โยม : หลวงเปพ่อคะ เวลามีคนถือขันมาขอรับบริจาคเงินทำบุญ ซึ่งเรารู้ว่านั่นเป็นการหลอกลวงดังปรากฏเป็นข่าวอยู่เนืองๆ เราสมควรที่จะให้ทานกับบุคคลเหล่านี้หรือไม่คะ หลวงพ่อเป : การ”ให้ทาน” ต้องไม่เลือกสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และอย่าห้ามการให้ทานของผู้อื่น ในกรณีที่โยมถามมานี้ จิตของเราได้เพ่งโทษผู้อื่นไปแล้ว คือเพ่งโทษว่าเขาเป็นคนหลอกลวง ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่… เมื่อมีการเพ่งโทษ ถือว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล ซึ่งก่อให้เกิดภพชาติขึ้นมาทันที ดังนั้น ถ้าหากมั่นใจว่าไม่ได้เพ่งโทษ มีจิตที่เป็นกลาง จะให้ทานแก่เขาหรือไม่ให้ก็ได้ หากจิตของเรายังไม่เป็นกลางพอ สมควรที่จะให้ทานแก่ผู้ที่มาขอ มีน้อยก็ให้น้อย ให้ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น การให้ทาน ไม่ต้องปรุงแต่งสังขารว่าบุคคลผู้รับทานจะหลอกลวงหรือไม่ ให้คิดเสมอว่าเมื่อให้ทานแล้วบุญที่กิดขึ้นก็เป็นของเรา ส่วนผู้รับทานนั้นหากเขาหลอกลวงจริง เขาก็จะเป็นผู้รับวิบากกรรมจากการหลอกลวงนั้นเอง หนีไม่พ้นหรอก ในเรื่องการให้ทานนั้น ให้ทุกคนตั้งเมตตาจิตไว้ในใจ คือมีความเมตตาต่อคน ต่อสัตว์ ต่อทุกๆ สิ่ง เพื่อจิตจะสัมผัสแต่เรื่องที่เป็นกุศล และจะไม่เพ่งโทษต่อสิ่งใดๆ เมื่อมีเมตตาจิตแล้ว หากมีคนมาขอรับทานหรือขอความช่วยเหลือ เราควรจะทำทานหรือให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถที่จะให้ได้ ในกรณีที่ต้องการทำบุญเองโดยไม่มีใครมาขอ เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำบุญกับใคร ทำบุญที่ไหน ทำบุญมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของเราเอง การ”ให้ทาน”เช่นนี้ถือว่าเป็นการให้ทานอย่างผู้มีปัญญา….
พระรัตนตรัย
“ตอบทุกคำถาม กับ ครูเงาะ”
รวมพระธรรมเทศนาพระอาจารย์พนมพร
รวมพระธรรมเทศนา พระอาจารย์โถย
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สถานศึกษาธรรมป่านาโสกฮัง บ้านหนองดินดำ ต.หนองสามสี อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
#สมาธิ
การนั่งเพ่งจิตให้อยู่กับคำบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้จิตจดจ่อเพ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นี่คือการฝึกสมาธิที่เราถูกสอนมา ผู้บรรลุถึงสมาธิจะพบกับความสงบล้ำลึกอยู่ภายใน เขาต่างก็พูดถึงประสบการณ์ภายในจิตอย่างลี้ลับ น่าตื่นเต้นอัศจรรย์ใจ และดูเหมือนว่าสิ่งที่เขาพูดถึงนั้น เป็นสิ่งอยู่เหนือความสามารถของคนทั่วไป ยากที่จะเข้าไปสัมผัสถึง จนกลายเป็นผู้วิเศษไป การทำสมาธิเป็นการฝึกเช่นนั้นจริงหรือ? สมาธิที่พระพุทธเจ้ากล่าวสอนนั้น เป็นสมาธิที่ก่อให้เกิดปัญญา ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกสภาพการณ์ เพียงแค่ให้เราพยายามสนใจจิตในขณะที่กระทบกับอารมณ์แล้วทักอารมณ์นั้นตรงๆ เมื่อประสบกับสิ่งที่น่าขัดเคืองใจแล้วเกิดความโกรธขึ้น ก็ให้ทักว่า “นี่คือความโกรธ เรากำลังโกรธอยู่ จิตกำลังถูกความโกรธปรุงแต่ง ความโกรธกำลังปรุงแต่งจิต จิตเรามีความโกรธ ความโกรธมีอยู่ในจิตเรา” … นี่คือความโมโหเรากำลังโมโหอยู่ นี่ความหงุดหงิดเรากำลังหงุดหงิดอยู่… เรากำลังฟุ้งซ่านอยู่ เรากำลังเศร้าโศกเสียใจอยู่ เรากำลังคับแค้นใจอยู่ เรากำลังทุกข์อยู่… การทักอารมณ์เช่นนี้ จะช่วยให้เรามีสมาธิที่รู้เท่าทันต่ออารมณ์ในขณะปัจจุบัน และจะส่งผลให้เกิดปัญญารู้เห็นความเกิด-ดับของอารมณ์ได้ การรู้เห็นความเกิด-ดับจะเป็นความรู้เป็นไปเพื่อการละกิเลสและเข้าถึงความดับทุกข์ได้ สมาธิที่เกิดจากการเพ่ง จดจ่อ บังคับ เป็นสมาธิที่ไม่รู้ในอารมณ์ที่มากระทบ ทำให้ความรู้ถูกจำกัดอยู่วงแคบ ปัญญาจะเหือดแห้งไปโดยทันที และจะทำให้สัมพันธภาพกับโลกภายนอกขาดไป … จารุวณฺโณ ภิกฺขุ#AjahnTon ดูน้อยลง