Category: News
“ตอบทุกคำถาม กับ ครูเงาะ”
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สถานศึกษาธรรมป่านาโสกฮัง บ้านหนองดินดำ ต.หนองสามสี อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
#สมาธิ
การนั่งเพ่งจิตให้อยู่กับคำบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้จิตจดจ่อเพ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นี่คือการฝึกสมาธิที่เราถูกสอนมา ผู้บรรลุถึงสมาธิจะพบกับความสงบล้ำลึกอยู่ภายใน เขาต่างก็พูดถึงประสบการณ์ภายในจิตอย่างลี้ลับ น่าตื่นเต้นอัศจรรย์ใจ และดูเหมือนว่าสิ่งที่เขาพูดถึงนั้น เป็นสิ่งอยู่เหนือความสามารถของคนทั่วไป ยากที่จะเข้าไปสัมผัสถึง จนกลายเป็นผู้วิเศษไป การทำสมาธิเป็นการฝึกเช่นนั้นจริงหรือ? สมาธิที่พระพุทธเจ้ากล่าวสอนนั้น เป็นสมาธิที่ก่อให้เกิดปัญญา ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกสภาพการณ์ เพียงแค่ให้เราพยายามสนใจจิตในขณะที่กระทบกับอารมณ์แล้วทักอารมณ์นั้นตรงๆ เมื่อประสบกับสิ่งที่น่าขัดเคืองใจแล้วเกิดความโกรธขึ้น ก็ให้ทักว่า “นี่คือความโกรธ เรากำลังโกรธอยู่ จิตกำลังถูกความโกรธปรุงแต่ง ความโกรธกำลังปรุงแต่งจิต จิตเรามีความโกรธ ความโกรธมีอยู่ในจิตเรา” … นี่คือความโมโหเรากำลังโมโหอยู่ นี่ความหงุดหงิดเรากำลังหงุดหงิดอยู่… เรากำลังฟุ้งซ่านอยู่ เรากำลังเศร้าโศกเสียใจอยู่ เรากำลังคับแค้นใจอยู่ เรากำลังทุกข์อยู่… การทักอารมณ์เช่นนี้ จะช่วยให้เรามีสมาธิที่รู้เท่าทันต่ออารมณ์ในขณะปัจจุบัน และจะส่งผลให้เกิดปัญญารู้เห็นความเกิด-ดับของอารมณ์ได้ การรู้เห็นความเกิด-ดับจะเป็นความรู้เป็นไปเพื่อการละกิเลสและเข้าถึงความดับทุกข์ได้ สมาธิที่เกิดจากการเพ่ง จดจ่อ บังคับ เป็นสมาธิที่ไม่รู้ในอารมณ์ที่มากระทบ ทำให้ความรู้ถูกจำกัดอยู่วงแคบ ปัญญาจะเหือดแห้งไปโดยทันที และจะทำให้สัมพันธภาพกับโลกภายนอกขาดไป … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ#AjahnTon ดูน้อยลง
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
สถานศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา
“www.dhammanava.net” สร้างขึ้นเพื่อเผยแผ่ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่อธิบายโดยพระอาจารย์ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ ซึ่งเป็นการอธิบายธรรมะในอีกแง่มุมหนึ่งที่ชาวพุทธควรศึกษา ศาสนาพุทธมุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงมี ความเห็นผิด ความไม่รู้จริง เป็นต้น รวมทั้งเน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับผลที่จะได้รับอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิต ให้มีความสุขในทั้งโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนถึงแจ้งในพระนิพพาน ของผู้มีปัญญา ฯลฯ.
