การภาวนาหาใช่การอ้อนวอนพร่ำบ่นเพื่อให้สำเร็จสมประสงค์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การคาดหวังถึงความสำเร็จ แล้วมุ่งกระทำการภาวนาเพื่อให้ได้รับผลตามความต้องการ นั่นหมายถึงว่า เราได้สูญเสียอิสรภาพไปเสียแล้ว การขาดอิสรภาพ จะทำให้เราเกิดความดิ้นรน และทุกครั้งที่ดิ้นรน ย่อมทำให้เรากักขังตนเองไว้กับความทะเยอทะยาน อำนาจ ยศศักดิ์ และทรัพย์สิน จะเป็นที่คุมขังเรา เพราะเข้าใจว่า เมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะมีอิสรภาพ หลากหลายผู้คนจึงภาวนาขอให้ตนเองเป็นเช่นนั้น แท้ที่จริงแล้ว ภาวนาหาเป็นเช่นนั้นไม่ ภาวนา คือ การประจักษ์แจ้งต่อความจริงด้วยปัญญา ไม่มีคำว่าสำเร็จหรือล้มเหลว การเผชิญกับความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันด้วยจิตที่เป็นอิสระ ไม่ปฏิเสธสิ่งที่เป็นความขัดแย้ง ไม่เพลิดเพลินในสิ่งที่น่ายินดี ปราศจากความกังวลในทั้งสองสิ่ง ทำได้เช่นนี้จึงชื่อว่าเป็นการ “ภาวนา” ผู้ภาวนาย่อมกล้าที่จะประสบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือร้าย จะเจ็บปวดหรือสุขสม ล้มเหลวหรือสำเร็จ จะทุกข์หรือสุข จิตจะไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งความหดหู่ ท้อแท้ หรืออิ่มเอมเปรมปรีด์ใด ๆ การภาวนาจึงเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้จิตเข้าถึงอิสรภาพแห่งชีวิตโดยแท้ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon ที่มา : https://www.facebook.com/124704516447601/posts/185014470416605/
Category: News
#Time
เวลาไม่ได้อยู่ที่การหมุนของเข็มนาฬิกา และไม่ได้อยู่ที่การโคจรของดาวโลก แต่เวลาอยู่ที่จิตของเราเอง หากเราพิจารณาเห็นความเกิด-ดับในปัจจุบัน เวลาในจิตก็จะหายไป เวลาจึงไม่มีอยู่จริง ที่มีอยู่จริงคือความเกิดความดับ หากเราไม่เห็นความเกิด-ดับ จิตก็จะไปเกาะอยู่กับเวลา คำว่า เวลา ทางภาษาบาลีมีความหมายว่า สิ่งบอกกาล เวลาในจิตแบ่งเป็นสามคือ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ถ้าเราไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน จิตจะตกไปอยู่ในข้างของอดีตและอนาคต เวลาจะช้าลง หากเราอยู่กับปัจจุบัน เวลาจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่หากเราเห็นปัจจุบันเกิด-ดับ เวลาจะหยุดนิ่ง จิตจะอยู่เหนือกาลเวลา หากจะนับเวลาในโลก(เวลาในทางสมมติ) ก็จะแบ่งเป็นสามกาล คือ อรุณ-เช้า ทิวา-กลางวัน ราตรี-กลางคืน สิ่งบอก ‘กาล’ ไม่ใช่ ‘เวลา’ ของโลก แต่เป็นสภาพของเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน จารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น) #AjahnTon
#โอวาทธรรมเนื่องในวัน กตเวทิตคุณูปมาจารย์ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖
โอวาทธรรมที่พระอาจารย์ต้นมอบให้แก่ลูกศิษย์ทุกรูป/ทุกคน เนื่องในวัน กตเวทิตคุณูปมาจารย์ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ********************** ในโอกาสนี้ ขออนุโมทนากับหมู่พระภิกษุสงฆ์ทุกท่าน และญาติโยมทั้งหลายที่ได้ร่วมกันกล่าวคำถวายสักการะครูอาจารย์ พร้อมทั้งอ่านบทรัตนปริตรเพื่อหนุนธาตุขันธ์ครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ได้กระทำอุปการะอันมากแก่อีกบุคคลหนึ่ง ย่อมเกิดองค์คุณต่อกันและกันขึ้น พระพุทธองค์ยกบุคคลผู้เป็นอาจารย์เป็นที่ตั้งแห่งการว่ากล่าวโอวาทสั่งสอน โดยพระองค์ได้กล่าวถึงคุณค่าของผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ไว้ ๓ ประการดังนี้ ๑. อาจารย์ใดแนะนำให้ศิษย์ตั้งอยู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศิษย์ใดได้รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จากอาจารย์ใด อาจารย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้มีพหุปการะ หรือการกระทำที่เป็นอุปการะอันมากแก่ศิษย์นั้น ๒. อาจารย์ใดเป็นผู้บอกศิษย์ว่า สิ่งนี้คือทุกข์ สิ่งนี้คือเหตุของทุกข์ สิ่งนี้คือความดับทุกข์ สิ่งนี้คือข้อปฏิบัติเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ศิษย์ใดที่ได้รับโอวาทคำกล่าวสอนว่า สิ่งนี้คือทุกข์ สิ่งนี้คือเหตุแห่งทุกข์ สิ่งนี้คือความดับทุกข์ สิ่งนี้คือข้อปฏิบัติเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ศิษย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้มีองค์คุณ มีคุณต่อครูอาจารย์ ครูอาจารย์ก็มีคุณต่อศิษย์นั้น อาจารย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้กระทำพหุปการะ คือ การกระทำที่มีอุปการะมาก ๓. อาจารย์ใดได้กล่าวสอนโอวาท ๑๐ เพื่อให้เกิดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ ศิษย์ใดที่ได้รู้แจ้งถึงเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ ศิษย์นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้กระทำคุณ ผู้รู้คุณต่อครูบาอาจารย์…
13 ตุลาคม 2566 “วันนวมินทรมหาราช”
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 ครบรอบ 7 ปีวันคล้ายวันสวรรคตในหลวง รัชกาลที่ 9 หรือเรียกวันนี้ว่า “วันนวมินทรมหาราช”เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของประชาชน เวียนมาถึงอีกปี 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวง รัชกาลที่9 ในวาระครบรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปีนี้วันที่ 13 ตุลาคม จะใช้ชื่อว่า วันนวมินทรมหาราช จึงได้รวบรวมเรื่องราวการเป็นกษัตริย์ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเอกราช พระชนมายุ18 ปี เป็นพระมหากษัตริย์ ช่วงพระชนมายุ 18 ปี ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เนื่องจากตอนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน แต่ตอนนั้นยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง และกลับมาเมืองไทยจัดพิธีราชาภิเษกวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 รวมๆ แล้วครองราชย์รวม 70 ปี 126…
#สวดมนต์เพื่อ
