ให้ #ระลึกถึงกายจิตจะซ่านไปไหนก็ตาม ให้ระลึกถึงกาย.เช่น นั่งอยู่ก็ให้รู้ว่านั่งยืนอยู่ก็ให้รู้ว่าเรากำลังยืนอยู่โดยมีเท้าสัมผัสกับพื้นอย่างไรหรือว่านอนอยู่ก็รับรู้ว่าร่างกายเราเป็นแบบไหนอย่างไรในขณะที่นอนหรือเดินอยู่ก็รับรู้อิริยาบทของการเดินทำกิจกรรมต่าง ๆ ในภาวะทางกายก็รับรู้ภาวะของกาย.การมี #สติระลึกอยู่ในกายจะดึงความฟุ้งซ่านกลับมาอยู่ที่ร่างกายนี้ก็จะตัดปัญหาเหล่านั้นออกไปการเจริญ #กายคตาสติ (ระลึกรู้อยู่ในกาย)จึงเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้จิตของเรานี้กลับมาตั้งมั่น และไม่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ได้ —————— พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น)ส่วนหนึ่งของการสนทนาธรรม liveณ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์วันอาทิตย์ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ติดตามชมคลิปการสนทนาธรรมของหัวข้อนี้ได้ใน comment (๐.๕๑ นาที)
## รู้สึกอิจฉาใคร ห้ามทำ 3 สิ่งนี้ ถ้าไม่อยากให้นิสัยนี้อยู่กับเราตลอดไป ##
เราอาจจะกลายเป็นคนที่ดูแย่ในสายตาคนอื่นก็ได้ แม้เราจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม…..เพราะความรู้สึกอิจฉา เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติของจิต ซึ่งมันไม่ได้ผิด ถ้ามันกำลังเกิดขึ้นอยู่กับเรา แต่ถ้าเราทำ 3 สิ่งนี้บ่อย ๆ ทุกครั้งที่รู้สึกอิจฉา ความอิจฉาจะกลายเป็นนิสัยติดตัวของเราไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราก็ไม่ได้อยากเป็น ใช่มั้ยล่ะ?# การกรทำที่เราควรระวัง คือ…1. อย่าพยายามแกล้งทำเป็นว่ายินดีเพื่อต้องการให้ใครมองว่าเราดีจุดนี้ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ควรจะต้องทำ เพื่อรักษามารยาท รักษาน้ำใจคนอื่นได้ ถ้าเพื่อจุดประสงค์นี้ สามารถทำได้ ไม่ได้ผิดอะไรแต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราพยายามแสดงความยินดีมากเกินไป เพื่อจุดประสงค์ที่ “ต้องการให้ใคร ๆ มองว่าเราเป็นคนจิตใจดี” หรือ “เพื่อให้ใครมายอมรับเรา” ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นแบบนั้นจริง ๆเพราะลองสังเกตุดู ว่าเมื่อเราทำแบบนั้น เราจะรู้สึกเหนื่อยมากกกก กับการพยายามทำเพื่อให้คนอื่นพอใจ ทั้ง ๆ ที่ใจไม่โอเค เพราะจริง ๆ แล้ว เราเนี่ยแหล่ะ ที่ต้องการทำให้ตัวเองรู้สึกดี เพราะคิดว่าเราจะรู้สึกดี จากการที่คนอื่นมองว่าเราดี แต่เมื่อทำไปจริง ๆ แล้ว มันโครตจะเหนื่อยเลยถ้าให้พูดตรง ๆ เลย รู้กันดีใช่มั้ยคะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่…
#คำว่ามีสติคือ..???
