ผู้ถาม : กราบถามพระอาจารย์ว่า ในฐานะของชาวพุทธ เราจะอธิบายเรื่องชาติหน้าและชาติก่อนตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างไร ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง?พระอาจารย์ : เรื่องนี้จะทราบได้ก็ด้วยอุปมาอุปไมย ขอย้อนถามว่า เราทราบได้อย่างไรว่า มะม่วงที่มีผลสุกเต็มที่ เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน จะเกิดอีกหรือไม่?ผู้ถาม : เราย่อมทราบได้ โดยสังเกตดูเมล็ดมะม่วงที่ยังสมบูรณ์ดีอยู่ นานวันเข้าย่อมหยั่งรากลงสู่พื้นดิน แตกหน่อ งอกใบใหม่ขึ้นมา การเกิดใหม่ของเมล็ดมะม่วงก็ย่อมมีขึ้นพระอาจารย์ : เราทราบการเกิดใหม่ของเมล็ดมะม่วงได้ ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบการเกิดใหม่ของมนุษย์ประดุจดั่งเมล็ดมะม่วง ฉันนั้พระองค์ทราบความจริงเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของมุษย์ จึงนำมาตรัสสอน พวกเราก็สามารถทราบเรื่องการเกิดใหม่ได้จากหลักคำสอนดังนี้มะม่วงที่มีผลสุก คือชาติก่อนมะม่วงที่ร่วงหล่นลงสู่พื้น คือกระบวนการการเกิดใหม่การเกิดใหม่ของมนุษย์ในชาติหน้า ก็เหมือนกับเมล็ดพันธุ์พืช คือเมล็ดพันธุ์ เปรียบเสมือน จิต (วิญญาณ)เนื้อในเมล็ดพันธุ์ เปรียบเสมือน ตัณหากรรม (ที่มนุษย์กระทำ) เปรียบเสมือน พื้นดินเมื่อเมล็ดพันธุ์ (แห่งจิต) ได้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน การบังเกิดขึ้นในภพชาติย่อมมีขึ้น … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
Author: Prawit Wachirayano
#หลักการของพระพุทธศาสนา
ปุจฉา : การเวียนว่ายตายเกิดในทางพุทธมีไหมครับเกิดมาใช้กรรม ที่ชีวิตไม่ดีเพราะกรรมเก่าส่งผล กรรมดีชักนำให้เจอสิ่งดีๆ สิ่งเหล่านี้พุทธศาสนาบอกว่าอย่างไรแน่ครับ *********** วิสัชชนา : หลักการของพุทธศาสนาคือ การดำเนินชีวิตเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่งการกระทำที่เกิดขึ้น ทำเหตุดี ผลก็ย่อมดี ทำเหตุไม่ดี ผลก็ย่อมไม่ดี เป็นอย่างนี้เสมอ ฉะนั้นชีวิตจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดลบันดาลของใคร แต่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยแห่งการกระทำของเราเอง หากชีวิตยังไม่สามารถค้นหาทางออกจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ ก็ยังจะต้องมีการเกิดอีกอยู่เรื่อยๆ พระพุทธเจ้าจึงสอนทางออกจากการเวียนว่ายตายเกิดด้วยการปฏิบัติตามในหลักอริยมรรค ๘ จนเข้าถึงผลเห็นพระนิพพาน ก็จะสามารถดับการเกิดได้ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon ดูน้อยลง
#อย่าคล้อยตามอารมณ์
สภาวะอารมณ์ไม่เป็นไปตามบังคับบัญชาของผู้ใด แต่เป็นไปตามเรื่องราวของอารมณ์เอง ผู้ที่ทำตามอารมณ์ ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง เพราะการทำตามอารมณ์เป็นการขาดสติยับยั้งนั่นเอง ลักษณะทำร้ายตัวเองดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเอามีดมากรีดเนื้อตัวเอง การทำตามอารมณ์ครั้งหนึ่ง ก็เหมือนกับเอามีดมากรีดตัวเองหนึ่งครั้ง นั่นแหละคือความทุกข์ พระพุทธองค์จึงทรงบอกว่า อย่าคล้อยตามอารมณ์ การที่จะไม่คล้อยตามอารมณ์ได้ จะต้องเกิดจากการฝึก การฝึกจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
#สังขาร
‘กุศล’ กับ ‘อกุศล’ จัดเป็น ‘สังขาร’ สังขารนี้เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณปฏิสนธิ คือ การสืบต่อแห่งจิต วิญญาณปฏิสนธิ จะทำการสืบต่อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ที่จิตได้รับรู้รับทราบ แต่ทุกอย่างในโลกนี้ก็หนีไม่พ้นจากขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (รูป นาม) เพื่อให้ขันธ์ ๕ ประกอบจิตให้ดำรงตนอยู่ได้ การสืบต่อนั้นจะสืบต่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ) จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ให้ …
