เฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๖๗ รายงานโดย : ทีมงานประชาสัมพันธ์
Category: News
คติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัท น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก 1,250 รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน 3 หลังสมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสรู้และประกาศพระศาสนาแล้ว 9 เดือน เมื่อพิจารณาจากประวัติการณ์แห่งวันจาตุรงคสันนิบาต ย่อมเห็นประจักษ์ว่า พระภิกษุผู้มาประชุมกันเป็นมหาสังฆสันนิบาตนั้น ต่างพรั่งพร้อมกันมา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ด้วยอานุภาพแห่ง “คารวธรรม” พุทธบริษัททั้งหลายผู้เป็นอนุชน จึงพึงเทิดทูนจริยาของพระอรหันต์ทั้งนั้น ขึ้นเป็นแบบอย่างทางประพฤติแห่งตน ๆ โดยสำนึกว่า ถึงแม้พระสาวกทุกรูป ได้บรรลุถึงคุณธรรมสูงสุด ดับกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิงแล้ว แต่ก็ยังคงเคารพนอบน้อมอย่างยิ่งต่อพระบรมศาสดา และพระธรรม เพราะฉะนั้น พุทธบริษัทผู้มุ่งหมายความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม จึงจำเป็นต้องมี “นิวาตธรรม” คือความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นพื้นอุปนิสัย ขอจงระลึกไว้ว่า คุณธรรมแห่งพระอรหันต์นั้น สูงส่งเหนือกว่าอิสริยยศทั้งปวงในโลก หากแต่พระอรหันต์กลับปราศจากความอวดดื้อถือดี ปราศจากความเนรคุณลบหลู่ดูหมิ่น เพราะทุกรูปต่างมีความคารวะนอบน้อมอย่างมั่นคง ต่อพระรัตนตรัย ต่อการศึกษา ต่อความไม่ประมาท และต่อการปฏิสันถาร ดังนี้ บรรดาผู้ยังมีธุลีในดวงตา มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองครอบงำใจอยู่ จึงพึงเพียรหมั่นเพิ่มพูนคารวธรรม ให้งอกงามขึ้นในตนอยู่เสมอ…
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา: วันแห่งการย้ำเตือน “การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์” วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย โอวาทปาติโมกข์ เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของพระพุทธศาสนา เป็นหลักการสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ เน้นย้ำถึง ๓ หลักการสำคัญ ดังนี้ ๑. การทำความดี ๒. การละเว้นความชั่ว ๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันมาฆบูชา เป็นโอกาสดีที่เราจะได้หวนกลับมาทบทวนตนเอง ย้ำเตือนให้เราประพฤติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า มาพร้อมใจกันน้อมนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไปประยุกต์ใช้ในชีวิต เพื่อความสุขสงบของตนเองและสังคม
วันพ่อแห่งชาติ
#การทักอารมณ์
ให้ทำความเข้าใจดังนี้ว่า การทักอารมณ์นั้น เราไม่ได้ทักเพื่ออยากให้อารมณ์ดับไป แต่ทักเพื่อให้มีสติรับรู้อารมณ์ที่เกิดกับจิตในแต่ละครั้ง หากเราทักอารมณ์เพื่ออยากให้อารมณ์ดับ จะกลายเป็นสมุทัยใหม่ทันที จึงทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ฉะนั้นให้สร้างความเข้าใจในการทักอารมณ์ไว้เสมอว่า เราไม่ได้ทักอารมณ์เพื่อให้อารมณ์ดับ แต่เราทักอารมณ์เพื่อรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง อารมณ์จะถูกควบคุมไว้ด้วยความรู้เอง จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
#ทำบุญถวายพระด้วยเงินสดบาปไหม?
ค่านิยมของไทยเราในเรื่องการทำบุญ มันมาถึงขั้นที่ยอมรับในความผิดอันส่วนเป็น “บาป” ว่าเป็นความถูกต้องจนยากที่จะแก้ไข คนโดยส่วนมากจึงถูกอิทธิพลเหล่านี้ครอบงำ จนกลายเป็นจารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ต้องทำแบบนี้ร่วมกัน ใครทำแตกต่างจากนี้ถือว่าผิดจากสิ่งที่ยึดถือกัน แต่อย่างนี้มันถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก !!! พระพุทธองค์ไม่ได้ห้ามพระภิกษุ ไม่ให้ใช้สอยปัจจัย 4 อันเกิดจากทรัพย์ “แต่ห้ามพระภิกษุรับเงินหรือทรัพย์นั้นโดยตรง” ด้วยตัวของพระภิกษุ หรือเก็บไว้จำเพาะภิกษุโดยตรง ไม่ได้ อันนี้เป็นโทษหรือเป็นความผิดโดยตรง ซึ่งพระภิกษุเองก็ต้องรู้พระวินัยในข้อนี้ดี ประเด็นก็คือว่า เมื่อถูกบังคับให้ทำ เราทำเกิดบาปไหม ??? อันนี้ “เกิดบาปแน่นอน” ในส่วนของบาป ในส่วนของความผิดของพระ สมมุติว่าพระมีความผิดในข้อนี้ 100 “เราจะได้เศษหนึ่งส่วนสี่” ของความผิดของพระนั้น ทีนี้ถ้าพ่อแม่บังคับ ??? การบังคับนั้น ตามหลักพระวินัยเนี่ย ถ้าเราไม่เต็มใจ ถูกบังคับด้วยการกระทำของผู้เป็นมารดาบิดา “โทษจะตกกับมารดาบิดา ทั้งหมด” ไม่ตกกับตัวเรา คือ เราไม่ได้ไปเป็นผู้มีโทษ ทีนี้การที่จะแก้ไขความเชื่อกับค่านิยมแบบนี้ มันต้องอาศัยการช่วยกัน ให้สร้างค่านิยมใหม่ สร้างความเข้าใจใหม่ สร้างหลักการที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น เช่น [ การจัดงานศพแล้วไม่ถวายเงินได้ไหม ]…
วันออกพรรษา 2566
