จิตของเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมายาวนาน สะสมสิ่งดี และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดีในจิต จะคอยกระตุ้นเตือนให้เราฝักไฝ่อยู่ในความดี หรือความชั่ว ด้วยการปฏิบัติต่อไปจากเส้นทางเดิมที่เคยทำไว้ให้ถึงที่สุด จิตเป็นที่สะสมของอาสวกิเลส ถ้าหากไม่ฝึกจิต เราก็จะตกเป็นทาสของกิเลสไปตลอดกาล แต่เมื่อฝึกฝน เราก็จะสามารถชำระสะสางกิเลสที่เกาะกุมอยู่ในจิตให้หลุดร่วงออกไปได้ การฝึกจิตจึงได้ชื่อว่า เป็นการทำลายมูลเหตุแห่งความทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นกับจิตของเราได้ หากไม่ฝึกก็เท่ากับเป็นการปล่อยให้จิตถูกเหยียบย่ำ ถูกทำลายด้วยอำนาจของกิเลส และสร้างทุกข์ให้กับจิตใจของเราเองเปล่า ๆ ซึ่งจะทำให้เราดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ด้วยความลำบากเปล่า เมื่อฝึกฝนก็จะแก้ไขและชำระกิเลสที่สะสมอยู่ในจิตได้ ความเบาใจ ความอบอุ่นใจ ความสงบร่มเย็นในจิตในใจก็จะเป็นผลเกิดขึ้นตามมาให้กับผู้ฝึกผู้ปฏิบัติได้รับรู้รับทราบ … การฝึกจิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะศาสนายังมีอยู่ในเวลานี้เมื่อศาสนายังมีอยู่ จึงไม่ควรปล่อยโอกาสของความมีอยู่ของศาสนาให้ผ่านพ้นไปเฉย ๆ แม้จะมีความทุกข์ ความยากลำบากเพียงใดก็ตาม ก็ต้องยอมปฏิบัติ ยอมฟัง ยอมแก้ไขจิตใจ ยอมพัฒนาจิตใจโดยอาศัยหลักคำสอนเข้าไปสู่การปฏิบัติ ก็จะทำให้เราเข้าถึงการพ้นทุกข์ได้ คุณธรรมในศาสนานี้ยังสามารถเข้าถึงได้เสมอ ความเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และอรหันต์อย่างทรงคุณค่า มีอยู่ในศาสนานี้ และเป็นผลรองรับผู้ปฏิบัติทุกกาล ทุกยุค ทุกสมัย การไม่ประมาทในกุศล และทำการไม่ประมาทในข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ การเพ่งพินิจพิจารณาธรรมที่พระองค์ทรงสอนให้ พิจารณารูปธรรมกับนามธรรม พิจารณาให้รู้แจ่มแจ้งขึ้นมาภายในจิตว่า รูปธรรมคืออะไร นามธรรมคืออะไร เมื่อรู้แจ่มแจ้ง จนเข้าใจในชั้นของปัญญาอีกชั้นหนึ่งเรียกว่าวิปัสสนา…
Category: News
# ดับเหตุแห่งทุกข์
ความโลภ ไม่ได้เกิดจากวัตถุ หรือสิ่งของแต่เกิดจากความคิดของเราเองที่เห็นว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนั้นดี สิ่งนั้นมีประโยชน์ จึงเกิดความอยากได้นี่แหละคือ ความโลภ…. ความโกรธ ไม่ได้เกิดจากการกระทำ หรือคำพูดของใครแต่เกิดจากความคิดของเราเอง ที่เห็นว่าเขาทำไม่ถูก จึงเกิดความไม่พอใจนี่แหละคือ ความโกรธ…. ความหลง ไม่ได้เกิดจากวัตถุ บุคคล หรือสถานที่แต่เกิดจากความคิดของเราเอง ที่ปรุงแต่งหลอกตนเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความยินดียินร้ายนี่แหละคือ ความหลง…. เมื่อความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดจากความคิดของเราเองแล้ว ถามว่า เราจะไปดับความโลภ โกรธ หลง ที่ไหน ?…. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon ดูน้อยลง
#ชาติหน้ามีจริงหรือไม่?