การมีสติ ไม่ได้หมายถึงว่าจิตเราจะต้องไม่ล่องลอยหนีออกไปจากกรรมฐานที่ทำ แต่เราจะเข้าใจทั้ง ๒ ส่วน คือส่วนของเจตนาที่มันอ่อนลง เมื่อเจตนาที่อ่อนลง ไม่ได้เป็นไปด้วยความสืบเนื่องในบทที่เรากระทำอยู่ หรือท่องอยู่ หรือพิจารณาอะไรอยู่.ฉะนั้นส่วนที่อยู่เหนือเจตนาจึงเข้ามาทำงานแทนที่โดยปกติ จิตไม่ได้ถูกดึงออกไปไหน หรือหนีออกไปไหน และไม่จำเป็นต้องดึงกลับมา สติสามารถรับรู้ได้ทั้งส่วนที่เป็นเจตนาเดิมที่อ่อนลง และส่วนที่นอกเจตนาที่ทำหน้าที่แทนเจตนาเดิมภายในจิตนั้น.เมื่อเรารู้ทั้ง ๒ ส่วน ดีไม่ดี ก็ให้ส่วนที่อยู่นอกเหนือเจตนานี่แหล่ะ ทำงานของเราไปเลย และเราก็รับรู้ว่า อ๋อ สิ่งนี้มันเป็นสิ่งนี้เท่านั้นเอง.คำว่ามีสติก็คือ เข้าใจในสิ่งที่มันเป็นอย่างนี้ในจิต ไม่ได้เปลี่ยนความเป็นจิตให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าต้องอยู่กับตนเอง ต้องอยู่กับตัวเอง ต้องควบคุม ต้องบังคับ ต้องให้มันนิ่งอยู่ตลอดหรืออยู่กับ กรรมฐานบทนั้นอยู่ตลอด มันไม่ใช่ นี่เป็นธรรมชาติโดยปกติอยู่ที่แล้ว ที่จะต้องมีเจตนา แล้วเจตนานั้นไม่สามารถเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยกำลังของเจตนานั้นอ่อนลง มันอ่อนลงได้เพราะมันยังไม่เพียงพอต่อการที่จะตั้งมั่น อันเหนือเจตนาก็เลยแทรกเข้ามา ก็ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหาอะไร ———- พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น)ส่วนหนึ่งของการสนทนาธรรม liveณ พุทธอุทยานดอยเวียงเกี๋ยงวนาวันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๕
#วิธีการสร้างปัญญา
การสร้างปัญญาในทางธรรมทำได้ ๒ วิธี๑. ฝึกคิดให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ)๒. หมั่นฟัง (อ่าน) เรื่องของผู้มีปัญญาให้มาก ๆ (ปรโตโฆสะ) จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon‘
#ฆราวาสจะมีส่วนต่ออายุพระศาสนาได้อย่างไร
#ฆราวาส มีบทบาทที่สำคัญมากในการต่ออายุพระศาสนา ด้วยการ #ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพราะถ้าไม่ปฏิบัติ ลำพังเพียงพระภิกษุปฏิบัติก็ยังไม่ได้เพียงพอ ในการที่จะต่ออายุพระศาสนาเลย ทุกส่วนมีการเชื่อมโยงในโครงสร้างพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย #ภิกษุบริษัท#ภิกษุณีบริษัท #อุบาสกบริษัท และ #อุบาสิกาบริษัท ทั้งหลายมีความเชื่อมโยงต่อกันและกัน หมายถึงว่า ภิกษุปฏิบัติก็เพื่อที่จะนำ ให้ฆราวาสรับรู้รับทราบ(แนว)ทางการปฏิบัติ แล้วปฏิบัติให้เข้าถึงผล พระภิกษุรู้ธรรมเหล่าใด พึงบอกธรรมเหล่านั้นแก่ฆราวาสที่มุ่งบุญกุศล มุ่งประพฤติธรรมขัดเกลากิเลส เมื่อภิกษุบอกธรรมที่ตนเองได้รู้แล้วแก่ฆราวาส ฆราวาสเหล่านั้นย่อมมีสติปัญญา พากเพียรประพฤติปฏิบัติ เข้าถึงธรรมอันที่ภิกษุล่วงรู้นั้นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ๑.การกระทำความทุกข์ให้หมดสิ้นไป และ ๒.ศาสนาเราก็จะได้รับการสืบต่อ สืบทอด แทบจะทุกด้านเลย ที่ฆราวาสเองมีส่วนในการสืบทอดพระพุทธศาสนา การดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนานี้ ถ้าขาดฆราวาสแล้ว ลำพังพระภิกษุฝ่ายเดียว ไม่สามารถจะนำสืบศาสนาต่อไปได้เลย —————— พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกขุ (พระอาจารย์ต้น) ส่วนหนึ่งของการสนทนาธรรม live ณ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันอาทิตย์ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ ติดตามชมคลิปการสนทนาธรรมของหัวข้อนี้ได้ใน comment (๑.๕๗…
