จิตใจที่อ่อนแอเป็นจิตใจที่ไร้ที่พึ่ง ไม่มีที่พึ่งพระพุทธเจ้าก็เลยพยายามสอนให้เราได้เข้าใจว่าจิตสักแต่ว่าจิต อย่าไปหวงมัน อย่าไปปกป้องมันมันเป็นธรรมชาติรับอารมณ์ ปล่อยให้มันรับอารมณ์แต่เรารับผลจากการกระทบของมันไม่ได้นี่คือปัญหาใช่ไหมล่ะผลคือความวุ่นวายเราไม่สงบสุขเลยในจิตในใจ… … … ถ้าเราลองปล่อยวางให้อารมณ์มันเกิดขึ้นในจิตจนเสร็จสิ้นกระบวนความของมันในขณะที่เรารับรู้อารมณ์นั้น เราไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อพูดง่ายๆ คือ ไม่คิดต่อจากเรื่องราวนั้นที่มากระทบ๑. ไม่คิดต่อจากเรื่องราวที่มากระทบ ๒. ไม่เข้าไปห้ามอารมณ์ที่มากระทบ ๓. อย่าอยากดับอารมณ์ที่กระทบกับจิตอยู่ ๔. ถ้าเราทำได้ในสามข้อนี้ ถ้าอารมณ์ยังไม่ดับ ให้อดทนดูต่อไป อดทนดูอารมณ์ที่เข้ามาในจิตถ้ามีความอดทนได้มันจะเกิดผลข้อที่ ๕ ข้อที่ ๕ คืออะไรรู้ไหมอารมณ์จะดับลงไปด้วยตัวของมันเองเมื่ออารมณ์ดับไปด้วยตัวของมันเองปั๊บความวุ่นวายดับมันจะเป็นอะไรขึ้นมาแทนล่ะคราวนี้ความวุ่นวายหายไป ก็สงบขึ้นมาแทนแสดงว่าการหาความสงบ ไม่ได้หาอยู่ที่อื่นเลย… … … การที่เราหนีออกจากจุดหนึ่งไปอยู่อีกจุดหนึ่งอาจจะสงบได้ชั่วคราวแต่นั่นไม่ใช่การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้าคือไปแก้ปัญหาที่ตัวรับผัสสะกระทบนั่นมันกระทบใจดูที่ใจ ดูอารมณ์ที่ปรากฏกับใจว่ามันกระทบขึ้นมาแล้วปล่อยให้มันเกิดปล่อยให้มันตั้งอยู่แล้วปล่อยให้มันดับ … … … การไปคิดต่อจากการกระทบที่มันผ่านเข้ามากระทบใจเราหากไปคิดต่อปุ๊บมันก็เป็นการกระทำให้อารมณ์นั้นคลุกคลีอยู่กับใจเราสืบต่ออารมณ์ไปได้อยู่ตลอด… … … “การคิดต่อ” เป็นการหน่วงเหนี่ยวอารมณ์ไว้ถ้าเราคิดต่อนะ ก็บอกเลย๑ ห้ามคิดต่อ ๒ อย่าห้ามอารมณ์ ๓ อย่าอยากดับมัน เพราะถ้าเราเข้าไปดับอย่าลืมว่าอารมณ์เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตนเราจะเอาอะไรเข้าไปดับมันล่ะเราอยากจะดับขนาดไหนก็ดับไม่ได้หรอกเพราะไม่มีตัวตน มีแต่อาการมันกระทบแล้วปั๊บ ทำให้จิตใจเราขุ่นมัว หรือวุ่นวายหรือเศร้าหมอง หรือคิดมากไปต่างๆนานา ปัญหารุมเร้าคิดเรื่องนี้ไม่หยุดไม่หย่อนมันจะทำให้เราจมอยู่กับอารมณ์ … ……
#เครื่องนำทางชีวิตอย่างถูกต้อง
เครื่องรางปลุกเสก เป็นสิ่งที่มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แม้ก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้ามาเกิด คนยุคนั้นก็นิยมกระทำกันอยู่ แต่เมื่อมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ สิ่งปลุกเสกทั้งหลายก็กลายเป็นความ #งมงาย ที่บุคคลผู้โง่เขลายึดติด . ส่วนผู้ที่ #ตื่นรู้ กับความจริงแห่ง #สัจธรรม เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้สละวัตถุปลุกเสกทิ้ง แล้วยอมรับเอา #พระรัตนตรัย เป็นเครื่องนำทางชีวิตอย่างถูกต้อง —————— พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น) ส่วนหนึ่งของหนังสือธรรมนาวา เล่ม ๑ ติดตามเพิ่มได้ที่ instragram account @dharma_day #พุทธศาสนา#ธรรมะ#ธรรมแท้#ธรรมทาน#ปฏิบัติธรรม#ฟังธรรม#คำสอนธรรมะ#ธรรมะสอนใจ#ธรรมะดีดี#วันพุทธ#พ้นทุกข์#ทุกข์#สัจจะธรรมชีวิต#เส้นทางสู่พระนิพพาน
