ค่านิยมของไทยเราในเรื่องการทำบุญ มันมาถึงขั้นที่ยอมรับในความผิดอันส่วนเป็น “บาป” ว่าเป็นความถูกต้องจนยากที่จะแก้ไข คนโดยส่วนมากจึงถูกอิทธิพลเหล่านี้ครอบงำ จนกลายเป็นจารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ต้องทำแบบนี้ร่วมกัน ใครทำแตกต่างจากนี้ถือว่าผิดจากสิ่งที่ยึดถือกัน แต่อย่างนี้มันถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก !!! พระพุทธองค์ไม่ได้ห้ามพระภิกษุ ไม่ให้ใช้สอยปัจจัย 4 อันเกิดจากทรัพย์ “แต่ห้ามพระภิกษุรับเงินหรือทรัพย์นั้นโดยตรง” ด้วยตัวของพระภิกษุ หรือเก็บไว้จำเพาะภิกษุโดยตรง ไม่ได้ อันนี้เป็นโทษหรือเป็นความผิดโดยตรง ซึ่งพระภิกษุเองก็ต้องรู้พระวินัยในข้อนี้ดี ประเด็นก็คือว่า เมื่อถูกบังคับให้ทำ เราทำเกิดบาปไหม ??? อันนี้ “เกิดบาปแน่นอน” ในส่วนของบาป ในส่วนของความผิดของพระ สมมุติว่าพระมีความผิดในข้อนี้ 100 “เราจะได้เศษหนึ่งส่วนสี่” ของความผิดของพระนั้น ทีนี้ถ้าพ่อแม่บังคับ ??? การบังคับนั้น ตามหลักพระวินัยเนี่ย ถ้าเราไม่เต็มใจ ถูกบังคับด้วยการกระทำของผู้เป็นมารดาบิดา “โทษจะตกกับมารดาบิดา ทั้งหมด” ไม่ตกกับตัวเรา คือ เราไม่ได้ไปเป็นผู้มีโทษ ทีนี้การที่จะแก้ไขความเชื่อกับค่านิยมแบบนี้ มันต้องอาศัยการช่วยกัน ให้สร้างค่านิยมใหม่ สร้างความเข้าใจใหม่ สร้างหลักการที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น เช่น [ การจัดงานศพแล้วไม่ถวายเงินได้ไหม ]…
Author: Prawit Wachirayano
#อย่าคล้อยตามอารมณ์
สภาวะอารมณ์ไม่เป็นไปตามบังคับบัญชาของผู้ใด แต่เป็นไปตามเรื่องราวของอารมณ์เอง ผู้ที่ทำตามอารมณ์ ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง เพราะการทำตามอารมณ์เป็นการขาดสติยับยั้งนั่นเอง ลักษณะทำร้ายตัวเองดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเอามีดมากรีดเนื้อตัวเอง การทำตามอารมณ์ครั้งหนึ่ง ก็เหมือนกับเอามีดมากรีดตัวเองหนึ่งครั้ง นั่นแหละคือความทุกข์ พระพุทธองค์จึงทรงบอกว่า อย่าคล้อยตามอารมณ์ การที่จะไม่คล้อยตามอารมณ์ได้ จะต้องเกิดจากการฝึก การฝึกจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon ที่มา : https://www.facebook.com/369179893454876/posts/1740677399638445/?mibextid=cr9u03
#วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ที่ดีที่สุด
ปุจฉา : คุณแม่ป่วยติดเตียง ตอนที่ยังสบายดีไม่ชอบฟังธรรม ไม่ชอบเข้าวัด แต่ท่านมีจิตใจอ่อนโยน ชอบทำทาน ชอบช่วยเหลือคน โยมใช้วิธีเอาของที่จะตักบาตรให้คุณแม่จบที่ศีรษะ ท่านก็ทำตาม เห็นท่านทำปากขมุบขมิบ โยมควรพูดอะไรให้ท่านระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระรัตนตรัยให้อยู่ในจิตท่านดีคะ กราบขอคำแนะนำค่ะ พระอาจารย์พนมพร : ควรบอกพระรัตนตรัยให้ท่าน จะเป็นการดีที่สุด ส่วนเรื่องของการทำทานก็ให้ทำตามปกติ อย่างน้อย ๆ จะทำให้ท่านมีใจยินดีในทานที่ท่านได้ทำ พร้อมทั้งบอกพระรัตนตรัยไปด้วย โดยบอกว่าวันนี้เราจะทำทาน แม่พึงทำจิตให้ยินดีเหมือนตัวแม่เองได้ให้ทาน เพื่อที่จะให้ท่านแสดงความยินดีหรืออนุโมทนาในทานที่ได้ทำ ให้ท่านระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์บ่อย ๆ หากท่านสามารถฟังธรรมได้ ควรให้ท่านฟังธรรม ฟังในสิ่งที่เป็นสัจจะ อย่าให้ท่านฟังอะไรที่เรื่อยเปื่อย หรือฟังในสิ่งที่ไร้สาระเกินไป ควรฟังในสิ่งที่เรียกว่าสัจจะ คือ ความจริงอันเป็นความจริง ฟังในสิ่งที่ประเทืองปัญญาของท่าน ฟังคุณของพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ทรงมีคุณอย่างไร ฟังว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงออกมามีอะไรบ้าง ฟังว่า บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามพระองค์เป็นบุคคลเช่นไร นี่คือฟังสิ่งที่เป็นสัจจะ ทำให้ใจของท่านมีใจดีขึ้นมาให้ได้ ทำให้ท่านเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้ได้ จะเป็นการดี นี่จะเป็นการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ได้อย่างหมดจด ต่อให้เราเลี้ยงดูท่านตลอดชาตินี้ โดยให้ท่านอยู่บนบ่าซ้ายบ่าขวา เหมือนตอนนี้ที่ท่านติดเตียงอยู่นี้ ต่อให้เราดูแล…
#พหุการสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้[อาจารย์] เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล[ศิษย์]ผู้อาศัย ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย อีกประการหนึ่ง บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย อีกประการหนึ่ง บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลายบุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ จะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลนี้หามิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่าบุคคลนี้ทำการตอบแทน คือ ด้วยการกราบไหว้ การ ลุกรับ การประนมมือไหว้ สามีจิกรรมการให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แก่ บุคคล ๓ จำพวกนี้มิใช่ง่ายแล ฯ…
#ภาวนา
การภาวนาหาใช่การอ้อนวอนพร่ำบ่นเพื่อให้สำเร็จสมประสงค์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การคาดหวังถึงความสำเร็จ แล้วมุ่งกระทำการภาวนาเพื่อให้ได้รับผลตามความต้องการ นั่นหมายถึงว่า เราได้สูญเสียอิสรภาพไปเสียแล้ว การขาดอิสรภาพ จะทำให้เราเกิดความดิ้นรน และทุกครั้งที่ดิ้นรน ย่อมทำให้เรากักขังตนเองไว้กับความทะเยอทะยาน อำนาจ ยศศักดิ์ และทรัพย์สิน จะเป็นที่คุมขังเรา เพราะเข้าใจว่า เมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะมีอิสรภาพ หลากหลายผู้คนจึงภาวนาขอให้ตนเองเป็นเช่นนั้น แท้ที่จริงแล้ว ภาวนาหาเป็นเช่นนั้นไม่ ภาวนา คือ การประจักษ์แจ้งต่อความจริงด้วยปัญญา ไม่มีคำว่าสำเร็จหรือล้มเหลว การเผชิญกับความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันด้วยจิตที่เป็นอิสระ ไม่ปฏิเสธสิ่งที่เป็นความขัดแย้ง ไม่เพลิดเพลินในสิ่งที่น่ายินดี ปราศจากความกังวลในทั้งสองสิ่ง ทำได้เช่นนี้จึงชื่อว่าเป็นการ “ภาวนา” ผู้ภาวนาย่อมกล้าที่จะประสบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือร้าย จะเจ็บปวดหรือสุขสม ล้มเหลวหรือสำเร็จ จะทุกข์หรือสุข จิตจะไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งความหดหู่ ท้อแท้ หรืออิ่มเอมเปรมปรีด์ใด ๆ การภาวนาจึงเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้จิตเข้าถึงอิสรภาพแห่งชีวิตโดยแท้ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon ที่มา : https://www.facebook.com/124704516447601/posts/185014470416605/
#โอวาทธรรมเนื่องในวัน กตเวทิตคุณูปมาจารย์ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖
