่างใดเสมอแสงแห่งปัญญา” จากหนังสือ “ชีวิต จิต มนุษย์ ภาวนา” ของพระจารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)
#ความคิดไม่ดี..เอะยังไง??
ปุจฉา: มีความคิดไม่ดีผุดขึ้นมาระหว่าฟังธรรม ต้องแก้ไข หรือปฏิบัติอย่างไร วิสัจชนา: จิตเรามีอยู่ ๒ ภาวะ ภาวะหนึ่งที่เรียกว่า #เจตนาอีกภาวะหนึ่งที่อยู่ #นอกเจตนา.ภาวะที่เป็นเตนานี้ เป็นภาวะที่เราจงใจคิด จงใจพูด จงใจกระทำกับภาวะหนึ่งที่ไม่ได้จงใจ เรียกว่า นอกเจตนานอกเจตนานี้เขาเรียกว่า อยู่เหนือการควบคุมจิตที่อยู่เหนือการควบคุม หรือจิตเหนือเจตนาอันนี้เป็นจิตที่ไม่มีกรรมแม้ความคิดนั้น ความรู้สึกนั้น อารมณ์นั้นจะเป็นอกุศลก็ตาม เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ตาม ก็ไม่เป็นกรรม.พระองค์ตรัสไว้ว่า เจตนาเป็นตัวกรรม[เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ]เรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรมอันที่นอกเจตนานี้ แม้มันจะปรากฏ ก็ไม่ใช่กรรม.มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ติดมากับจิตเท่านั้นเองที่มันจะแสดงออกตามภาวะการณ์ที่เป็นอิสระของมันมันอยู่นอกเจตนาขอให้เข้าใจมันเท่านั้นเองอย่าไปกำจัดมัน ให้เข้าไปรู้ว่าอ๋อ นี่เป็นความคิดนอกเจตนา ไม่มีกรรมในนั้นแค่แสดงความคิด อาการ ออกมาตามธรรมดา.แต่เจตนานี้ต่างหาก รักษาเจตนาเราไว้ให้ดีประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่าอันสิ่งที่มันอยู่นอกเจตนานี้ เวลามันเกิดขึ้นมันมักจะล่อลวงเจตนาของเราให้ไปคิดตอบ กระทำตอบถ้ารักษาเจตนาตัวเองของปัจจุบันเอาไว้ไม่ดีมันก็ได้กรรมจากสิ่ง ๆ นั้น.หลักการก็คือ ให้ยึดถือ #พระรัตนตรัย ไว้มันก็จะเป็นหลักยึด มันก็จะไม่น้อมไปสู่ความคิดที่นอกเจตนาเดี๋ยวมันก็หายไปเอง ไม่มีปัญหาอารมณ์ใด ๆ ก็ตามที่เกิด และไม่ไปตอบสนองกับมันนี้มันจะหายไปเอง —————— พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น)ส่วนหนึ่งของการสนทนาธรรม liveณ Oh La La Glamping เขาใหญ่วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖…
#ปล่อยวางอารมณ์
จิตใจที่อ่อนแอเป็นจิตใจที่ไร้ที่พึ่ง ไม่มีที่พึ่งพระพุทธเจ้าก็เลยพยายามสอนให้เราได้เข้าใจว่าจิตสักแต่ว่าจิต อย่าไปหวงมัน อย่าไปปกป้องมันมันเป็นธรรมชาติรับอารมณ์ ปล่อยให้มันรับอารมณ์แต่เรารับผลจากการกระทบของมันไม่ได้นี่คือปัญหาใช่ไหมล่ะผลคือความวุ่นวายเราไม่สงบสุขเลยในจิตในใจ… … … ถ้าเราลองปล่อยวางให้อารมณ์มันเกิดขึ้นในจิตจนเสร็จสิ้นกระบวนความของมันในขณะที่เรารับรู้อารมณ์นั้น เราไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อพูดง่ายๆ คือ ไม่คิดต่อจากเรื่องราวนั้นที่มากระทบ๑. ไม่คิดต่อจากเรื่องราวที่มากระทบ ๒. ไม่เข้าไปห้ามอารมณ์ที่มากระทบ ๓. อย่าอยากดับอารมณ์ที่กระทบกับจิตอยู่ ๔. ถ้าเราทำได้ในสามข้อนี้ ถ้าอารมณ์ยังไม่ดับ ให้อดทนดูต่อไป อดทนดูอารมณ์ที่เข้ามาในจิตถ้ามีความอดทนได้มันจะเกิดผลข้อที่ ๕ ข้อที่ ๕ คืออะไรรู้ไหมอารมณ์จะดับลงไปด้วยตัวของมันเองเมื่ออารมณ์ดับไปด้วยตัวของมันเองปั๊บความวุ่นวายดับมันจะเป็นอะไรขึ้นมาแทนล่ะคราวนี้ความวุ่นวายหายไป ก็สงบขึ้นมาแทนแสดงว่าการหาความสงบ ไม่ได้หาอยู่ที่อื่นเลย… … … การที่เราหนีออกจากจุดหนึ่งไปอยู่อีกจุดหนึ่งอาจจะสงบได้ชั่วคราวแต่นั่นไม่ใช่การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้าคือไปแก้ปัญหาที่ตัวรับผัสสะกระทบนั่นมันกระทบใจดูที่ใจ ดูอารมณ์ที่ปรากฏกับใจว่ามันกระทบขึ้นมาแล้วปล่อยให้มันเกิดปล่อยให้มันตั้งอยู่แล้วปล่อยให้มันดับ … … … การไปคิดต่อจากการกระทบที่มันผ่านเข้ามากระทบใจเราหากไปคิดต่อปุ๊บมันก็เป็นการกระทำให้อารมณ์นั้นคลุกคลีอยู่กับใจเราสืบต่ออารมณ์ไปได้อยู่ตลอด… … … “การคิดต่อ” เป็นการหน่วงเหนี่ยวอารมณ์ไว้ถ้าเราคิดต่อนะ ก็บอกเลย๑ ห้ามคิดต่อ ๒ อย่าห้ามอารมณ์ ๓ อย่าอยากดับมัน เพราะถ้าเราเข้าไปดับอย่าลืมว่าอารมณ์เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตนเราจะเอาอะไรเข้าไปดับมันล่ะเราอยากจะดับขนาดไหนก็ดับไม่ได้หรอกเพราะไม่มีตัวตน มีแต่อาการมันกระทบแล้วปั๊บ ทำให้จิตใจเราขุ่นมัว หรือวุ่นวายหรือเศร้าหมอง หรือคิดมากไปต่างๆนานา ปัญหารุมเร้าคิดเรื่องนี้ไม่หยุดไม่หย่อนมันจะทำให้เราจมอยู่กับอารมณ์ … ……