วันออกพรรษา ๒๕๖๖ ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ สิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์รวม ๓ เดือน กิจกรรมวันออกพรรษาแบ่งออกเป็นฝั่งภิกษุสงฆ์และฆราวาส ทั้งการตักบาตรเทโว เทศน์มหาชาติ และไหลเรือไฟ ถือเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ประวัติวันออกพรรษา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ประวัติวันออกพรรษาในอดีต คือเหตุการณ์ในพุทธประวัติมีเรื่องเล่าว่าพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผู้เคยมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ถึงเมืองสังกัสสะ ชาวบ้านต่างร่วมใจกันเดินทางไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า เป็นที่มาของการตักบาตรเทโวโรหณะ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาท เรียกว่า “ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์” ความสำคัญวันออกพรรษา วันสำคัญของชาวพุทธ ความสำคัญของวันออกพรรษาเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนเตรียมอาหารเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์หลังวันออกพรรษา ๑ วัน ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ และพระภิกษุสงฆ์จัดพิธีกรรม “มหาปวารณา” ให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากพบเห็นข้อบกพร่องระหว่างจำพรรษาอยู่ด้วยกัน รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยระหว่างพระภิกษุสงฆ์ พระผู้ใหญ่กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้น้อยก็ชี้แนะพระผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่าได้ เพื่อจะได้ระมัดระวัง ไม่ประมาท ให้อยู่ในกรอบของพระวินัย
#อย่าคล้อยตามอารมณ์
สภาวะอารมณ์ไม่เป็นไปตามบังคับบัญชาของผู้ใด แต่เป็นไปตามเรื่องราวของอารมณ์เอง ผู้ที่ทำตามอารมณ์ ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง เพราะการทำตามอารมณ์เป็นการขาดสติยับยั้งนั่นเอง ลักษณะทำร้ายตัวเองดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเอามีดมากรีดเนื้อตัวเอง การทำตามอารมณ์ครั้งหนึ่ง ก็เหมือนกับเอามีดมากรีดตัวเองหนึ่งครั้ง นั่นแหละคือความทุกข์ พระพุทธองค์จึงทรงบอกว่า อย่าคล้อยตามอารมณ์ การที่จะไม่คล้อยตามอารมณ์ได้ จะต้องเกิดจากการฝึก การฝึกจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon ที่มา : https://www.facebook.com/369179893454876/posts/1740677399638445/?mibextid=cr9u03
#วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ที่ดีที่สุด
ปุจฉา : คุณแม่ป่วยติดเตียง ตอนที่ยังสบายดีไม่ชอบฟังธรรม ไม่ชอบเข้าวัด แต่ท่านมีจิตใจอ่อนโยน ชอบทำทาน ชอบช่วยเหลือคน โยมใช้วิธีเอาของที่จะตักบาตรให้คุณแม่จบที่ศีรษะ ท่านก็ทำตาม เห็นท่านทำปากขมุบขมิบ โยมควรพูดอะไรให้ท่านระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระรัตนตรัยให้อยู่ในจิตท่านดีคะ กราบขอคำแนะนำค่ะ พระอาจารย์พนมพร : ควรบอกพระรัตนตรัยให้ท่าน จะเป็นการดีที่สุด ส่วนเรื่องของการทำทานก็ให้ทำตามปกติ อย่างน้อย ๆ จะทำให้ท่านมีใจยินดีในทานที่ท่านได้ทำ พร้อมทั้งบอกพระรัตนตรัยไปด้วย โดยบอกว่าวันนี้เราจะทำทาน แม่พึงทำจิตให้ยินดีเหมือนตัวแม่เองได้ให้ทาน เพื่อที่จะให้ท่านแสดงความยินดีหรืออนุโมทนาในทานที่ได้ทำ ให้ท่านระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์บ่อย ๆ หากท่านสามารถฟังธรรมได้ ควรให้ท่านฟังธรรม ฟังในสิ่งที่เป็นสัจจะ อย่าให้ท่านฟังอะไรที่เรื่อยเปื่อย หรือฟังในสิ่งที่ไร้สาระเกินไป ควรฟังในสิ่งที่เรียกว่าสัจจะ คือ ความจริงอันเป็นความจริง ฟังในสิ่งที่ประเทืองปัญญาของท่าน ฟังคุณของพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ทรงมีคุณอย่างไร ฟังว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงออกมามีอะไรบ้าง ฟังว่า บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามพระองค์เป็นบุคคลเช่นไร นี่คือฟังสิ่งที่เป็นสัจจะ ทำให้ใจของท่านมีใจดีขึ้นมาให้ได้ ทำให้ท่านเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้ได้ จะเป็นการดี นี่จะเป็นการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ได้อย่างหมดจด ต่อให้เราเลี้ยงดูท่านตลอดชาตินี้ โดยให้ท่านอยู่บนบ่าซ้ายบ่าขวา เหมือนตอนนี้ที่ท่านติดเตียงอยู่นี้ ต่อให้เราดูแล…
#พหุการสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้[อาจารย์] เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล[ศิษย์]ผู้อาศัย ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย อีกประการหนึ่ง บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย อีกประการหนึ่ง บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลายบุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ จะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลนี้หามิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่าบุคคลนี้ทำการตอบแทน คือ ด้วยการกราบไหว้ การ ลุกรับ การประนมมือไหว้ สามีจิกรรมการให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แก่ บุคคล ๓ จำพวกนี้มิใช่ง่ายแล ฯ…