#การแก้ไขภาวะโรคซึมเศร้าตามแนวทางพระพุทธศาสนา
๑. ตั้งจิตระลึกถึงพระรัตนตรัยให้บ่อยที่สุดในแต่ละวัน หรือระลึกทั้งวันก็ได้ ด้วยบทระลึกถึงพระรัตนตรัยว่า“พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้าธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้าสังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า”ให้ระลึกย้ำๆ ซ้ำๆ ไว้เรื่อยๆ อยู่เสมอ ๒. หากมีอารมณ์ใดเกิดกระทบจิตในแต่ละครั้ง ให้ทักอารมณ์นั้นตรงๆ ไปเลย เช่น หากเกิดความเครียดขึ้นมาให้ทักว่า“นี่คือความเครียดความเครียดกำลังเกิดขึ้นกับจิตจิตกำลังมีความเครียดความเครียดมีอยู่ในจิตจิตกำลังถูกความเครียดปรุงแต่งความเครียดกำลังปรุงแต่งจิต”ให้ฝึกทักอารมณ์อยู่บ่อยๆ ๓. หากอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นมามากจนควบคุมไม่ได้ ก็ให้ทักอาการซึมเศร้านั้นตรงๆ ว่า“นี่คืออาการซึมเศร้าอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นกับจิตจิตมีอาการซึมเศร้าอาการซึมเศร้ามีอยู่ในจิตจิตถูกอาการซึมเศร้าปรุงแต่งอาการซึมเศร้ากำลังปรุงแต่งจิต”ทักอาการซึมเศร้าไว้เรื่อยๆ จนกว่าจะคลายไป หากเกิดอีกก็ให้ทักอีกอยู่เรื่อยๆ ๔. ให้แผ่เมตตาก่อนนอนทุกคืน [บทแผ่มตตาอยู่ในหนังสือแนวทางชาวพุทธ] ๕. สวดพระปริตร ๒ บทคือ รัตนปริตรกับอาฏานาฏิยปริตร ทุกๆ วัน จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon
พรปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ จาก พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ
#เส้นทางออกจากวัฎฎะ
เส้นทางออกจากวัฏฏะนี้ มีขึ้นในคราวที่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในยุคสมัยที่ไม่มีพระพุทธศาสนาเส้นทางที่จะเดินออกจากวัฏฏะนี้ไม่มีเลย เส้นทางทั้งหลายที่เป็นไปในวัฏฏะ เป็นเส้นทางที่ผูกโยงอยู่กับบุญและบาปภายในชีวิตของเรา ซึ่งเรากระทำบุญหรือกระทำบาปไว้อย่างไร บุญและบาปนั้นเป็นสิ่งกำหนดเส้นทางที่ก่อให้เกิดภพ ภูมิ สถานที่ที่เราจะได้ไปเกิดในที่นั้น ๆ นั่นหมายถึงว่า เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ชั่วคราวหนึ่ง พอพ้นจากชีวิตในโลกนี้ เราก็จะไปปรากฏอยู่ในอีกโลกหนึ่งตามเส้นทางที่เราได้สร้างไว้ ซึ่งโลกอื่นที่แตกต่างไปจากโลกมนุษย์ คือ โลกตามการกำหนดของบุญและบาปที่เราได้กระทำ คำว่า “โลก” ไม่ได้หมายถึงโลกมนุษย์เท่านั้น โลกยังหมายถึง เทวโลก พรหมโลก เปตโลก อสุรกายโลก เดรัจฉานโลก นรกโลก ฯลฯ นรกโลกนั้น พวกเราก็ได้ยินกันมาแล้ว คงไม่มีใครต้องการไปนรกโลก แต่เส้นทางที่จะให้ไปนรกโลกนั้นมีอยู่ หากได้สร้างเส้นทางไว้แล้ว จะต้องได้ไปแน่นอน มีใครได้สร้างเส้นทางไปนรกไว้บ้าง ต้องตอบว่ามี เราทุกคนเคยสร้างไว้ ผู้ที่จะไม่ไปนรกเลย ได้แก่ผู้ที่อยู่ตั้งแต่ระดับพระโสดาบันขึ้นไป ท่านเหล่านี้ปิดเส้นทางสู่อบายภูมิ ตั้งแต่กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน เปรต ผี ปีศาจ อสุรกาย นรก เส้นทางนี้ถูกปิดอย่างถาวรสำหรับท่าน ต่ำกว่าระดับโสดาบันจะปิดเส้นทางนี้อย่างถาวรไม่ได้ แต่สามารถอิงอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนา เพื่อรองรับชีวิตตนไม่ให้ไปสู่ทุคติเลยตลอดแสนกัปป์ โดยในกัปป์ที่หนึ่งแสนจะพ้นออกจากทางแห่งการเวียนว่าย การอิงอาศัยหลักการทางพุทธศาสนา หมายถึงทางแห่งการยึดมั่น ถือมั่นในพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนานั่นเอง จารุวณฺโณ…
#น้อมนำเวลาแห่งสติกับการปฏิบัติธรรม
#สนทนาเรื่องการปฎิบัติภาวนากับเยาวชนคนรุ่นใหม่
#หลักกรรม
หลักธรรมชาติกำหนดไว้ว่า ใครทำสิ่งใด ย่อมได้รับสิ่งนั้น ซึ่งหมายถึงว่า เราแต่ละคน จะต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง เรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงสอน “หลักกรรม” เพื่อให้รู้ว่า ชีวิตของเราจะไม่ขึ้นตรงต่อสิ่งใด ไม่มีใครจะมาบันดาลให้เราได้ดีหรือได้ชั่วได้เลย ดีหรือชั่วเกิดจากสิ่งที่เราได้กระทำลงไปไม่ว่าจะในขณะใดก็ตาม และในขณะต่อไปก็จะมีเหตุปัจจัย ดึงเราไปสู่การกระทำดีหรือชั่ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจิตของเราในขณะนั้นว่า จะแยกแยะเหตุผลอันเป็นเหตุปัจจัยแห่งการกระทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะรู้ซึ้งแล้วว่า เราทำสิ่งใดลงไป สิ่งนั้นจะกลับมาตอบสนองต่อเราอย่างแน่นอน เมื่อเรารู้ว่า ทำอย่างไร ก็จะได้ผลอย่างนั้น หากเราสามารถยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำได้ ก็ไม่เป็นไร ให้ทำต่อไปทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี.. พระองค์ตรัสสอนต่ออีกว่า มนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมซึ่งมีอยู่เพียง ๒ ด้าน คือ ดี กับ ไม่ดี ที่จะคอยอำนวยผลตอบสนองให้ ฉะนั้น มนุษย์จึงได้รับผลด้านดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เพราะแต่ละคนมีการกระทำทั้งดีและไม่ดี จะทำดีอย่างเดียวก็ไม่ได้ ทำไม่ดีอย่างเดียวก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะทั้งสองอย่างนั้น ไม่ใช่ปกติวิสัยของมนุษย์ เราจึงมีทำดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ผลดีและผลไม่ดีจึงตอบสนองมนุษย์สลับกันไปมาเช่นนี้ มนุษย์จึงจะต้องมาเกิดด้วยวงจรของกรรรมที่เมื่อทำไม่ดี ก็ไปทำดีเพื่อมาแก้ไข คือ ทำกุศลเพื่อแก้ไขอกุศล พระพุทธองค์เล็งเห็นว่า หากทำเช่นนี้เรื่อย ๆ คือ เกิดมาแล้ว…
#การฝึกจิต
จิตของเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมายาวนาน สะสมสิ่งดี และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดีในจิต จะคอยกระตุ้นเตือนให้เราฝักไฝ่อยู่ในความดี หรือความชั่ว ด้วยการปฏิบัติต่อไปจากเส้นทางเดิมที่เคยทำไว้ให้ถึงที่สุด จิตเป็นที่สะสมของอาสวกิเลส ถ้าหากไม่ฝึกจิต เราก็จะตกเป็นทาสของกิเลสไปตลอดกาล แต่เมื่อฝึกฝน เราก็จะสามารถชำระสะสางกิเลสที่เกาะกุมอยู่ในจิตให้หลุดร่วงออกไปได้ การฝึกจิตจึงได้ชื่อว่า เป็นการทำลายมูลเหตุแห่งความทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นกับจิตของเราได้ หากไม่ฝึกก็เท่ากับเป็นการปล่อยให้จิตถูกเหยียบย่ำ ถูกทำลายด้วยอำนาจของกิเลส และสร้างทุกข์ให้กับจิตใจของเราเองเปล่า ๆ ซึ่งจะทำให้เราดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ด้วยความลำบากเปล่า เมื่อฝึกฝนก็จะแก้ไขและชำระกิเลสที่สะสมอยู่ในจิตได้ ความเบาใจ ความอบอุ่นใจ ความสงบร่มเย็นในจิตในใจก็จะเป็นผลเกิดขึ้นตามมาให้กับผู้ฝึกผู้ปฏิบัติได้รับรู้รับทราบ … การฝึกจิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะศาสนายังมีอยู่ในเวลานี้เมื่อศาสนายังมีอยู่ จึงไม่ควรปล่อยโอกาสของความมีอยู่ของศาสนาให้ผ่านพ้นไปเฉย ๆ แม้จะมีความทุกข์ ความยากลำบากเพียงใดก็ตาม ก็ต้องยอมปฏิบัติ ยอมฟัง ยอมแก้ไขจิตใจ ยอมพัฒนาจิตใจโดยอาศัยหลักคำสอนเข้าไปสู่การปฏิบัติ ก็จะทำให้เราเข้าถึงการพ้นทุกข์ได้ คุณธรรมในศาสนานี้ยังสามารถเข้าถึงได้เสมอ ความเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และอรหันต์อย่างทรงคุณค่า มีอยู่ในศาสนานี้ และเป็นผลรองรับผู้ปฏิบัติทุกกาล ทุกยุค ทุกสมัย การไม่ประมาทในกุศล และทำการไม่ประมาทในข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ การเพ่งพินิจพิจารณาธรรมที่พระองค์ทรงสอนให้ พิจารณารูปธรรมกับนามธรรม พิจารณาให้รู้แจ่มแจ้งขึ้นมาภายในจิตว่า รูปธรรมคืออะไร นามธรรมคืออะไร เมื่อรู้แจ่มแจ้ง จนเข้าใจในชั้นของปัญญาอีกชั้นหนึ่งเรียกว่าวิปัสสนา…
# ดับเหตุแห่งทุกข์
ความโลภ ไม่ได้เกิดจากวัตถุ หรือสิ่งของแต่เกิดจากความคิดของเราเองที่เห็นว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนั้นดี สิ่งนั้นมีประโยชน์ จึงเกิดความอยากได้นี่แหละคือ ความโลภ…. ความโกรธ ไม่ได้เกิดจากการกระทำ หรือคำพูดของใครแต่เกิดจากความคิดของเราเอง ที่เห็นว่าเขาทำไม่ถูก จึงเกิดความไม่พอใจนี่แหละคือ ความโกรธ…. ความหลง ไม่ได้เกิดจากวัตถุ บุคคล หรือสถานที่แต่เกิดจากความคิดของเราเอง ที่ปรุงแต่งหลอกตนเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความยินดียินร้ายนี่แหละคือ ความหลง…. เมื่อความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดจากความคิดของเราเองแล้ว ถามว่า เราจะไปดับความโลภ โกรธ หลง ที่ไหน ?…. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon ดูน้อยลง