โอวาทธรรมที่พระอาจารย์ต้นมอบให้แก่ลูกศิษย์ทุกรูป/ทุกคน เนื่องในวัน กตเวทิตคุณูปมาจารย์ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ********************** ในโอกาสนี้ ขออนุโมทนากับหมู่พระภิกษุสงฆ์ทุกท่าน และญาติโยมทั้งหลายที่ได้ร่วมกันกล่าวคำถวายสักการะครูอาจารย์ พร้อมทั้งอ่านบทรัตนปริตรเพื่อหนุนธาตุขันธ์ครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ได้กระทำอุปการะอันมากแก่อีกบุคคลหนึ่ง ย่อมเกิดองค์คุณต่อกันและกันขึ้น พระพุทธองค์ยกบุคคลผู้เป็นอาจารย์เป็นที่ตั้งแห่งการว่ากล่าวโอวาทสั่งสอน โดยพระองค์ได้กล่าวถึงคุณค่าของผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ไว้ ๓ ประการดังนี้ ๑. อาจารย์ใดแนะนำให้ศิษย์ตั้งอยู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศิษย์ใดได้รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จากอาจารย์ใด อาจารย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้มีพหุปการะ หรือการกระทำที่เป็นอุปการะอันมากแก่ศิษย์นั้น ๒. อาจารย์ใดเป็นผู้บอกศิษย์ว่า สิ่งนี้คือทุกข์ สิ่งนี้คือเหตุของทุกข์ สิ่งนี้คือความดับทุกข์ สิ่งนี้คือข้อปฏิบัติเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ศิษย์ใดที่ได้รับโอวาทคำกล่าวสอนว่า สิ่งนี้คือทุกข์ สิ่งนี้คือเหตุแห่งทุกข์ สิ่งนี้คือความดับทุกข์ สิ่งนี้คือข้อปฏิบัติเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ศิษย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้มีองค์คุณ มีคุณต่อครูอาจารย์ ครูอาจารย์ก็มีคุณต่อศิษย์นั้น อาจารย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้กระทำพหุปการะ คือ การกระทำที่มีอุปการะมาก ๓. อาจารย์ใดได้กล่าวสอนโอวาท ๑๐ เพื่อให้เกิดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ ศิษย์ใดที่ได้รู้แจ้งถึงเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ ศิษย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้กระทำคุณ ผู้รู้คุณต่อครูบาอาจารย์…
13 ตุลาคม 2566 “วันนวมินทรมหาราช”
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 ครบรอบ 7 ปีวันคล้ายวันสวรรคตในหลวง รัชกาลที่ 9 หรือเรียกวันนี้ว่า “วันนวมินทรมหาราช”เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของประชาชน เวียนมาถึงอีกปี 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวง รัชกาลที่9 ในวาระครบรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปีนี้วันที่ 13 ตุลาคม จะใช้ชื่อว่า วันนวมินทรมหาราช จึงได้รวบรวมเรื่องราวการเป็นกษัตริย์ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเอกราช พระชนมายุ18 ปี เป็นพระมหากษัตริย์ ช่วงพระชนมายุ 18 ปี ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เนื่องจากตอนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน แต่ตอนนั้นยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง และกลับมาเมืองไทยจัดพิธีราชาภิเษกวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 รวมๆ แล้วครองราชย์รวม 70 ปี 126…
#สวดมนต์เพื่อ
การสวดมนต์เป็นเครื่องบ่งบอก ให้ทราบว่าสติปัญญาของมนุษย์ได้หยุดพัฒนาลงแล้ว เราจะไม่สามารถพัฒนาสติปัญญาของเราให้เข้าถึง ‘แก่น’ ของพระศาสนาได้เลย หากเรายุติอยู่เพียงแค่การสวดมนต์ เสียงที่เปล่งออกมาจากริมฝีปาก เพื่อสร้างพลังเข้มขลังให้ขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ออกไปจากชีวิต แต่ก็ไม่สามารถขจัดปัดเป่าได้จริง เสียงดังระงมที่มาจากการสวดอ้อนวอนร้องขอ เป็นเสียงสะท้อนแห่งความอยากที่แฝงเร้นอยู่ในความเชื่อ ซึ่งเป็น “ค่านิยม” ที่ปลูกฝังในจิตใจคนให้เชื่ออย่างนั้นมายาวนาน สวดบทนี้จะเป็นเศรษฐี สวดเกินอายุจะมีโชค