ผู้ถาม : กราบถามพระอาจารย์ว่า ในฐานะของชาวพุทธ เราจะอธิบายเรื่องชาติหน้าและชาติก่อนตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างไร ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง?พระอาจารย์ : เรื่องนี้จะทราบได้ก็ด้วยอุปมาอุปไมย ขอย้อนถามว่า เราทราบได้อย่างไรว่า มะม่วงที่มีผลสุกเต็มที่ เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน จะเกิดอีกหรือไม่?ผู้ถาม : เราย่อมทราบได้ โดยสังเกตดูเมล็ดมะม่วงที่ยังสมบูรณ์ดีอยู่ นานวันเข้าย่อมหยั่งรากลงสู่พื้นดิน แตกหน่อ งอกใบใหม่ขึ้นมา การเกิดใหม่ของเมล็ดมะม่วงก็ย่อมมีขึ้นพระอาจารย์ : เราทราบการเกิดใหม่ของเมล็ดมะม่วงได้ ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบการเกิดใหม่ของมนุษย์ประดุจดั่งเมล็ดมะม่วง ฉันนั้พระองค์ทราบความจริงเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของมุษย์ จึงนำมาตรัสสอน พวกเราก็สามารถทราบเรื่องการเกิดใหม่ได้จากหลักคำสอนดังนี้มะม่วงที่มีผลสุก คือชาติก่อนมะม่วงที่ร่วงหล่นลงสู่พื้น คือกระบวนการการเกิดใหม่การเกิดใหม่ของมนุษย์ในชาติหน้า ก็เหมือนกับเมล็ดพันธุ์พืช คือเมล็ดพันธุ์ เปรียบเสมือน จิต (วิญญาณ)เนื้อในเมล็ดพันธุ์ เปรียบเสมือน ตัณหากรรม (ที่มนุษย์กระทำ) เปรียบเสมือน พื้นดินเมื่อเมล็ดพันธุ์ (แห่งจิต) ได้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน การบังเกิดขึ้นในภพชาติย่อมมีขึ้น … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#หลักการของพระพุทธศาสนา
ปุจฉา : การเวียนว่ายตายเกิดในทางพุทธมีไหมครับเกิดมาใช้กรรม ที่ชีวิตไม่ดีเพราะกรรมเก่าส่งผล กรรมดีชักนำให้เจอสิ่งดีๆ สิ่งเหล่านี้พุทธศาสนาบอกว่าอย่างไรแน่ครับ *********** วิสัชชนา : หลักการของพุทธศาสนาคือ การดำเนินชีวิตเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่งการกระทำที่เกิดขึ้น ทำเหตุดี ผลก็ย่อมดี ทำเหตุไม่ดี ผลก็ย่อมไม่ดี เป็นอย่างนี้เสมอ ฉะนั้นชีวิตจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดลบันดาลของใคร แต่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยแห่งการกระทำของเราเอง หากชีวิตยังไม่สามารถค้นหาทางออกจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ ก็ยังจะต้องมีการเกิดอีกอยู่เรื่อยๆ พระพุทธเจ้าจึงสอนทางออกจากการเวียนว่ายตายเกิดด้วยการปฏิบัติตามในหลักอริยมรรค ๘ จนเข้าถึงผลเห็นพระนิพพาน ก็จะสามารถดับการเกิดได้ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon ดูน้อยลง
#อย่าคล้อยตามอารมณ์
สภาวะอารมณ์ไม่เป็นไปตามบังคับบัญชาของผู้ใด แต่เป็นไปตามเรื่องราวของอารมณ์เอง ผู้ที่ทำตามอารมณ์ ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง เพราะการทำตามอารมณ์เป็นการขาดสติยับยั้งนั่นเอง ลักษณะทำร้ายตัวเองดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเอามีดมากรีดเนื้อตัวเอง การทำตามอารมณ์ครั้งหนึ่ง ก็เหมือนกับเอามีดมากรีดตัวเองหนึ่งครั้ง นั่นแหละคือความทุกข์ พระพุทธองค์จึงทรงบอกว่า อย่าคล้อยตามอารมณ์ การที่จะไม่คล้อยตามอารมณ์ได้ จะต้องเกิดจากการฝึก การฝึกจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
#สังขาร