“สร้างปัญญาเพื่อดับกรรม”
คนที่ “คิดว่า” ตนเองได้เปรียบคนอื่น นั่นเป็นเพียงการ “คิดว่า” เท่านั้น หรือคนที่คิดว่าตนเองเสียเปรียบคนอื่น นั่นก็เป็นเพียงการ “คิดว่า” เช่นกัน แท้ที่จริง ไม่มีใครได้เปรียบและไม่มีใครเสียเปรียบใครเพราะโลกนี้เป็นโลกแห่ง “กฎของกรรม” นั่นคือใครทำสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น ไม่มีใครเอาเปรียบใครได้ใครทำกรรมใดไว้ก็จะเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น “กรรม” คือเหตุจากปางก่อนที่อำนวยผลในปัจจุบัน แต่ขณะปัจจุบันหากเรามี “ปัญญา” ก็จะทำให้เราอยู่เหนือกรรมได้ ปัญญาที่กล่าวถึงก็คือ “ปัญญาในอริยมรรค” ซึ่งก็คือการเห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์เห็นความดับทุกข์เห็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ “ปัญญาในอริยมรรค”จะทำให้เราอยู่ “เหนือกรรม” เมื่อเราทำกิจทางด้านปัญญา(กำหนดรู้อริยสัจ ๔)อยู่อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้จิตของเราอยู่เหนือกรรม กรรมจะไม่มีพลังดึงจิตเราไปสู่การชดใช้ หรือแม้จะมีเศษของวิบากเข้ามาให้ผล กรรมพอประมาณนั้นย่อมดับไปได้ด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ แต่หากเป็นกรรมหนักก็จะเหลือส่งผลแก่เราเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อต้องเผชิญกับกรรมเราจึงต้องใช้ “ปัญญา” คือ “ปัญญาในอริยมรรค” นั่นเอง … ____________จารุวณฺโณ ภิกฺขุAjahnTon
#ปัญญาแห่งอริยมรรค
สุขและทุกข์เป็นอารมณ์ของโลก ผู้ที่มีปัญญา ฝึกหัด ปฏิบัติให้เข้าถึง “ทางแห่งอริยมรรค” คือ ทางตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่ยึดจับเอาอารมณ์ของโลก คือ สุขและทุกข์ มาเป็นเหยื่อล่อให้ตัวเองถูกผูกติดอยู่กับความสุขบางอย่าง หรือปฏิเสธกับความทุกข์บางอย่าง ที่เคยทำอยู่อย่างนี้มาตลอดชีวิต ติดอยู่กับบุญ ติดอยู่กับบาป ติดอยู่กับดี ติดอยู่กับชั่ว ติดอยู่กับถูก ติดอยู่กับผิด นี่คืออารมณ์ของโลกทั้งหมด สติปัญญาที่พระพุทธเจ้าสอน คือ สิ่งที่อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือถูก เหนือผิด เหนือบุญ เหนือบาปสติปัญญานั้น คือ สติปัญญาของ “อริยมรรค” เป็นสติปัญญาที่จะต้องตั้งไว้ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง สติปัญญาที่ตั้งไว้ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้แหละ จะทำให้ไม่ตกไปข้างถูก ไม่ตกไปอยู่ในข้างผิด ไม่ตกไปในข้างดี ไม่ตกไปในข้างชั่ว ไม่ตกไปในข้างบุญ ไม่ตกไปในข้างบาป แต่เป็นธรรมกลาง ๆ ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” มัชฌิมาปฏิปทา เป็นธรรมกลาง ๆ ที่ไม่ข้องแวะกับอารมณ์ของโลก จึงทำให้รู้เห็นโลกตามความเป็นจริง โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของโลกไม่เอาอารมณ์ของความสุขมาเป็นที่ตั้งในการดิ้นรน ไขว่คว้า แสวงหา ยึดจับเอาความสุขนั้นมาเสวย หรือเอามาเพื่อให้ตนเองได้รับผล หรือพูดง่าย…
#กำหนดรู้ความอยาก
ระหว่างที่ “ความอยาก” เกิดขึ้น จิตของเราจะเกิดความร้อนรนที่จะเข้าไปกระทำตามความอยาก เมื่อความอยากดับไปแล้ว ความร้อนรน และความดิ้นรนที่จะกระทำก็ไม่มี ทั้งสองสภาพจิตนี้ หากเราไม่มีสติในการกำหนดรู้ในขณะที่(ความอยาก)เกิดนั้น เราจะตกเป็นทาสของความอยากไปตลอดกาล …. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ [พระอาจารย์ต้น]#AjahnTon๓ มิถุนายน ๒๕๖๒
#ความรู้ความเพียรความอดทนเป็นสิ่งกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละคน
ในเรื่องความพยายามนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มนุษย์คนใดก็ตาม มีความอุตสาหะ มีความพยายาม มีความบากบั่น ไม่ทอดธุระในการงานที่ตนเองทำอยู่เสมอ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ก็ไม่สามารถกีดกันความบากบั่น ความอุตสาหะ ความพยายาม และการเข้าถึงผลของคนๆ นั้นได้ หมายถึงว่า ชะตาชีวิตของคนเรา ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของใคร แต่อยู่ภายใต้การกระทำของเราเอง ฉะนั้น การกระทำของเราเองนี่แหละที่ควบคุมชะตาชีวิตของเรา แต่หากการกระทำของเรา เป็นการกระทำที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความรู้ หรืออาจจะมีความรู้ แต่ไม่มีความอดทน ไม่มีความอุตสาหะ ไม่มีความเพียรพยายาม ก็จะไม่สามารถบรรลุถึงประโยชน์อันสำเร็จ หรือบรรลุในสิ่งที่เราปรารถนาได้ … *************** บางส่วนบางตอนของการแสดงธรรมเรื่อง ‘เพียรอย่างไรจึงจะฉลาด’ โดย พระอาจารย์ ทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ (พระอาจารย์ต้น)๑๘ มกราคม ๒๕๖๕