โยม : หลวงเปพ่อคะ เวลามีคนถือขันมาขอรับบริจาคเงินทำบุญ ซึ่งเรารู้ว่านั่นเป็นการหลอกลวงดังปรากฏเป็นข่าวอยู่เนืองๆ เราสมควรที่จะให้ทานกับบุคคลเหล่านี้หรือไม่คะ หลวงพ่อเป : การ”ให้ทาน” ต้องไม่เลือกสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และอย่าห้ามการให้ทานของผู้อื่น ในกรณีที่โยมถามมานี้ จิตของเราได้เพ่งโทษผู้อื่นไปแล้ว คือเพ่งโทษว่าเขาเป็นคนหลอกลวง ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่… เมื่อมีการเพ่งโทษ ถือว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล ซึ่งก่อให้เกิดภพชาติขึ้นมาทันที ดังนั้น ถ้าหากมั่นใจว่าไม่ได้เพ่งโทษ มีจิตที่เป็นกลาง จะให้ทานแก่เขาหรือไม่ให้ก็ได้ หากจิตของเรายังไม่เป็นกลางพอ สมควรที่จะให้ทานแก่ผู้ที่มาขอ มีน้อยก็ให้น้อย ให้ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น การให้ทาน ไม่ต้องปรุงแต่งสังขารว่าบุคคลผู้รับทานจะหลอกลวงหรือไม่ ให้คิดเสมอว่าเมื่อให้ทานแล้วบุญที่กิดขึ้นก็เป็นของเรา ส่วนผู้รับทานนั้นหากเขาหลอกลวงจริง เขาก็จะเป็นผู้รับวิบากกรรมจากการหลอกลวงนั้นเอง หนีไม่พ้นหรอก ในเรื่องการให้ทานนั้น ให้ทุกคนตั้งเมตตาจิตไว้ในใจ คือมีความเมตตาต่อคน ต่อสัตว์ ต่อทุกๆ สิ่ง เพื่อจิตจะสัมผัสแต่เรื่องที่เป็นกุศล และจะไม่เพ่งโทษต่อสิ่งใดๆ เมื่อมีเมตตาจิตแล้ว หากมีคนมาขอรับทานหรือขอความช่วยเหลือ เราควรจะทำทานหรือให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถที่จะให้ได้ ในกรณีที่ต้องการทำบุญเองโดยไม่มีใครมาขอ เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำบุญกับใคร ทำบุญที่ไหน ทำบุญมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของเราเอง การ”ให้ทาน”เช่นนี้ถือว่าเป็นการให้ทานอย่างผู้มีปัญญา….
Author: Prawit Wachirayano
พระรัตนตรัย
“ตอบทุกคำถาม กับ ครูเงาะ”
รวมพระธรรมเทศนาพระอาจารย์พนมพร
รวมพระธรรมเทศนา พระอาจารย์โถย
#สมาธิ
การนั่งเพ่งจิตให้อยู่กับคำบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้จิตจดจ่อเพ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นี่คือการฝึกสมาธิที่เราถูกสอนมา ผู้บรรลุถึงสมาธิจะพบกับความสงบล้ำลึกอยู่ภายใน เขาต่างก็พูดถึงประสบการณ์ภายในจิตอย่างลี้ลับ น่าตื่นเต้นอัศจรรย์ใจ และดูเหมือนว่าสิ่งที่เขาพูดถึงนั้น เป็นสิ่งอยู่เหนือความสามารถของคนทั่วไป ยากที่จะเข้าไปสัมผัสถึง จนกลายเป็นผู้วิเศษไป การทำสมาธิเป็นการฝึกเช่นนั้นจริงหรือ? สมาธิที่พระพุทธเจ้ากล่าวสอนนั้น เป็นสมาธิที่ก่อให้เกิดปัญญา ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกสภาพการณ์ เพียงแค่ให้เราพยายามสนใจจิตในขณะที่กระทบกับอารมณ์แล้วทักอารมณ์นั้นตรงๆ เมื่อประสบกับสิ่งที่น่าขัดเคืองใจแล้วเกิดความโกรธขึ้น ก็ให้ทักว่า “นี่คือความโกรธ เรากำลังโกรธอยู่ จิตกำลังถูกความโกรธปรุงแต่ง ความโกรธกำลังปรุงแต่งจิต จิตเรามีความโกรธ ความโกรธมีอยู่ในจิตเรา” … นี่คือความโมโหเรากำลังโมโหอยู่ นี่ความหงุดหงิดเรากำลังหงุดหงิดอยู่… เรากำลังฟุ้งซ่านอยู่ เรากำลังเศร้าโศกเสียใจอยู่ เรากำลังคับแค้นใจอยู่ เรากำลังทุกข์อยู่… การทักอารมณ์เช่นนี้ จะช่วยให้เรามีสมาธิที่รู้เท่าทันต่ออารมณ์ในขณะปัจจุบัน และจะส่งผลให้เกิดปัญญารู้เห็นความเกิด-ดับของอารมณ์ได้ การรู้เห็นความเกิด-ดับจะเป็นความรู้เป็นไปเพื่อการละกิเลสและเข้าถึงความดับทุกข์ได้ สมาธิที่เกิดจากการเพ่ง จดจ่อ บังคับ เป็นสมาธิที่ไม่รู้ในอารมณ์ที่มากระทบ ทำให้ความรู้ถูกจำกัดอยู่วงแคบ ปัญญาจะเหือดแห้งไปโดยทันที และจะทำให้สัมพันธภาพกับโลกภายนอกขาดไป … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ#AjahnTon ดูน้อยลง
Discover the Best Roulette Hack App for Online Casino Success
Jeetbuzz 123 Login – Access Your Account Now
Go to the casino Content: Navigating the Jeetbuzz 123 Login Process Exploring the World of Jeetbuzz 123 Enjoying Responsible Gaming on Jeetbuzz 123 Jeetbuzz 123 Customer Support: Your Safety Net Ready to dive into a world of thrilling games and incredible rewards? Jeetbuzz 123 লগইন করুন is your gateway to an exceptional online gaming experience….
বাবু88বিডিতে অনলাইন ক্যাসিনো গেম বিশ্ব-
Go to the casino বিষয়বস্তু: বাবু88বিডি: বাংলাদেশীদের জন্য সেরা অনলাইন ক্যাসিনো বাবু88বিডি কী? বাবু88বিডিতে গেমের বিস্তৃত পছন্দ বাবু88বিডিতে নিরাপদ ও সুরক্ষিত জুয়ার খেলুন বাবু88বিডিতে দুর্দান্ত বোনাস এবং প্রচার বাবু88বিডিতে সেরা কাস্টমার সাপোর্ট বাবু88বিডিতে আজই জয় করুন! যদি আপনি বাংলাদেশের অন্যতম সেরা অনলাইন বেটিং ও ক্যাসিনো সাইট খুঁজছেন, তাহলে আপনার আর খোঁজার দরকার নেই। বাবু88 হল…
พระธรรมเทศนา โดย คุณวโร ภิกฺขุ
พระธรรมเทศนา โดย ภูริปญฺโญ ภิกฺขุ
พระธรรมเทศนา โดย ชาครธมฺโม ภิกฺขุ
สถานศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา
“www.dhammanava.net” สร้างขึ้นเพื่อเผยแผ่ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่อธิบายโดยพระอาจารย์ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ ซึ่งเป็นการอธิบายธรรมะในอีกแง่มุมหนึ่งที่ชาวพุทธควรศึกษา ศาสนาพุทธมุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงมี ความเห็นผิด ความไม่รู้จริง เป็นต้น รวมทั้งเน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับผลที่จะได้รับอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิต ให้มีความสุขในทั้งโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนถึงแจ้งในพระนิพพาน ของผู้มีปัญญา ฯลฯ.
“สร้างปัญญาเพื่อดับกรรม”
คนที่ “คิดว่า” ตนเองได้เปรียบคนอื่น นั่นเป็นเพียงการ “คิดว่า” เท่านั้น หรือคนที่คิดว่าตนเองเสียเปรียบคนอื่น นั่นก็เป็นเพียงการ “คิดว่า” เช่นกัน แท้ที่จริง ไม่มีใครได้เปรียบและไม่มีใครเสียเปรียบใครเพราะโลกนี้เป็นโลกแห่ง “กฎของกรรม” นั่นคือใครทำสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น ไม่มีใครเอาเปรียบใครได้ใครทำกรรมใดไว้ก็จะเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น “กรรม” คือเหตุจากปางก่อนที่อำนวยผลในปัจจุบัน แต่ขณะปัจจุบันหากเรามี “ปัญญา” ก็จะทำให้เราอยู่เหนือกรรมได้ ปัญญาที่กล่าวถึงก็คือ “ปัญญาในอริยมรรค” ซึ่งก็คือการเห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์เห็นความดับทุกข์เห็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ “ปัญญาในอริยมรรค”จะทำให้เราอยู่ “เหนือกรรม” เมื่อเราทำกิจทางด้านปัญญา(กำหนดรู้อริยสัจ ๔)อยู่อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้จิตของเราอยู่เหนือกรรม กรรมจะไม่มีพลังดึงจิตเราไปสู่การชดใช้ หรือแม้จะมีเศษของวิบากเข้ามาให้ผล กรรมพอประมาณนั้นย่อมดับไปได้ด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ แต่หากเป็นกรรมหนักก็จะเหลือส่งผลแก่เราเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อต้องเผชิญกับกรรมเราจึงต้องใช้ “ปัญญา” คือ “ปัญญาในอริยมรรค” นั่นเอง … ____________จารุวณฺโณ ภิกฺขุAjahnTon
#ปัญญาแห่งอริยมรรค
สุขและทุกข์เป็นอารมณ์ของโลก ผู้ที่มีปัญญา ฝึกหัด ปฏิบัติให้เข้าถึง “ทางแห่งอริยมรรค” คือ ทางตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่ยึดจับเอาอารมณ์ของโลก คือ สุขและทุกข์ มาเป็นเหยื่อล่อให้ตัวเองถูกผูกติดอยู่กับความสุขบางอย่าง หรือปฏิเสธกับความทุกข์บางอย่าง ที่เคยทำอยู่อย่างนี้มาตลอดชีวิต ติดอยู่กับบุญ ติดอยู่กับบาป ติดอยู่กับดี ติดอยู่กับชั่ว ติดอยู่กับถูก ติดอยู่กับผิด นี่คืออารมณ์ของโลกทั้งหมด สติปัญญาที่พระพุทธเจ้าสอน คือ สิ่งที่อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือถูก เหนือผิด เหนือบุญ เหนือบาปสติปัญญานั้น คือ สติปัญญาของ “อริยมรรค” เป็นสติปัญญาที่จะต้องตั้งไว้ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง สติปัญญาที่ตั้งไว้ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้แหละ จะทำให้ไม่ตกไปข้างถูก ไม่ตกไปอยู่ในข้างผิด ไม่ตกไปในข้างดี ไม่ตกไปในข้างชั่ว ไม่ตกไปในข้างบุญ ไม่ตกไปในข้างบาป แต่เป็นธรรมกลาง ๆ ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” มัชฌิมาปฏิปทา เป็นธรรมกลาง ๆ ที่ไม่ข้องแวะกับอารมณ์ของโลก จึงทำให้รู้เห็นโลกตามความเป็นจริง โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของโลกไม่เอาอารมณ์ของความสุขมาเป็นที่ตั้งในการดิ้นรน ไขว่คว้า แสวงหา ยึดจับเอาความสุขนั้นมาเสวย หรือเอามาเพื่อให้ตนเองได้รับผล หรือพูดง่าย…