พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น), พระอาจารย์พนมพร คุณวโรและพระอาจารย์มหาชนก ชวนปญฺโญ ดำเนินรายการโดย พระอาจารย์มหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม (ดร.)
“๗๒ พรรษา ธรรมราชา มหาวชิราลงกรณ”
รายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “๗๒ พรรษา ธรรมราชา มหาวชิราลงกรณ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ ตอนที่ ๔www.royaloffice.th/2024/05/03/สารคดี-ธรรมราชา-ep4/
“อารมณ์โกรธเมื่อถูกจับลงขันธ์๕”
ขั้นตอนที่ 1 ปูพื้นฐานจิต…
..ระลึกถึงพระรัตนตรัยให้ถึงพร้อม ..ด้วยนอบน้อมโน้มใจใฝ่ศึกษา ..พุทโธ เม นาโถ ในวิญญา ..พระพุทธที่พึ่งพาสุดหัวใจ ..ธัมโม เม นาโถ ตั้งจิตม้น ..มีพระธรรมเป็นที่พึ่งอันผ่องใส ..สังโฆ เม นาโถ ทราบทรวงใน ..สงฆ์เหล่าใดสี่บุรุษที่พึ่งพา ..หมั่นระลึกให้ขี้นใจจนคล่องจิต ..เชื่อมต่อติดเป็นอันหนึ่งพึงรักษา ..เป็นพลังเสริมส่งสติปัญญา ..จะนำพาจิตตื่นรู้อยู่ปัจจุบันฯ… วชิรญาโณ ๒๘ มิ.ย.๖๖
เชิญชวนชาวไทย
เฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๖๗ รายงานโดย : ทีมงานประชาสัมพันธ์
คติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัท น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก 1,250 รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน 3 หลังสมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสรู้และประกาศพระศาสนาแล้ว 9 เดือน เมื่อพิจารณาจากประวัติการณ์แห่งวันจาตุรงคสันนิบาต ย่อมเห็นประจักษ์ว่า พระภิกษุผู้มาประชุมกันเป็นมหาสังฆสันนิบาตนั้น ต่างพรั่งพร้อมกันมา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ด้วยอานุภาพแห่ง “คารวธรรม” พุทธบริษัททั้งหลายผู้เป็นอนุชน จึงพึงเทิดทูนจริยาของพระอรหันต์ทั้งนั้น ขึ้นเป็นแบบอย่างทางประพฤติแห่งตน ๆ โดยสำนึกว่า ถึงแม้พระสาวกทุกรูป ได้บรรลุถึงคุณธรรมสูงสุด ดับกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิงแล้ว แต่ก็ยังคงเคารพนอบน้อมอย่างยิ่งต่อพระบรมศาสดา และพระธรรม เพราะฉะนั้น พุทธบริษัทผู้มุ่งหมายความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม จึงจำเป็นต้องมี “นิวาตธรรม” คือความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นพื้นอุปนิสัย ขอจงระลึกไว้ว่า คุณธรรมแห่งพระอรหันต์นั้น สูงส่งเหนือกว่าอิสริยยศทั้งปวงในโลก หากแต่พระอรหันต์กลับปราศจากความอวดดื้อถือดี ปราศจากความเนรคุณลบหลู่ดูหมิ่น เพราะทุกรูปต่างมีความคารวะนอบน้อมอย่างมั่นคง ต่อพระรัตนตรัย ต่อการศึกษา ต่อความไม่ประมาท และต่อการปฏิสันถาร ดังนี้ บรรดาผู้ยังมีธุลีในดวงตา มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองครอบงำใจอยู่ จึงพึงเพียรหมั่นเพิ่มพูนคารวธรรม ให้งอกงามขึ้นในตนอยู่เสมอ…
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา: วันแห่งการย้ำเตือน “การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์” วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย โอวาทปาติโมกข์ เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของพระพุทธศาสนา เป็นหลักการสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ เน้นย้ำถึง ๓ หลักการสำคัญ ดังนี้ ๑. การทำความดี ๒. การละเว้นความชั่ว ๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันมาฆบูชา เป็นโอกาสดีที่เราจะได้หวนกลับมาทบทวนตนเอง ย้ำเตือนให้เราประพฤติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า มาพร้อมใจกันน้อมนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไปประยุกต์ใช้ในชีวิต เพื่อความสุขสงบของตนเองและสังคม
วันพ่อแห่งชาติ
#การทักอารมณ์
ให้ทำความเข้าใจดังนี้ว่า การทักอารมณ์นั้น เราไม่ได้ทักเพื่ออยากให้อารมณ์ดับไป แต่ทักเพื่อให้มีสติรับรู้อารมณ์ที่เกิดกับจิตในแต่ละครั้ง หากเราทักอารมณ์เพื่ออยากให้อารมณ์ดับ จะกลายเป็นสมุทัยใหม่ทันที จึงทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ฉะนั้นให้สร้างความเข้าใจในการทักอารมณ์ไว้เสมอว่า เราไม่ได้ทักอารมณ์เพื่อให้อารมณ์ดับ แต่เราทักอารมณ์เพื่อรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง อารมณ์จะถูกควบคุมไว้ด้วยความรู้เอง จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
#ทำบุญถวายพระด้วยเงินสดบาปไหม?
ค่านิยมของไทยเราในเรื่องการทำบุญ มันมาถึงขั้นที่ยอมรับในความผิดอันส่วนเป็น “บาป” ว่าเป็นความถูกต้องจนยากที่จะแก้ไข คนโดยส่วนมากจึงถูกอิทธิพลเหล่านี้ครอบงำ จนกลายเป็นจารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ต้องทำแบบนี้ร่วมกัน ใครทำแตกต่างจากนี้ถือว่าผิดจากสิ่งที่ยึดถือกัน แต่อย่างนี้มันถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก !!! พระพุทธองค์ไม่ได้ห้ามพระภิกษุ ไม่ให้ใช้สอยปัจจัย 4 อันเกิดจากทรัพย์ “แต่ห้ามพระภิกษุรับเงินหรือทรัพย์นั้นโดยตรง” ด้วยตัวของพระภิกษุ หรือเก็บไว้จำเพาะภิกษุโดยตรง ไม่ได้ อันนี้เป็นโทษหรือเป็นความผิดโดยตรง ซึ่งพระภิกษุเองก็ต้องรู้พระวินัยในข้อนี้ดี ประเด็นก็คือว่า เมื่อถูกบังคับให้ทำ เราทำเกิดบาปไหม ??? อันนี้ “เกิดบาปแน่นอน” ในส่วนของบาป ในส่วนของความผิดของพระ สมมุติว่าพระมีความผิดในข้อนี้ 100 “เราจะได้เศษหนึ่งส่วนสี่” ของความผิดของพระนั้น ทีนี้ถ้าพ่อแม่บังคับ ??? การบังคับนั้น ตามหลักพระวินัยเนี่ย ถ้าเราไม่เต็มใจ ถูกบังคับด้วยการกระทำของผู้เป็นมารดาบิดา “โทษจะตกกับมารดาบิดา ทั้งหมด” ไม่ตกกับตัวเรา คือ เราไม่ได้ไปเป็นผู้มีโทษ ทีนี้การที่จะแก้ไขความเชื่อกับค่านิยมแบบนี้ มันต้องอาศัยการช่วยกัน ให้สร้างค่านิยมใหม่ สร้างความเข้าใจใหม่ สร้างหลักการที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น เช่น [ การจัดงานศพแล้วไม่ถวายเงินได้ไหม ]…