“เฉลิมชนมพรรษา” “ไทยทั่วหล้าน้อมสดุดี“ “พระเกียรติก้องแห่งภูมี“ “ทรงเปรมปรีดิ์พระเกษมสำราญฯ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า กลุ่มธรรมนาวา Dhammanava
Category: News
วันอาสาฬหบูชา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมเจริญอริยมรรค “สัมมาทิฏฐิ” ระลึกถึงพระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ยึดถือ อันเป็นทางเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้โดยชอบ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ ผ่านแอปพลิเคชัน “สมาธิเสบียงบุญ”www.royaloffice.th/2024/05/29/สมาธิเสบียงบุญ_03-06-2567/
พระพุทธเจ้าพิเศษกว่ามนุษย์อย่างไร
“วันวิสาขบูชา” ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกี่ยวเนื่องกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งคำว่า บูชา ที่มีมาในหลักคำสอน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของที่ควรค่า แก่การบูชา เช่นเครื่องสักการะ ดอกไม้ เป็นต้น ๒. ปฏิบัติบูชา คือการเจริญอริยมรรคดังนี้ – เดินระลึกถึงพระรัตนตรัยอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง – นั่งสมาธิ – อ่านบทธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ๓. จัดการบรรยายธรรมเกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน หรือฟังธรรมะที่ตนสนใจ ๔. บริจาคทานเพื่อละความตระหนี่ ตามความเหมาะสมแก่ฐานะแห่งตน ๕. ประกาศรัตนปริตร ………. จารุวณฺโณ ภิกขุณ (พระอาจารย์ต้น)
หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ English version
“คุย..คุ้ยธรรม”..กับพระคณาจารย์
พระอาจารย์จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น), พระอาจารย์พนมพร คุณวโรและพระอาจารย์มหาชนก ชวนปญฺโญ ดำเนินรายการโดย พระอาจารย์มหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม (ดร.)
“๗๒ พรรษา ธรรมราชา มหาวชิราลงกรณ”
รายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “๗๒ พรรษา ธรรมราชา มหาวชิราลงกรณ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ ตอนที่ ๔www.royaloffice.th/2024/05/03/สารคดี-ธรรมราชา-ep4/
“อารมณ์โกรธเมื่อถูกจับลงขันธ์๕”
ขั้นตอนที่ 1 ปูพื้นฐานจิต…
..ระลึกถึงพระรัตนตรัยให้ถึงพร้อม ..ด้วยนอบน้อมโน้มใจใฝ่ศึกษา ..พุทโธ เม นาโถ ในวิญญา ..พระพุทธที่พึ่งพาสุดหัวใจ ..ธัมโม เม นาโถ ตั้งจิตม้น ..มีพระธรรมเป็นที่พึ่งอันผ่องใส ..สังโฆ เม นาโถ ทราบทรวงใน ..สงฆ์เหล่าใดสี่บุรุษที่พึ่งพา ..หมั่นระลึกให้ขี้นใจจนคล่องจิต ..เชื่อมต่อติดเป็นอันหนึ่งพึงรักษา ..เป็นพลังเสริมส่งสติปัญญา ..จะนำพาจิตตื่นรู้อยู่ปัจจุบันฯ… วชิรญาโณ ๒๘ มิ.ย.๖๖
เชิญชวนชาวไทย
เฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๖๗ รายงานโดย : ทีมงานประชาสัมพันธ์
คติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัท น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก 1,250 รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน 3 หลังสมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสรู้และประกาศพระศาสนาแล้ว 9 เดือน เมื่อพิจารณาจากประวัติการณ์แห่งวันจาตุรงคสันนิบาต ย่อมเห็นประจักษ์ว่า พระภิกษุผู้มาประชุมกันเป็นมหาสังฆสันนิบาตนั้น ต่างพรั่งพร้อมกันมา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ด้วยอานุภาพแห่ง “คารวธรรม” พุทธบริษัททั้งหลายผู้เป็นอนุชน จึงพึงเทิดทูนจริยาของพระอรหันต์ทั้งนั้น ขึ้นเป็นแบบอย่างทางประพฤติแห่งตน ๆ โดยสำนึกว่า ถึงแม้พระสาวกทุกรูป ได้บรรลุถึงคุณธรรมสูงสุด ดับกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิงแล้ว แต่ก็ยังคงเคารพนอบน้อมอย่างยิ่งต่อพระบรมศาสดา และพระธรรม เพราะฉะนั้น พุทธบริษัทผู้มุ่งหมายความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม จึงจำเป็นต้องมี “นิวาตธรรม” คือความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นพื้นอุปนิสัย ขอจงระลึกไว้ว่า คุณธรรมแห่งพระอรหันต์นั้น สูงส่งเหนือกว่าอิสริยยศทั้งปวงในโลก หากแต่พระอรหันต์กลับปราศจากความอวดดื้อถือดี ปราศจากความเนรคุณลบหลู่ดูหมิ่น เพราะทุกรูปต่างมีความคารวะนอบน้อมอย่างมั่นคง ต่อพระรัตนตรัย ต่อการศึกษา ต่อความไม่ประมาท และต่อการปฏิสันถาร ดังนี้ บรรดาผู้ยังมีธุลีในดวงตา มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองครอบงำใจอยู่ จึงพึงเพียรหมั่นเพิ่มพูนคารวธรรม ให้งอกงามขึ้นในตนอยู่เสมอ…
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา: วันแห่งการย้ำเตือน “การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์” วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย โอวาทปาติโมกข์ เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของพระพุทธศาสนา เป็นหลักการสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ เน้นย้ำถึง ๓ หลักการสำคัญ ดังนี้ ๑. การทำความดี ๒. การละเว้นความชั่ว ๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันมาฆบูชา เป็นโอกาสดีที่เราจะได้หวนกลับมาทบทวนตนเอง ย้ำเตือนให้เราประพฤติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า มาพร้อมใจกันน้อมนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไปประยุกต์ใช้ในชีวิต เพื่อความสุขสงบของตนเองและสังคม