#อนาคตไม่ได้เกิดขึ้นเองแต่เกิดจากการกระทำในขณะนี้
อนาคตเกิดจากเหตุแห่งการกระทำในปัจจุบัน เราทำสิ่งใดก็ตามในปัจจุบันก็จะส่งผลไปยังอนาคต หมายถึงอนาคตเป็นไปตามเหตุแห่งการกระทำในปัจจุบันนี้ อนาคตไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการกระทำในขณะนี้ที่จะส่งผลต่ออนาคต เหตุจากอดีตส่งผลในปัจจุบัน เหตุจากปัจจุบันส่งผลต่ออนาคต นั่นหมายถึงว่า อดีตจะมีมาอย่างไรก็ตาม หากเราทำปัจจุบันนี้อย่างถูกต้องตามเหตุปัจจัย เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคต เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราที่จะเป็นไปข้างหน้าได้ แต่ถ้าเราไม่ได้ทำเหตุปัจจัยแห่งการกระทำในปัจจุบันเอาไว้ อดีตจะส่งผลมาอย่างไรก็ตาม วิบากที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็จะเป็นปัจจัยที่จะส่งต่อวิบากเก่าวิบากเดิมไปสู่อนาคตให้เป็นแบบเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร หากเรามีการเปลี่ยนแปลงการกระทำในปัจจุบันนี้ อนาคตก็จะเปลี่ยนทันที จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#การสอนจิตในขณะที่รู้ตัวว่ากำลังคิดเรื่องราวต่างๆ
เวลาที่มีความคิด ให้บอกจิตรู้แค่ว่า …นี้คือความคิดนี้คือความคิดของจิตนี้คือสิ่งที่จิตคิด รู้เพียงเท่านี้ก็พอ จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ถือเป็นความคิดเช่นเดียวกัน คือ เป็นการปรุงแต่งทางความคิด การที่จะแยกว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือสิ่งนี้เป็นอกุศล จะแยกก็ต่อเมื่อความคิดที่เกิดขึ้นกับจิตนั้นปรุงแต่งจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ เราจึงจะตั้งความคิดแยกแยะว่า ความคิดนี้เป็นกุศลหรืออกุศล แต่หากเป็นความคิดธรรมดา ๆ ก็ให้เพียงแค่รู้ว่า นี้คือความคิดของจิต นี้คือสิ่งที่จิตคิด หรือความคิดกำลังเกิดขึ้นกับจิต จิตกำลังคิดต่อเรื่องนี้… จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#มุทิตาธรรม
“มุทิตา” คือการยินดีในสิ่งที่ผู้อื่นปฏิบัติเพื่อเป็นไปในมรรคในผล ตั้งจิตยินดี ไม่แข่งดี ไม่คิดว่าเขาเกินหน้าเกินตา มีแต่ตั้งจิตยินดีว่า “ดีแล้วที่เขาได้เข้าถึงธรรม” … การมีมุทิตาถือเป็นการกำจัด “ความริษยา” โมทนาหรือมุทิตาเป็นไปเพื่อกำจัดความริษยาที่เห็นคนอื่นได้ดีเกินหน้าเกินตาไม่ได้ “ริษยา” เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดอยู่แล้ว ไม่กำจัดไม่ได้ แล้วธรรมข้อไหนจะกำจัดริษยาได้ คำตอบก็คือ “มุทิตาธรรม” นี่แหละ มุทิตา คือ พลอยยินดี พลอยอนุโมทนาบุญ ให้มุทิตากันมาก ๆ จะได้ป้องกันจิตที่คิดเพ่งโทษ คิดไม่ดี คิดมุ่งร้าย ให้ตั้งจิตมุทิตาอยู่เสมอ เห็นใครทำดีก็อนุโมทนายินดีกับเขา … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
#ไม่ควรกล่าวโทษสิ่งใดง่ายๆ
หากมีเรื่องที่เลวร้ายเกิดขึ้นในสังคม เราไม่ควรที่จะกล่าวโทษสิ่งนั้น หากอยากจะกล่าวโทษ ก็ให้กล่าวโทษวัฏสงสาร ที่เราหาข้อยุติกับมันไม่ได้ นี่จึงจะเป็นการรักษาสัมมาทิฏฐิเอาไว้ได้ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ #พระอาจารย์ต้น #AjhanTon ๗ ตุลาคม ๒๕๖๕
#ปัญหาของชีวิต
สิ่งที่เป็นปัญหาของชีวิตไม่ใช่สิ่งภายนอก แต่คือความไม่รู้กาย ไม่รู้ใจของเรานั่นเอง … Our life problems aren’t rooted from external factors but rather from our own ignorance of the body and the mind. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon‘