#ขันธ์๕กับแก้ว
พระอาจารย์ได้อุปมาอุปไมยเกี่ยวกับตัวเรากับ #ขันธ์๕ขันธ์ ๕ คือ ตัวร่างกายนี้ เปรียบประดุจดั่ง #แก้วเราคือผู้มายึดถือครอบครองเอาเรียกว่า เราเป็นเจ้าของขันธ์คือตัว #ร่างกาย กับ #ใจ หรือชีวิตของเราเองเหมือนกับเราเป็นเจ้าของแก้ว.การเป็นเจ้าของไม่ได้หมายถึงว่าแก้วกับเราเป็นอันเดียวกัน คือ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน มันคนละสิ่งมันมีของอันหนึ่ง กับผู้เป็นเจ้าของอันหนึ่ง.ฉะนั้นเมื่อแก้วใบนี้เป็นที่รองรับสิ่งที่จะเอาไปใส่เข้าไปข้างใน เทน้ำร้อนลงไป แก้วนี้ก็ต้องร้อน เทน้ำเย็นลงไป แก้วนี้ก็ต้องเย็น.ชีวิตของเราบางที รับสุขบ้าง รับทุกข์บ้างเราก็ต้องปล่อยให้มันเป็น และ #เรียนรู้มันเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อมัน.#ว่าอะไรควรรู้#อะไรควรละ#อะไรควรทำให้แจ้ง และ #อะไรที่เราควรที่จะเจริญขึ้น.แต่เราจะไม่ไปยึดถืออาการของกายหรือชีวิต หรือขันธ์นี้หรืออะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับแก้วใบนี้มาเป็นสุขเป็นทุกข์ในตัวเรา.เพราะแก้วมันก็รับไปแล้ว รับผลตรงนั้นไปแล้วนอกจากว่าแรงแห่งการ #ยึดติดด้วยอำนาจของ #ตัณหา ที่เราไปยึดว่าแก้วได้รับกระทบกับสิ่งใดเราก็เป็นผู้ไปรับทุกข์พร้อมกับแก้วใบนั้นเพราะเรามีความรู้สึกว่า เรากับแก้วเป็นอันเดียวกัน .นี่คือเราขาด #ปัญญา ในการเรียนรู้จากความเป็นจริงและเราไม่สามารถแยกออกได้ว่า#เรากับแก้วเป็นอันเดียวกันหรือไม่เมื่อเราแยกไม่ออกมันก็เลยหลงอยู่กับกายกับใจของเราเองว่าคือแก้วใบนี้เมื่อเราหลงมากเข้า แม้แก้วใบนี้แตกมันก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของเรา.แม้ร่างกายเรากำลังจะแก่ กำลังจะเจ็บ กำลังจะตายหรือกำลังจะเจอทุกข์อะไรต่าง ๆมันก็ส่งผลต่อผู้ที่เป็นเจ้าของ.ถ้าคิดถึงตัวผู้เป็นเจ้าของจริง ๆ ว่า#ใครเป็นเจ้าของของร่างกายเราตัวร่างกายเราจริง ๆ แล้วมีเจ้าของจริง ๆ อยู่ ๓ เจ้าก็คือ #นายชรา อันที่สองคือ #นายพยาธิอันที่สามคือ #นายมรณะ นี่คือ เจ้าของที่แท้จริง.ตอนนี้เมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้วนายชราก็จะนำไปหาความเจ็บคือ ส่งต่อไปให้นายพยาธิ เข้ามาทำหน้าที่ต่อนายพยาธิก็ส่งต่อไปให้นายมรณะนายมรณะ คือ ความตาย.นั่นหมายถึงว่าเรารอการตายอยู่ในการใช้ชีวิตของมนุษย์นี้เมื่อเราใช้ชีวิตโดยการรอการตายอยู่การหลงยึดถือในสิ่งที่มันแก่ มันเจ็บ มันตายพระองค์จึงสอนให้พุทธสาวกให้เข้าใจว่าเราจะไม่มีทางหลุดพ้นได้เลยถ้าเรายังยึดถือสิ่งที่ #แก่ สิ่งที่ #เจ็บ สิ่งที่ #ตาย ว่าเป็นตนเพราะเราก็จะต้องเกิดมาเพื่อแก่ เพื่อเจ็บ เพื่อตายอีกเกิดใหม่อีก ก็จะเกิดมาเพื่อแก่ เพื่อเจ็บ เพื่อตายอีกแต่เราไม่ได้รู้หรอกว่าเราจะเกิดมาเพื่อแก่ เพื่อเจ็บ เพื่อตาย.เราใช้ชีวิตโดยการมั่นหมายในชีวิตว่าเป็นเราเป็นตัวตนของเราเราจะใช้ร่างกายชีวิตนี้ให้เป็นไปตามที่เราต้องการตราบที่อำนาจของ #ตัณหาที่คอยสั่งการและบอกใจเราอยู่ให้เราทำตามสิ่งนั้นสิ่งนี้ ตอบสนองตามใจอยากซึ่งมันจะไม่มีทางหมดสิ้นไปได้กับความต้องการของ #ตัณหา ที่มันจะเกิดขึ้นเพราะใจของมนุษย์ไม่เคยอิ่ม.อย่าว่าแต่ใจเลยแม้แต่อายตนะเองทาง #ตา#หู#จมูก#ลิ้น#กาย#ใจพระองค์ก็เคยตรัสบอกว่า ตาไม่เคยอิ่มรูป มันอยากจะดูอยู่อย่างนั้นมันจะเห็นอยู่นั่นหนะ หูก็ไม่เคยอิ่มเสียง มันก็อยากจะฟังเสียงไปเรื่อย จมูกก็ไม่เคยอิ่มกลิ่น ลิ้นไม่เคยอิ่มรส กายไม่เคยอิ่มต่อการสัมผัส ใจก็ไม่เคยอิ่มกับอารมณ์มันจะกินอารมณ์กันอยู่อย่างนี้ จิตกับอารมณ์.ฉะนั้น เราอยู่กับสิ่งที่มันจะต้องมีตัณหาคอยผลักดันอยู่ตลอดตามความอยากตามความต้องการในชีวิตของพวกเรามันคือความเป็นจริงแล้วในความเป็นอยู่ที่มันมีทั้งตัณหา ทั้งความทุกข์เรามาเป็นเจ้าของร่างกายโดยการหลงยึดถือสิ่งที่เป็นของโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองนี้ สามารถเป็นอิสระจากตัวเองเป็นอิสระจากแก้วใบนี้ก็ได้แม้ว่ามันแตกไปแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆที่เราจะต้องไปทุกข์ ไปอะไรกับมัน.นี่คือความไม่เข้าใจของเราเราเลยไม่เป็นอิสระจากเรื่องราวอารมณ์ทั้งหลายที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่อะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อกายกับใจทั้งชีวิตเราหรือความรู้สึกอะไรบางอย่างเราก็จะคว้ายึดจับมาเป็นปัญหาได้หมดทุกเรื่องทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็คือการที่เราไม่ได้แยกออกมาให้ได้เห็นความเป็นจริง ระหว่างเรากับสิ่งที่เป็นเจ้าของ…
#โยมปุจฉาพระอาจารย์พนมพรวิสัชนา
โยม : กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ … การที่เรามองทุกคนว่า ต่างคนต่างไม่มีตัวตน สิ่งนี้จะช่วยให้ดับกิเลส ไม่รัก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงได้ และต้องใช้จิตที่นิ่งในการน้อมดึงเข้ามาในใจโดยตลอดใช่ไหมคะ พระอาจารย์พนมพร : เจริญพร การที่บุคคลจะเห็นว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี่แหละ คือ สิ่งที่เราจะต้องสร้างขึ้นมา ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง คือปัญญา (ความรอบรู้ในกองสังขาร) อันแทงตลอดอริยสัจ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) … แน่นอน เมื่อแทงตลอดอริยสัจ ย่อมไม่โลภใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค … ย่อมไม่มีโกรธใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค … ย่อมไม่หลงใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ……
#ข้อแนะนำต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
เมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป เราควรระลึกถึงคุณค่าของบุคคลที่จากไปมากกว่าการที่จะเศร้าโศกเสียใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น … คุณค่าของบุคคลคนนั้นที่เราเกี่ยวโยงผูกพันด้วย แม้เขาจะจากไปแล้ว แต่ความทรงจำในเรื่องราวของเขายังอยู่ในใจของเรา ความทรงจำอันเป็นคุณค่านี้เอง ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขายังอยู่ จากไปเพียงร่างกายเท่านั้น เราต้องยอมรับเรื่องการสูญเสียว่า มันคือความจริงที่เกิดขึ้น แต่การตระหนักรู้ถึงคุณค่าของผู้ที่จากไปในความดี ในสิ่งที่เราเคยเกี่ยวข้อง ในความสัมพันธ์ ในคุณประโยชน์ที่ได้กระทำต่อกันมา ระลึกถึงและตระหนักถึงคุณค่าให้มากกว่าการเศร้าโศกจากการสูญเสีย เราจะรับรู้ได้ว่า เราไม่ได้เสียใครไป โดยผู้ที่จากไปก็ยังเกี่ยวโยงกับเราอยู่ดังเดิม …. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon‘
#ธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยง#
ธรรมชาติเหล่าใดที่ไม่เที่ยง ธรรมชาติเหล่านั้นก็ย่อมไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น ไม่มีใครเปลี่ยนธรรมชาติที่ไม่เที่ยงให้เป็นของที่เที่ยงได้ ธรรมชาตินั้นจึงเป็นสัจจะในตัวของธรรมชาติเอง. ด้วยความที่ธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงได้แสดงความไม่เที่ยงผ่านกายสังขารและจิตสังขารอยู่ทุกขณะ ความสำคัญมั่นหมายในการยึดกายสังขารและจิตสังขารว่าเป็นตน ทำให้ธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงเบียดเบียนบีบคั้นผู้ยึดนั้นอยู่. เมื่อผู้ยึดถูกธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงเบียดเบียนบีบคั้นอยู่เรื่อยๆ ความทุกข์จึงเกิดขึ้น เมื่อผู้ยึดมีความทุกข์ ก็ไม่อยากให้ตนเองมีความทุกข์ จึงสร้างตัณหาขึ้นมาผลักไสความทุกข์ออกจากตน ตัณหาจึงครอบงำผู้ยึดนั้นไว้ในวงจรแห่งความทุกข์. มีหนทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้พ้นออกจากวงจรแห่งความทุกข์ได้ คือการวางกายสังขารและจิตสังขารไว้ตามธรรมชาติแห่งความเปลี่ยนแปลงของเขา อย่าสำคัญมั่นหมายในกายสังขารและจิตสังขารว่าเป็นตน แม้กายสังขารและจิตสังขารจะประสบกับความทุกข์ยากลำบากเพียงใดก็ตาม นั่นก็เป็นเพียงธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงที่แสดงตัวออกมาตามธรรมดาเท่านั้น. อวิชชา กิเลส อนุสัย สังโยชน์ กรรม และวิบาก จะส่งผลให้กายสังขารและจิตสังขารเป็นไปอย่างไรก็ตาม ก็เป็นเรื่องของความไม่เที่ยงที่ปรากฏตามเหตุปัจจัยของชีวิต อย่าตื่นกลัวกับเรื่องเหล่านี้ เพราะมันเป็นเรื่องของสังขารที่มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว. ความไม่สำคัญมั่นหมายในกายสังขารและจิตสังขารจะก่อให้เกิดปัญญาเข้าไปรับรู้ความไม่เที่ยงนั้น เมื่อความไม่เที่ยงถูกรับรู้อยู่ จึงไม่มีผู้หลงผิดเข้าไปยึดในสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น ตัวตนที่จะเข้าไปรับผลแห่งความไม่เที่ยงในกายสังขารและจิตสังขารก็ไม่มี มีแต่ความไม่เที่ยงเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ ผู้กำหนดรู้ความไม่เที่ยงอยู่เสมอ ย่อมเห็นแจ้งในกายสังขารและจิตสังขารตามความเป็นจริง ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมสลัดออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้. จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)#AjahnTon‘
ย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ เราทำได้ ✌️
แอด-มินท์คิดว่าเคล็ดลับของการปฏิบัติธรรมเพื่อรู้ธรรมมันก็มีอยู่แค่นี้ คือ ทำย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ เพราะจะให้ทำอะไรมากไปกว่านี้มันก็ไม่มีอะไรให้ทำนอกจาก การทำย้ำ ๆ ซ้ำ ๆได้แก่ ฟังย้ำ ๆ ซ้ำ ๆอ่านย้ำ ๆ ซ้ำ ๆท่องย้ำ ๆ ซ้ำ ๆคิดพิจารณาย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ กับเรื่องเดิมๆ ซ้ำ ๆ ย้ำ ๆคือ ธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 และทุกครั้งที่มีความลังเลสงสัยว่าเราจะทำได้มั้ยแอด-มินท์ก็จะคิดเสมอว่าเราทำได้แน่ 💪เพราะการทำย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ นี้เป็นสิ่งที่เราทำมาตั้งแต่เกิด เรา… อาบน้ำย้ำ ๆ ซ้ำ ๆแปรงฟันย้ำ ๆ ซ้ำ ๆกินข้าว ย้ำ ๆ ซ้ำ ๆนอนย้ำ ๆ ซ้ำ…