Dhammanava
Menu
  • Home
  • คอร์สอบรมตามแนวทาง ธรรมนาวา “วัง”
  • พระอาจารย์
    • พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
    • พระอาจารย์คุณวโร ภิกฺขุ
    • พระอาจารย์ชาครธมฺโม ภิกฺขุ
    • หลวงพ่อภูริปญฺโญ ภิกฺขุ
  • Books/หนังสือ
  • FILE VDO/สื่อวีดีโอ
  • ค้นหาธรรม
  • FAQ
  • TikTok
  • Facebook
  • YouTube
  • MP3
  • Line@
  • ติดต่อ/Contact
    • สถานที่ศึกษาธรรม
Menu

เส้นทางอริยมรรค EP๔

Posted on September 22, 2022September 22, 2022 by Prawit Wachirayano

การเข้าสู่อริยภูมิ (ต่อ) (๔. พระอรหันต์)

พระพุทธเจ้าทรงแสดงการละกิเลสไว้ในสังโยชน์ ๑๐ ประการที่จะทำให้บรรลุถึง “นิโรธ” (ความดับทุกข์)

สำหรับ พระอนาคามี ที่จะเข้าสู่ความเป็น พระอรหันต์ การกำหนดรู้อริยสัจนั้น ให้กำหนดรู้ในสังโยชน์ต่อไปนี้คือ

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้

ตามแบบแสดงไว้ ๘ อย่าง ดังนี้

๑. ไม่รู้อดีต ๒. ไม่รู้อนาคต ๓. ไม่รู้ปัจจุบัน

๔. ไม่รู้ทุกข์

๕. ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์

๖. ไม่รู้ความดับทุกข์

๗. ไม่รู้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

๘. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท (ธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น)

พระอนาคามีในระดับนี้ ยังไม่สามารถทำลายอวิชชาได้ จึงยังไม่พ้นจากวงจรการเกิด แต่ก็เป็นที่โชคดีที่การเกิดของท่านจะไม่หมุนกลับมาเกิดในมนุษย์และเทวดาอีก (กามธาตุ) เพราะการเกิดของท่านจะเกิดอยู่ในสุทธาวาสพรหม (วิภวตัณหา) ชั้นอกนิฏฐา (อะ-กะ-นิด-ถา) อันเป็นแดนใกล้ต่อพระนิพพาน

ถึงแม้จะมีจิตที่ใกล้ต่อการบรรลุพระนิพพานก็ตาม แต่ถ้ายังไม่บรรลุ ก็ยังจะทำให้จิตมีทุกข์ได้ ถึงแม้จะเป็นทุกข์น้อยนิด ก็ไม่เป็นที่น่าปรารถนาของพระอนาคามีในขั้นนี้ เพราะฉะนั้นจึงต้องทำลายอวิชชาให้ได้

ในความไม่รู้ ๘ อย่างนี้ ถามว่า ใครเป็นผู้ไม่รู้

ตอบว่า “เรา” เป็นผู้ไม่รู้

ไม่รู้ยังไง

ตอบว่า ไม่รู้ว่ามีตัวเราไหมในอดีต จะมีตัวเราไหมในอนาคต แล้วปัจจุบันนี้ตัวเรามีจริงไหม ไม่รู้ว่าทุกข์ติดอยู่กับตัวเรา เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความมีตัวเรา ความดับทุกข์ได้เพราะไม่มีตัวเรา การกำจัดทุกข์ได้ต้องกำจัดตัวเรา ไม่รู้ว่าอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่างปรุงแต่งกันขึ้นมา จึงมีตัวเรา

แล้ว “ตัวเรา” มีจริงไหม

ตัวเราไม่มีจริง การที่เห็นว่ามีตัวเรานั้นเป็นความเห็นผิดของเรา ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ชอบความไม่มีตัวตน เพราะเคยมีตัวตนมาจนนับไม่ถ้วนแล้ว เพราะความไม่ชอบการไม่มีตัวตนนี้แหละ มนุษย์จึงแสวงหาความเป็นตัวตน โดยการยึดจิต (ขันธ์ ๕ อันละเอียด) ไว้เป็นตัวตนของตัวเอง ทุกข์จึงมีขึ้นเพราะอาศัยความมีตัวตน

เมื่อไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเองว่า เราไม่มีตัว เราไม่มีตน อวิชชาจึงตั้งอยู่ได้ และพร้อมที่จะเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อให้เกิดสังขาร (กุศลสังขาร อกุศลสังขาร) เพื่อรักษาความเป็น ตัวตนไว้ อกนิฏฐพรหม (วิภวตัณหา) จึงเป็นที่อยู่ของพระอนาคามีในขั้นนี้