‘กุศล’ กับ ‘อกุศล’ จัดเป็น ‘สังขาร’ สังขารนี้เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณปฏิสนธิ คือ การสืบต่อแห่งจิต วิญญาณปฏิสนธิ จะทำการสืบต่อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ที่จิตได้รับรู้รับทราบ แต่ทุกอย่างในโลกนี้ก็หนีไม่พ้นจากขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (รูป นาม) เพื่อให้ขันธ์ ๕ ประกอบจิตให้ดำรงตนอยู่ได้ การสืบต่อนั้นจะสืบต่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ) จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ให้ …
#อนาคตไม่ได้เกิดขึ้นเองแต่เกิดจากการกระทำในขณะนี้
อนาคตเกิดจากเหตุแห่งการกระทำในปัจจุบัน เราทำสิ่งใดก็ตามในปัจจุบันก็จะส่งผลไปยังอนาคต หมายถึงอนาคตเป็นไปตามเหตุแห่งการกระทำในปัจจุบันนี้ อนาคตไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการกระทำในขณะนี้ที่จะส่งผลต่ออนาคต เหตุจากอดีตส่งผลในปัจจุบัน เหตุจากปัจจุบันส่งผลต่ออนาคต นั่นหมายถึงว่า อดีตจะมีมาอย่างไรก็ตาม หากเราทำปัจจุบันนี้อย่างถูกต้องตามเหตุปัจจัย เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคต เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราที่จะเป็นไปข้างหน้าได้ แต่ถ้าเราไม่ได้ทำเหตุปัจจัยแห่งการกระทำในปัจจุบันเอาไว้ อดีตจะส่งผลมาอย่างไรก็ตาม วิบากที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็จะเป็นปัจจัยที่จะส่งต่อวิบากเก่าวิบากเดิมไปสู่อนาคตให้เป็นแบบเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร หากเรามีการเปลี่ยนแปลงการกระทำในปัจจุบันนี้ อนาคตก็จะเปลี่ยนทันที จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#การสอนจิตในขณะที่รู้ตัวว่ากำลังคิดเรื่องราวต่างๆ
เวลาที่มีความคิด ให้บอกจิตรู้แค่ว่า …นี้คือความคิดนี้คือความคิดของจิตนี้คือสิ่งที่จิตคิด รู้เพียงเท่านี้ก็พอ จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ถือเป็นความคิดเช่นเดียวกัน คือ เป็นการปรุงแต่งทางความคิด การที่จะแยกว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือสิ่งนี้เป็นอกุศล จะแยกก็ต่อเมื่อความคิดที่เกิดขึ้นกับจิตนั้นปรุงแต่งจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ เราจึงจะตั้งความคิดแยกแยะว่า ความคิดนี้เป็นกุศลหรืออกุศล แต่หากเป็นความคิดธรรมดา ๆ ก็ให้เพียงแค่รู้ว่า นี้คือความคิดของจิต นี้คือสิ่งที่จิตคิด หรือความคิดกำลังเกิดขึ้นกับจิต จิตกำลังคิดต่อเรื่องนี้… จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#มุทิตาธรรม
“มุทิตา” คือการยินดีในสิ่งที่ผู้อื่นปฏิบัติเพื่อเป็นไปในมรรคในผล ตั้งจิตยินดี ไม่แข่งดี ไม่คิดว่าเขาเกินหน้าเกินตา มีแต่ตั้งจิตยินดีว่า “ดีแล้วที่เขาได้เข้าถึงธรรม” … การมีมุทิตาถือเป็นการกำจัด “ความริษยา” โมทนาหรือมุทิตาเป็นไปเพื่อกำจัดความริษยาที่เห็นคนอื่นได้ดีเกินหน้าเกินตาไม่ได้ “ริษยา” เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดอยู่แล้ว ไม่กำจัดไม่ได้ แล้วธรรมข้อไหนจะกำจัดริษยาได้ คำตอบก็คือ “มุทิตาธรรม” นี่แหละ มุทิตา คือ พลอยยินดี พลอยอนุโมทนาบุญ ให้มุทิตากันมาก ๆ จะได้ป้องกันจิตที่คิดเพ่งโทษ คิดไม่ดี คิดมุ่งร้าย ให้ตั้งจิตมุทิตาอยู่เสมอ เห็นใครทำดีก็อนุโมทนายินดีกับเขา … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon