#ข้อปฏิบัติในหลักอริยสัจ – การเกิดขึ้นของขันธ์ จัดเป็นทุกขสัจจ์ – ตัณหาที่อิงอาศัยขันธ์เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทัยสัจจ์ – ความดับไปของตัณหา จัดเป็นนิโรธสัจจ์ – การรู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ จัดเป็นมรรคสัจจ์ . เมื่อเข้าใจหลักอริยสัจในข้างต้นแล้ว ข้อปฏิบัติที่เราจะต้องลงมือทำ คือ ข้อมรรคข้อเดียว อริยสัจข้ออื่น ๆ เพียงแค่ให้ “รู้จักไว้” เท่านั้น การดำเนินมรรค คือ การเข้าไปปฏิบัติต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ . ๑. ทุกขสัจจ์ ให้ “กำหนดรู้” เมื่อขันธ์ ๕ ประสบกับอารมณ์ภายนอกหรือภายใน การปรากฏขึ้นของอารมณ์ เป็นการเกิดขึ้นของขันธ์ การดับไปของอารมณ์ เป็นการดับไปของขันธ์ ให้กำหนดรู้ความเกิด-ดับของขันธ์ไว้อยู่เสมอ . ๒. สมุทัยสัจจ์ ให้ “ละ” เนื่องจากว่าทุกข์ได้ถูกกำหนดรู้ไว้แล้ว ตัณหาจึงเกิดร่วมกับทุกข์ไม่ได้ แล้วจะละตัณหาที่เป็นตัวสมุทัยกันอย่างไร เรื่องนี้ต้องเข้าใจว่า…
“พุทธะ”
ธรรมะสั้นๆ
สัจจะ : Truths
Truths สัจจะ คือสิ่งที่เป็นอย่างนั้น แบบตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นTruth is eternal and immutable. It does not change or become something else. สิ่งที่ไม่ใช่สัจจะ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่สัจจะไม่มีทางเปลี่ยนแปลง คือ ความตาย เป็นสัจจะสำหรับมนุษย์Non-truths are impermanent, fleeting and changing, while truths are not. For human beings, death is an eternal truth. ทุกคนเดินไปสู่ความตายกันทั้งหมด มีชราเป็นผู้ต้อนไปความแก่ เป็นผู้ต้อนไปหามรณะWe are all marching relentlessly towards death, with aging as the inevitable driver….
#ปรมาณูแห่งจิต : #The atom of the mind
“จิต” เป็นที่เก็บกักอารมณ์ทั้งดีและไม่ดี โดยอาศัยธรรมารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ธรรมารมณ์จึงเป็น “ปรมาณูแห่งจิต” ที่ไหลเข้ารวมกันเป็นพลังงานสะสมไว้ในจิต เมื่อปราศจากธรรมารมณ์เสียแล้ว ปรมาณูแห่งจิตก็สลายไป และจิตก็จะไม่มีอยู่อีกต่อไป กระบวนการสืบต่อทั้งหลายจึงสลายไปเช่นกัน จารุวณุโณ ภิกุขุ (พระอาจารย์ต้น) The “mind” is a reservoir of both good and bad emotions through which the mind-object (Dhammarammana) enters via the six senses : eyes, ears, nose, tongue, body and mind. Therefore, the mind-object (Dhammarammana) is the atom of…
*** เดินสู่พระนิพพาน เริ่มอย่างไร ***
การเข้าถึงนิพพาน ฆราวาส ก็สามารถเข้าถึงได้ อย่างสมัยพุทธกาล เช่น นางวิสาขา เป็นต้น [การเข้าถึงกระแสพระนิพพานเพื่อดับทุกข์ทั้งปวง ตัดการเวียนว่ายตายเกิด] . สิ่งที่แนะนำนี้เป็นวิธีง่ายต่อการปฏิบัติ ผ่านกระบวนการเลือกเฟ้นมาเฉพาะทาง อาจจะไม่ได้ปะปนกับครูบาอาจารย์ท่านใด หรือมีส่วนคล้าย ส่วนเหมือน ก็ให้เลือกว่าจะทำตาม หรือไม่ทำตาม ให้เป็นอิสระทางความคิด . เบื้องต้นในหนทางแห่งอริยมรรค พระพุทธองค์บอกว่า เราต้องละสังโยชน์ 10 ประการเท่านั้น และใน 10 ประการ 3 อันดับแรกนี่สำคัญมาก คือ . ○ สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกาย ○ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระนิพพาน ○ สีลัพพตปรามาส ความหลงผิด ถือผิดในการปฎิบัติ . ดังนั้น ควรทำตามลำดับขั้นตอนดังนี้ . ๑) อธิษฐานจิตเข้าสู่พระรัตนตรัยให้ได้ ในบท [พุทโธ เม นาโถ] พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า [ธัมโม เม นาโถ]…
#ธรรมเนื้อแท้
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นย่อมดับไปสิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่เกิดสิ่งใดที่ตั้งอยู่ สิ่งนั้นก็กำลังจะดับ อย่าโหยหากับสิ่งที่ล่วงแล้วอย่ากังวลกับสิ่งที่ยังไม่มาอย่ายึดมั่นกับปัจจุบันมากเกินไป บางคนทุกข์เพราะเรื่องในอดีตบางคนทุกข์เพราะเรื่องในอนาคตบางคนทุกข์เพราะจริงจังกับชีวิตมากเกินไป อดีตคือสิ่งที่ล่วงไปแล้วอนาคตคือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงปัจจุบันคือสิ่งที่กำลังจะดับ อดีตแก้ไขไม่ได้อนาคตก็ทำอะไรไม่ได้ปัจจุบันก็ยึดถืออะไรไม่ได้ โลกอันนี้ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้แหละถือเอาอะไรก็ไม่ได้ ปล่อยวางเสียปล่อยให้เป็นของของโลกตามเดิม จารุวณฺโณ ภิกฺขุ#AjahnTon
#ความจริงแท้
กายก็ต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย หลีกเลี่ยงไม่ได้ จิตก็ต้องมีอารมณ์ หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน แต่ผู้รู้ไม่ใช่ผู้แก่ ไม่ใช่ผู้เจ็บ ไม่ใช่ผู้ตาย ผู้รู้ไม่ใช่ผู้เป็นอารมณ์ ผู้รู้คือรู้อยู่ เรียกว่าอยู่กับรู้ ไม่ได้อยู่กับอารมณ์ … จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
#การให้ทาน
โยม : หลวงเปพ่อคะ เวลามีคนถือขันมาขอรับบริจาคเงินทำบุญ ซึ่งเรารู้ว่านั่นเป็นการหลอกลวงดังปรากฏเป็นข่าวอยู่เนืองๆ เราสมควรที่จะให้ทานกับบุคคลเหล่านี้หรือไม่คะ หลวงพ่อเป : การ”ให้ทาน” ต้องไม่เลือกสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และอย่าห้ามการให้ทานของผู้อื่น ในกรณีที่โยมถามมานี้ จิตของเราได้เพ่งโทษผู้อื่นไปแล้ว คือเพ่งโทษว่าเขาเป็นคนหลอกลวง ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่… เมื่อมีการเพ่งโทษ ถือว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล ซึ่งก่อให้เกิดภพชาติขึ้นมาทันที ดังนั้น ถ้าหากมั่นใจว่าไม่ได้เพ่งโทษ มีจิตที่เป็นกลาง จะให้ทานแก่เขาหรือไม่ให้ก็ได้ หากจิตของเรายังไม่เป็นกลางพอ สมควรที่จะให้ทานแก่ผู้ที่มาขอ มีน้อยก็ให้น้อย ให้ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น การให้ทาน ไม่ต้องปรุงแต่งสังขารว่าบุคคลผู้รับทานจะหลอกลวงหรือไม่ ให้คิดเสมอว่าเมื่อให้ทานแล้วบุญที่กิดขึ้นก็เป็นของเรา ส่วนผู้รับทานนั้นหากเขาหลอกลวงจริง เขาก็จะเป็นผู้รับวิบากกรรมจากการหลอกลวงนั้นเอง หนีไม่พ้นหรอก ในเรื่องการให้ทานนั้น ให้ทุกคนตั้งเมตตาจิตไว้ในใจ คือมีความเมตตาต่อคน ต่อสัตว์ ต่อทุกๆ สิ่ง เพื่อจิตจะสัมผัสแต่เรื่องที่เป็นกุศล และจะไม่เพ่งโทษต่อสิ่งใดๆ เมื่อมีเมตตาจิตแล้ว หากมีคนมาขอรับทานหรือขอความช่วยเหลือ เราควรจะทำทานหรือให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถที่จะให้ได้ ในกรณีที่ต้องการทำบุญเองโดยไม่มีใครมาขอ เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำบุญกับใคร ทำบุญที่ไหน ทำบุญมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของเราเอง การ”ให้ทาน”เช่นนี้ถือว่าเป็นการให้ทานอย่างผู้มีปัญญา….