การสวดมนต์เป็นเครื่องบ่งบอก ให้ทราบว่าสติปัญญาของมนุษย์ได้หยุดพัฒนาลงแล้ว เราจะไม่สามารถพัฒนาสติปัญญาของเราให้เข้าถึง ‘แก่น’ ของพระศาสนาได้เลย หากเรายุติอยู่เพียงแค่การสวดมนต์ เสียงที่เปล่งออกมาจากริมฝีปาก เพื่อสร้างพลังเข้มขลังให้ขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ออกไปจากชีวิต แต่ก็ไม่สามารถขจัดปัดเป่าได้จริง เสียงดังระงมที่มาจากการสวดอ้อนวอนร้องขอ เป็นเสียงสะท้อนแห่งความอยากที่แฝงเร้นอยู่ในความเชื่อ ซึ่งเป็น “ค่านิยม” ที่ปลูกฝังในจิตใจคนให้เชื่ออย่างนั้นมายาวนาน สวดบทนี้จะเป็นเศรษฐี สวดเกินอายุจะมีโชค สวดหนึ่งร้อยแปดจบจะมีชัย สวดข้ามปีจะดีตลอดไป สวด สวด สวด และสวด……… ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อ “ความอยาก” ในใจตนเองเท่านั้น ศาสนาจะกลายเป็นความงมงายทันที หากคนในศาสนามัวแต่เปล่งเสียงพร่ำบ่นถึงการอ้อนวอนร้องขอ หลักคำสอนอันเป็น “สัจธรรม” ที่ว่า “กัมมุนา วัตตตี โลโก ทุกคนเป็นไปตามการกระทำของตน” ก็จะถูกทำลายลงในทันที ผู้คนก็จะยึดถือเอา “การสวด” เป็นประดุจดั่งแก่นสารของศาสนา เมื่อความงมงายได้เข้าครอบงำจิตใจคน ปัญญาของคนก็จะค่อยๆเหือดแห้งไป ผู้คนจะอยู่กันอย่างไร้เหตุผลมากขึ้น จารุวณฺโณ ภิกฺขุ พระอาจารย์ทวีวัฒน์ (พระอาจารย์ต้น) ที่มา: เฟซบุ๊คเพจ: พุทธรัตตัญญูชน #สวดมนต์#สวดมนต์ข้ามปี#ปัญญา#ธรรมะ#ธรรม#ธรรมทาน#ปฏิบัติธรรม#ฟังธรรม#คำสอนธรรมะ#ธรรมะสอนใจ#ธรรมะดีดี#วันพุทธ#พุทธศาสนา#พ้นทุกข์#สติ#ทุกข์#คิดดีทำดี#แบ่งปันธรรมะ#สัจจะธรรมชีวิต#เส้นทางสู่นิพพาน
#ปฏิจจสมุปบาทเป็นเช่นไร
ปฏิจจสมุปบาท มีอยู่ ๒ สาย คือ ๑. สายเกิด คือ สมุทยวาร สายเกิดมีมูลเหตุโดยแท้ คือ อวิชชาเป็นมูลเหตุ อวิชชาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลนำมาซึ่งความทุกข์ คือ การมีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์ในอนาคต และมีทุกข์ในภพต่อๆ ไปอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้ เพราะว่าสมุทยวารบ่งบอกตายตัวแล้วว่านำเกิด จะเป็นอย่างไรก็ตามมันจะนำเกิดด้วยอำนาจของอวิชชาได้ มันก็จะนำเกิดอยู่ตลอดเวลา ๒. สายดับ คือ นิโรธวาร เมื่ออวิชชาดับ กระบวนแห่งการเกิดก็ดับ แต่เป็นการดับด้วยวิราคธรรม คือ อริยมรรค นั่นหมายถึงว่า เราจะเห็นอริยสัจในปฏิจจสมุปบาทตรงที่พระองค์ทรงให้เหตุผลของสมุทัย คือ เห็นตัวทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความไม่ประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนี้เป็นกระบวนการแห่งความทุกข์ทั้งหมด —————————————— อริยสัจ ๔ กับ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ กับปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องเดียวกันแต่ปฏิจจสมุปบาทเป็นด้านที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ๔…
#ข้อแนะนำต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
เมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป เราควรระลึกถึงคุณค่าของบุคคลที่จากไปมากกว่าการที่จะเศร้าโศกเสียใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น … คุณค่าของบุคคลคนนั้นที่เราเกี่ยวโยงผูกพันด้วย แม้เขาจะจากไปแล้ว แต่ความทรงจำในเรื่องราวของเขายังคงอยู่ในใจของเรา ความทรงจำอันเป็นคุณค่านี้เองที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขายังอยู่กับเรา เขาจากไปเพียงร่างกายเท่านั้น เราต้องยอมรับเรื่องการสูญเสียว่า มันคือความจริงที่เกิดขึ้นได้กับทุกผู้คน การตระหนักรู้ถึงคุณความดีที่เกี่ยวข้องกันมา ความสัมพันธ์ที่ดีของผู้ที่จากไป คุณประโยชน์ที่ได้กระทำต่อกันมาตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ การระลึกถึงและตระหนักถึงคุณค่าของเขานี้ เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการเศร้าโศกจากการสูญเสียเขาไป แล้วเราจะรับรู้ได้ว่า เราไม่ได้เสียใครไป โดยผู้ที่จากไปก็ยังเกี่ยวโยงทางด้านจิตใจอยู่กับเราดังเดิม …. ____________ จารุวณฺโณ ภิกฺขุ #พระอาจารย์ต้น #ธรรมรส #พลังธรรม #ปัญญาธรรม #ธรรมสอนใจ
#ผลประจักษ์กับพระรัตนตรัย
น้อมกราบนมัสการพระอาจารย์ต้นด้วยความเคารพอย่างยิ่งเจ้าค่ะ หนูมาขอบคุณพระคุณพระอาจารย์ด้วยความปิติและเลื่อมใสศรัทธาในพระธรรมคำสอน ตามแนวทางที่พระอาจารย์สอนค่ะ เพราะสามารถทำให้ประพฤติปฏิบัติตามใช้ในชีวิตได้จริง เริ่มต้นด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย ตั้งแต่หนูมีที่พึ่งทางจิตใจอย่างแท้จริง คือพระรัตนตรัยแล้ว หนูรู้เลยว่า องค์คุณของพระรัตนตรัยที่พระอาจารย์พยายามเมตตาสอนทุกคนมาโดยตลอดนี้ มันช่างประเสริฐทรงคุณค่าหาประมาณไม่ได้จริงๆค่ะ เพราะหนูได้น้อมนำมาระลึกอยู่ในจิตในใจอยู่เสมอทุกขณะจิตที่จะระลึกได้ ทำให้หนูได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแนบแน่นในจิต มันทำให้รู้เลยว่าจิตที่มีพระรัตนตรัยตอนนี้ กับเมื่อก่อนที่ยังไม่มี ช่างเป็นจิตที่แตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดกับตัวเอง เมื่อก่อนตอนที่จิตไม่มีพระรัตนตรัย เป็นจิตที่หลงไปกับอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเรื่อยเปื่อยจากความจำในอะดีดบ้าง อนาคตบ้างที่ทำให้ตัวเองทุกข์มากและไหลไปได้ทั้งวันโดยไม่รู้ตัวเลย จนทำให้เป็นโรคเครียดไมเกรนที่ต้องกินยาติดต่อเนืองเป็นปีๆและยังส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำจนเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจอีกตามมาเป็นระยะเวลา4-5ปีเลย ที่ยังต้องรักษาใช้ยาเป็นประจำ และในที่สุดเดชะบุญก็ได้มาเจอคำสอนของพระอาจารย์ต้น ครั้งแรกในไฟล์สดของคุณครูเงาะเมื่อปีที่แล้วค่ะ จากการรักชื่นชอบครูเงาะและติดตามอยู่ และได้นำการระลึกถึงพระรัตนตรัยที่พระอาจารย์สอนไปใช้ดูอย่างจริงจัง และในที่สุดก็ได้รับผลคือ อาการไมเกรนหายขาดแบบไม่ต้องกินยาและไม่เกิดอีกเลยเป็นปีๆตั้งแต่ระลึกถึงพระรัตนตรัย และเวลามีอาการเจ็บป่วยอะไรเกิดขึ้น ก็จะไม่ไปเป็นทุกข์ตามอาการเจ็บป่วยนั้น เหมือนแต่ก่อน เพราะตอนนี้จิตมีที่พึ่งคือพระรัตนตรัยแล้ว รับรู้ได้เลยว่า จิตใจมั่นคงกล้าหาญมากขึ้น ไม่กลัวที่จะเจอทุกข์ และความทุกข์ในจิตใจกลับน้อยลงค่ะ พระรัตนตรัยให้สติให้ปัญญาอย่างแท้จริง เป็นเส้นทางที่ให้เรายึดพึ่งได้จริง หนูรู้สึกปิติอย่างยิ่ง ที่ยังพอมีบุญได้พบกับพระรัตนตรัย พบกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่มีเมตตาสูงมาก ที่คอยออกมาไลฟ์ให้ความรู้ ให้สติให้ปัญญาอยู่เสมอ หนูขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ต้นและขอให้ธาตุขันธ์พระอาจารย์แข็งแรงนะคะ และขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ทุกรูปทุกองค์ในเพจธรรมนาวาค่ะ ขอบพระคุณคุณครูเงาะที่ทำให้หนูมีโอกาสได้เจอกับพระอาจารย์ต้นและเพจธรรมนาวาค่ะ ขอยึดพึ่งพระรัตนตรัยหนึ่งเดียวตลอดสิ้นชีวิตและขอให้พระรัตนตรัยเป็นเครื่องนำทางตราบเข้าถึงธรรมอันเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวงคือพระนิพพานค่ะ สาธุ และจะขอประพฤติปฏิบัติขัดเกลาจิตใจตนให้ถึงที่สุดตามกำลังสติปัญญาของหนูที่มี เพื่อประพฤติตามแนวทางที่พระอาจารย์ต้นได้เมตตาสอนไว้ตามขั้นตอนไว้แล้ว ในหนังสือแนวทางชาวพุทธค่ะ ตั้งแต่เด็กจนโตหนูพึ่งได้ยินได้ฟังธรรมมะที่สอนแบบนี้ เป็นครั้งแรกในชีวิตเลย แบบที่พระอาจารย์ต้นสอน ฟังแล้วเข้าใจได้เข้าง่าย…
#หลักการแผ่เมตตาโดยพระอาจารย์ต้น …
การแผ่เมตตา ไม่ได้แผ่เมตตาเพื่อให้ใครหยุดก่อกวนเรา พระพุทธเจ้าทรงบอกให้เราแผ่เมตตาเพื่อสอนให้จิตของเราไม่มีเวรต่อผู้อื่น … ประโยชน์ของการแผ่เมตตา คือ ไม่ให้จิตของเราไปกระทำในสิ่งที่เป็นเวร อันได้แก่ การคิดร้าย การมุ่งร้าย การปรารถนาร้าย เพ่งโทษ คิดไม่ดีต่อคนอื่น ๆ ….. การแผ่เมตตาจึงเป็นการระวังใจของเราไ่ม่ให้ก่อเวร … ส่วนคนอื่นจะก่อเวรต่อเราก็ให้เขาเป็นไป แต่เราจะต้องไม่มีจิตคิดที่จะเป็นเวรกับคนอื่น … ใครจะโกรธเราก็ให้โกรธไป ใครโกรธคนนั้นก็ทุกข์ ความโกรธของเขาเป็นเรื่องของเขา ความโกรธเกิดขึ้นกับเขา ไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา … สำหรับผู้ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวพันกันมาก่อนจากอดีตชาติ เมื่อแผ่เมตตาแล้ว อำนาจแห่งการแผ่เมตตาจะไปสลายสัญญาณความเพ่งโทษ ความไม่พอใจ ความโกรธแค้น ความขุ่นเคืองเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้ความโกรธที่มีให้กันนั้นลดลง หรือยุติไป … แต่หากใครเป็นคู่ก่อเวรกันมาแต่ปางก่อน ซึ่งเรียกว่า “คู่เวร” กัน ต่อให้แผ่เมตตามากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ความโกรธที่มีต่อกันลดลงได้… ต้องเข้าใจว่า “เมตตา” จะปกป้องคุ้มครองเรา แต่หากมีเวรต่อกันมาก่อน เมตตาจะช่วยเพียงบั่นทอนเวรที่มาถึงให้เบาบางลงได้เท่านั้น … ในส่วนของคู่เวรที่มีลักษณะเป็นคู่เวรหนัก ๆ จะให้เวรสิ้นไปด้วยการแผ่เมตตาไม่ได้ เกิดอีกก็ต้องเจอกันอีก เวร…
#จับความโกรธลงขันธ์
…เมื่อความโกรธ ถาโถม จู่โจมจิต ใช้ปัญญา เพ่งพินิจ จับลงขันธ์ โกรธเกิดขึ้น เปรียบดังไฟ บรรลัยกัลป์ จิตแห่งธรรม์ ตั้งกองขันธ์ ใช้ภาวนา …จิตที่เห็น อารมณ์โกรธ กระพือโหม เข้ารันโรม ร้อนรุ่ม ดั่งยักษา พฤติกรรม ก้าวร้าว ทั้งกายา ทั้งดวงตา สีหน้า และท่าทาง …ใช้ปัญญา จับอารมณ์ ในขณะ ที่ผัสสะ ปรุงแต่งต่อ เติมแตกต่าง จิตผู้รู้ เห็นอารมณ์ ไม่เลือนลาง แล้วจับวาง ลงสังขาร ในขันธ์ห้า.. …ใจเต้นสั่น ระรัว มัวหมกมุ่น ใจร้อนรุ่ม กระวนกระวาย ไม่หรรษา แรงบีบเค้น ให้ใจ เกิดเวทนา ใช้ปัญญา พิจพิเคราะห์ ให้เห็นจริง …ทั้งจดจำ นำพา อารมณ์โกรธ ฟ้าพิโรธ โกรธไป ไม่หยุดนิ่ง แม้เหตุการณ์…