สวดหนึ่งร้อยแปดจบจะมีชัย สวดข้ามปีจะดีตลอดไป สวด สวด สวด และสวด……… ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อ “ความอยาก” ในใจตนเองเท่านั้น ศาสนาจะกลายเป็นความงมงายทันที หากคนในศาสนามัวแต่เปล่งเสียงพร่ำบ่นถึงการอ้อนวอนร้องขอ หลักคำสอนอันเป็น “สัจธรรม” ที่ว่า “กัมมุนา วัตตตี โลโก ทุกคนเป็นไปตามการกระทำของตน” ก็จะถูกทำลายลงในทันที ผู้คนก็จะยึดถือเอา “การสวด” เป็นประดุจดั่งแก่นสารของศาสนา เมื่อความงมงายได้เข้าครอบงำจิตใจคน ปัญญาของคนก็จะค่อยๆเหือดแห้งไป ผู้คนจะอยู่กันอย่างไร้เหตุผลมากขึ้น จารุวณฺโณ ภิกฺขุ พระอาจารย์ทวีวัฒน์ (พระอาจารย์ต้น) ที่มา: เฟซบุ๊คเพจ: พุทธรัตตัญญูชน #สวดมนต์#สวดมนต์ข้ามปี#ปัญญา#ธรรมะ#ธรรม#ธรรมทาน#ปฏิบัติธรรม#ฟังธรรม#คำสอนธรรมะ#ธรรมะสอนใจ#ธรรมะดีดี#วันพุทธ#พุทธศาสนา#พ้นทุกข์#สติ#ทุกข์#คิดดีทำดี#แบ่งปันธรรมะ#สัจจะธรรมชีวิต#เส้นทางสู่นิพพาน
#ปฏิจจสมุปบาทเป็นเช่นไร
ปฏิจจสมุปบาท มีอยู่ ๒ สาย คือ ๑. สายเกิด คือ สมุทยวาร สายเกิดมีมูลเหตุโดยแท้ คือ อวิชชาเป็นมูลเหตุ อวิชชาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลนำมาซึ่งความทุกข์ คือ การมีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์ในอนาคต และมีทุกข์ในภพต่อๆ ไปอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้ เพราะว่าสมุทยวารบ่งบอกตายตัวแล้วว่านำเกิด จะเป็นอย่างไรก็ตามมันจะนำเกิดด้วยอำนาจของอวิชชาได้ มันก็จะนำเกิดอยู่ตลอดเวลา ๒. สายดับ คือ นิโรธวาร เมื่ออวิชชาดับ กระบวนแห่งการเกิดก็ดับ แต่เป็นการดับด้วยวิราคธรรม คือ อริยมรรค นั่นหมายถึงว่า เราจะเห็นอริยสัจในปฏิจจสมุปบาทตรงที่พระองค์ทรงให้เหตุผลของสมุทัย คือ เห็นตัวทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความไม่ประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนี้เป็นกระบวนการแห่งความทุกข์ทั้งหมด —————————————— อริยสัจ ๔ กับ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ กับปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องเดียวกันแต่ปฏิจจสมุปบาทเป็นด้านที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ๔…
#ข้อแนะนำต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
เมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป เราควรระลึกถึงคุณค่าของบุคคลที่จากไปมากกว่าการที่จะเศร้าโศกเสียใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น … คุณค่าของบุคคลคนนั้นที่เราเกี่ยวโยงผูกพันด้วย แม้เขาจะจากไปแล้ว แต่ความทรงจำในเรื่องราวของเขายังคงอยู่ในใจของเรา ความทรงจำอันเป็นคุณค่านี้เองที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขายังอยู่กับเรา เขาจากไปเพียงร่างกายเท่านั้น เราต้องยอมรับเรื่องการสูญเสียว่า มันคือความจริงที่เกิดขึ้นได้กับทุกผู้คน การตระหนักรู้ถึงคุณความดีที่เกี่ยวข้องกันมา ความสัมพันธ์ที่ดีของผู้ที่จากไป คุณประโยชน์ที่ได้กระทำต่อกันมาตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ การระลึกถึงและตระหนักถึงคุณค่าของเขานี้ เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการเศร้าโศกจากการสูญเสียเขาไป แล้วเราจะรับรู้ได้ว่า เราไม่ได้เสียใครไป โดยผู้ที่จากไปก็ยังเกี่ยวโยงทางด้านจิตใจอยู่กับเราดังเดิม …. ____________ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ #พระอาจารย์ต้น #ธรรมรส #พลังธรรม #ปัญญาธรรม #ธรรมสอนใจ