ถึงแม้จะมีที่อยู่อันวิเศษสุดยอดก็ตาม แต่ก็ยังไม่พ้นจากความเป็นสังขารอยู่ดี สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตัวตนอันแท้จริง สิ่งใดไม่ใช่ตัวตนอันแท้จริง จึงไม่ควรตามเห็นว่า “นั่นเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวเป็นตนของเรา”

ตัวตนของเราถูกสร้างมาจากสังขาร เมื่อสังขารไม่เที่ยง แล้วเราจะเที่ยงได้อย่างไร เมื่อสังขารเป็นทุกข์ แล้วเราจะสุขได้อย่างไร สังขารไม่ใช่ตัวตนอันแท้จริง เราจึงไม่มีตัวตนที่แท้จริง

ตัวตนของเราที่มีอยู่ตอนนี้ เป็นเพียงสภาพอันหนึ่งที่สืบต่อกันด้วยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง จึงมีตัวตนขึ้นมา ตัวตนที่ถูกประกอบกันขึ้นนั้นมีอยู่จริง แต่มีอยู่จริงเพื่อแตกสลาย ไม่ได้มีอยู่เพื่อความยั่งยืน ไม่ได้มีอยู่เพื่อความเที่ยงแท้ถาวร เพราะไม่มีตัวตนใด ๆ เลยที่ยั่งยืนถาวร ตัวตนทุกอย่างดำเนินไปสู่ความแตกสลายทั้งสิ้น

เมื่อพิจารณาถึงที่สุดแห่งความแตกสลายของจิตอยู่บ่อย ๆ จึงได้มีความเห็นอันถูกต้องขึ้นมาว่า เราไม่มีในอดีต เราไม่มีในอนาคต เราไม่มีในปัจจุบัน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ อวิชชา เมื่ออวิชชาดับ ทุกข์จึงดับ มรรค ๘ เป็นหนทางดับอวิชชา การมีอยู่ของขันธ์ ๕ มาจากกระบวนการสืบต่อด้วยเหตุและปัจจัยเท่านั้น

เมื่อรู้ชัดเจนเช่นนี้แล้ว ภพชาติในจิตจะถูกทำลาย (จตุตถฌานจะเกิดขึ้นมาแทรกตอนนี้เพื่อทำหน้าที่ของสัมมาสมาธิ) เมื่อภพชาติถูกทำลาย จิตจะทำลายตัวเองจนไม่เหลือสภาพความเป็นจิต อัตตาตัวตน (ขันธ์ ๕) ที่จิตยึดถือครอบครองไว้มาอย่างยาวนานก็จะถูกสลัดคืนโดยไม่เหลือ เปรียบเสมือนเปลวไฟที่ดับสนิท จิตจึงหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ แล้วรวมตัวกับธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่ง (อสังขตธรรม) เป็นธรรมชาติดั้งเดิม เป็นธรรมชาติที่สิ้นทุกข์ เป็นธรรมชาติแห่งบรมสุข เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์หมดจดโดยแท้ ผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติถึงที่สุดจะเข้าใจในเรื่องนี้

อริยสัจ ๔ เมื่อดำเนินมาถึงที่สุดแล้ว ตัวอริยสัจก็ดับลงไปเช่นกัน ไม่มีอะไรให้กำหนดอีกต่อไป เพราะทุกอย่างถูกสลัดคืนหมด ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีเพราะอาศัยขันธ์ ๕ เท่านั้น เมื่อรู้ขันธ์ ๕ ชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว และขันธ์ ๕ ถูกปล่อยวางไว้ตามความเป็นจริง จึงไม่มีกิจใด ๆ ที่จะกระทำต่ออริยสัจอีก

นี่แหละที่เรียกว่า “ถึงที่สุดแห่งทุกข์”

จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)

#AjahnTon‘

  • :
  • :
คำอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย เสียงพระอาจารย์ต้น
https://dhammanava.net/wp-content/uploads/2024/09/บทพิจารณากาย.mp4
แนวทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
กิจกรรมวัยรุ่นฟังธรรม

ธรรมะเพื่อการรู้แจ้ง

 

https://flamboyant-heyrovsky.45-154-25-3.plesk.page/wp-content/uploads/2022/12/ฝึกหัดปฏิบัติ-ทาน-ศีล-สมาธิ-ปัญญา-เพื่อเตรียมพร้อม-พระอาจารย์ต้น_01082020.m4a
May 2025
M T W T F S S
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  
« Apr    
©2025 Dhammanava